January 24, 2017 15:58
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมาก คอสั้น ก็เป็นเหตุทำให้นอนกรนได้ การนอนกรนอาจทำให้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้และทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่จึงทำให้มีอากาาง่วงในตอนกลางวัน ควรไปตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมเช่น ต่อมทอนซิลโต ต่อมอะดีนอยด์โต โดยการฉายภาพเอ็กซ์เรย์ นอนจากนี้จะมีการตรวจที่เรียกว่า sleep test โดยการตรวจวัดอ็อกซิเจนขณะหลับเพื่อดูการหยุดหายใจ ในบางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบเพิ่มแรงดันบวกครอบจมูกระหว่างหลับ (CPAP) หากสาเหตุเกิดจากน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักไปด้วย ปกติแล้วร่างกายคนเราสามารถอ้วนได้ทุกส่วน หรืออ้วนเฉพาะส่วนได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับรูปร่างพื้นฐานและพันธุกรรมว่าไขมันของเราจะกระจายไปตามส่วนใดมากน้อยต่างกัน ดังนั้นเวลาต้องการลดไขมันลดหุ่น เราจึงไม่สามารถลดเฉพาะส่วนได้ค่ะ ต้องลดไปพร้อมๆกันทั้งร่างกาย โดยการออกกำลังแบบคาร์ดิโอเพื่อให้ร่างกายนำไขมันทั่วร่างมาใช้ คาร์ดิโอคือการออกกำลังให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นถึงค่าหนึ่งเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 30 นาทีขึ้นไป นอกจาดนี้ควรออกกำลังเวทเทรนนิ่งร่วมด้วยเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อค่ะ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อเป็นเหมือนการเพิ่มเตาเผาให้ร่างกายทำให้สามารถเผาผลาญดึงพลังงานส่วนเกินมาใช้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆบริเวณก้นและต้นขา ถ้าเล่นเวทเทรนนิ่งบริเวณนี้ได้มากจะทำให้ลดไขมันได้ผลเร็วกว่าออกแบบคาร์ดิโออย่างเดียวค่ะ นอกจากนี้อาหารการกินก็สำคัญ ควรลดแป้งและของหวานของทอด งดเหล้า ชา กาแฟที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมมาก เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการออกกำลังอีกค่ะ เพิ่มอาหารพวกโปรตีน และอาหารที่มีกากใยสูง เพิ่มการกินไขมันไม่อิ่มตัวจำพวกน้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคาโนล่าซึ่งเป็นไขมันดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
การรักษา โรคนอนกรน และ หยุดหายใจขณะหลับ มีทางเลือกอะไรบ้าง
ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรง และอาการแตกต่างกันได้มาก การรักษาในแต่ละราย จึงมีความเหมาะสม ที่แตกต่างไม่เหมือนกัน
1. เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือ ซีแพ็พ (CPAP)
เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง ในการ เปิดขยาย และถ่างทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่ให้ ตีบแคบขณะที่นอนหลับ โดยตัวเครื่องจะ เป่าลมผ่านท่อสายยาง ไปสู่จมูกผู้ป่วย ผ่านจากหน้ากาก
เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละราย จะต้องการแรงดันที่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ใน ห้องปฏิบัติการจะค่อย ๆ ปรับแรงดันที่เหมาะสม จนไม่มี อาการกรน หรือหยุดหายใจ ให้แต่ละคน
ปัจจุบันเครื่องและ หน้ากากนี้มีหลายรูปแบบ และหลายบริษัท เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละราย มีความแตกต่างกัน จึงสามารถลอง เลือกใช้เครื่องหรือหน้ากาก ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
ปัญหาที่อาจพบได้บ่อยขณะที่ใช้เครื่อง มีดังนี้
- คัดจมูก
- ปากแห้ง คอแห้ง
- ลมรั่วจากหน้ากาก
- ลมแรงเกินไป
เป็นต้น เมื่อเริ่มต้นใช้เครื่องหากพบปัญหาเหล่านี้ ผู้ป่วย ไม่ควรละทิ้งเครื่อง ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยแก้ไข เพราะการใส่เครื่องในช่วงแรก อาจยังไม่คุ้นเคย ต้องอาศัยการปรับตัวให้ชินกับเครื่องระยะหนึ่ง แล้วจะรู้สึกดีขึ้น เมื่อ หลับได้ดีขึ้น ไม่มีนอนกรน หรือ หยุดหายใจ แล้ว
การรักษาด้วยเครื่องซีแพ็พ จึงถือเป็นมาตรฐานการรักษาโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เนื่องมีประสิทธิภาพสูงในผู้ป่วยเกือบทุกราย แต่จะเป็นผลสำเร็จในระยะยาวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ป่วย
2. การใส่ฟันยาง หรือ Oral Appliance
ผู้ป่วยบางราย อาจรักษาได้ผลดี ด้วยการใส่ฟันยาง การใส่ฟันยางนี้ ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจ และประดิษฐ์ ฟันยางให้ผู้ป่วยแต่ละคน จะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีระดับโรค เล็กน้อย และ ปานกลาง แต่ผู้ป่วยที่เป็นระดับโรครุนแรง มักไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฟันยางนี้ จะช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น โดยการ ยื่นขากรรไกรล่างและลิ้นมาทางด้านหน้า ปัญหาที่พบได้จากการใส่ฟันยางนี้ เช่น ปวดขากรรไกร การสบฟันเปลี่ยนไป น้ำลายไหลมาก
3. การผ่าตัด เพื่อรักษาโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ได้ผลในบางราย เช่น การผ่าตัด ต่อมทอนซิลและ อะดินอยด์ ในเด็ก จะสามารถช่วยเด็กได้มาก ถือเป็นมาตรฐานการรักษาในเด็ก
แต่ในผู้ใหญ่ควรพิจารณาเป็นราย ๆไป ที่เหมาะสม
การผ่าตัดมีอะไรบ้าง
3.1 การผ่าตัดจมูก เช่น แก้ไขจมูกคด หรือ จี้ เยื่อบุโพรงจมูกที่บวม จะช่วยลดอาการคัดจมูกหรือ กรนได้บ้าง แต่มักไม่ช่วยทำให้โรคหายได้ จึงมัก เป็นการรักษาเสริมกับการรักษาอื่น
3.2 การผ่าตัดในระดับลิ้นไก่ เพดานอ่อน ( เช่น Uvulopharyngopalatoplasty, UPPP) ได้ผลดี ในครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย จึงควรปรึกษาแพทย์ทาง หู คอ จมูก ก่อนว่า ผู้ป่วยรายนั้นเหมาะสมที่จะได้รับการผ่าตัดหรือไม่ ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดนี้ เช่น พูดไม่ชัด สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น
3.3 การผ่าตัดอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดระดับโคนลิ้น
3.4 การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ซึ่งก็อาจได้ผลดีกว่าการผ่าตัดระดับลิ้นไก่อย่างเดียว แต่ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า โดยมากการผ่าตัดมักจะทำให้เสียงกรนดีขึ้น แต่อาจยังไม่สามารถ รักษาให้การหยุดหายใจขณะหลับหายไปได้หมด จึงควรติดตามอาการ และตรวจการนอนหลับซ้ำในห้องปฏิบัติการ ภายหลังได้รับการผ่าตัดแล้วระยะหนึ่ง
ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อน ถึงข้อดีและข้อเสีย
การรักษาอย่างอื่น ๆ
-นอกจากนี้ ในบางรายที่เป็นมากจนอันตรายถึงชีวิต อาจต้องทำการเจาะคอ บริเวณหลอดลม เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย
- การยิงฝัง พิลลาร์ (Pillar implantation) ที่บริเวณเพดานอ่อน มักไม่ได้ผล ในรายที่เป็นปานกลางถึงรุนแรง แต่จะสามารถลดเสียงกรนได้ ในผู้ป่วยเป็นน้อยมาก ที่มีแต่อาการกรนอย่างเดียว
-ส่วนออกซิเจน ไม่ใช่การรักษาหลักในโรคนี้ ไม่สามารถทำให้หายได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคปอดร่วมด้วยอาจต้องใช้ร่วมกับ เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก
การปฏิบัติตนทั่วไป
1. -การลดน้ำหนัก ในรายที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน จะช่วยให้ โรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ดีขึ้น อาการกรน น้อยลง และนอนหลับได้ดีขึ้น การรักษาอื่นที่ได้รับ ได้ผลมากขึ้น
2. -หลีกเลี่ยงการดื่ม แอลกอฮอล์ ช่วง 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะ แอลกอฮอล์จะทำให้การนอนหลับแย่ลง และ ยังกดการหายใจทำให้ กรนมากขึ้น และโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ จะเป็นมากขึ้น
3. -หลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ เพราะยานอนหลับ กดการหายใจ ทำให้ กรนมากขึ้น และโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ จะเป็นมากขึ้น หากผู้ป่วยมีนอนไม่หลับร่วมด้วย ควรจะปรึกษาแพทย์ มากกว่า
4. -พยายามนอนตะแคง อาการจะน้อยกว่านอนหงาย
5. -หากง่วงนอนขณะขับรถ ควรหยุดขับ จอดข้างทางเพื่อพัก หรือเปลี่ยนคนขับ พึงระวังไว้ว่า มีอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ง่วงไม่ขับ
ข้อมูลจาก: ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
การนอนกรนมีวิธีรักษาให้หายไหม ต้องทำอย่างไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)