กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

NEC: Necrotizing Enterocolitis (ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ เป็นภาวะอักเสบเกี่ยวกับเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้จนทำให้ลำไส้ขาดเลือด เป็นสาเหตุการตายที่พบได้มากที่สุดในทารกแรกเกิด
  • ภาวะลำไส้อักเสบมีสาเหตุที่เกิดได้ทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด เช่น มารดาใช้สารเสพติด การเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักตัวทารกน้อย ทารกมีปัญหาหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ตัวอย่างอาการหลักๆ ของภาวะลำไส้อักเสบ ได้แก่ ตัวเหลือง ร้องกวน หยุดหายใจ หัวใจเต้นช้า ดูดนมไม่ดี
  • การรักษาภาวะลำไส้เน่าอักเสบจะประกอบไปด้วยการให้สารน้ำ สารยาทางหลอดเลือด ร่วมไปกับการติดตามดูความคืบหน้าของอาการ ซึ่งหากไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

ความหมายภาวะลำไส้เน่าอักเสบ 

ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing Enterocolitis: NEC) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารตายจากการอักเสบจนขาดเลือด มักเกิดบริเวณลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ในทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย และเป็นสาเหตุการตาย และทุพลภาพของทารกแรกเกิดที่พบได้มากที่สุด

สาเหตุภาวะลำไส้เน่าอักเสบ 

ยังไม่ทราบแน่นอนว่า ภาวะลำไส้เน่าอักเสบนั้นเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้มากที่สุด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มารดาใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
  • ทารกติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด
  • การเติบโตช้าในครรภ์
  • การคลอดก่อนกำหนด หรือมีปัญหาระหว่างทำคลอด เช่น รกลอกตัว ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด
  • ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนจนช็อค (Hypoxia)
  • ทารกเกิดภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
  • น้ำหนักตัวทารกน้อย
  • ความพิการของหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงลำไส้ได้ไม่เพียงพอ
  • การให้นมผสมที่เข้มข้นสูงผ่านทางเดินอาหาร 
  • การให้สารไขมันทางหลอดเลือดดำ
  • การใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ

พยาธิสรีรภาพภาวะลำไส้เน่าอักเสบ 

ภาวะลำไส้เน่าอักเสบมีพยาธิสรีรภาพจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจากสาเหตุของภาวะด้านบน จนทำให้ลำไส้เกิดการอักเสบ และนำไปสู่การทำลายเยื่อบุผิวลำไส้ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียลุกลามเข้าไปสู่ผนังลำไส้

ซึ่งจากการติดเชื้อ และอักเสบดังกล่าว อาจทำให้เนื้อเยื่อในลำไส้ตาย เกิดก๊าซแทรกตัวเข้าไปตามชั้นของผนังลำไส้ หรืออาจลึกเข้าไปถึงระบบเลือดดำ ทำให้ลำไส้เกิดภาวะขาดออกซิเจน จนทำให้เด็กทารกมีอาการเจ็บป่วยขึ้นมา เช่น ท้องอืด พบเลือดในอุจจาระ (Occult Blood) 

หากมีความรุนแรงมากขึ้นอาจถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด มีแผลบริเวณลำไส้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อบุชั้นในและกล้ามเนื้อของลำไส้และอาจทำให้ลำไส้ทะลุ

อาการภาวะลำไส้เน่าอักเสบ 

ทารกที่มีภาวะลำไส้อักเสบ จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เซื่องซึม (Lethargy) 
  • ดูดนมไม่ดี 
  • ตัวเหลือง 
  • ร้องกวน 
  • อุณหภูมิกายต่ำ 
  • หยุดหายใจ 
  • หัวใจเต้นช้า 
  • มีภาวะกรดเกิน 
  • โซเดียมต่ำ และออกซิเจนต่ำ 

ส่วนอาการเฉพาะที่เกิดจากลำไส้เน่าอักเสบ ได้แก่ 

  • ท้องอืด 
  • ถ่ายอุจาระเหลว 
  • อาเจียนเป็นสีน้ำดี 
  • มีเลือดออกในทางเดินอาหาร 
  • มีอาหารเหลือค้างในกระเพาะอาหาร 
  • อาจมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

การวินิจฉัยโรคภาวะลำไส้เน่าอักเสบ 

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติการตั้งครรภ์ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมารดาขณะตั้งครรภ์ และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย โดยแพทย์จะมุ่งประเมินไปที่ความรุนแรงของการติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงตรวจดูเงาลมในลำไส้ ของเหลวในช่องท้อง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์อาจใช้เพื่อวินิจฉัยภาวะนี้เพิ่มเติมได้แก่

  • การตรวจเอกซเรย์ช่องท้อง เพื่อสังเกตเงาลมแทรกในผนังลำไส้ 
  • การตรวจเอกซเรย์ท่าข้าง
  • การตรวจช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
  • การเพาะตัวอย่างเลือด
  • การตรวจประเมินระบบการแข็งตัวของเลือด

การรักษาภาวะลำไส้เน่าอักเสบ 

การรักษาภาวะลำไส้เน่าอักเสบมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่ 

  • การระงับสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ ผ่านการพักการใช้ทางเดินหาร ใช้สายสวนกระเพาะเพื่อระบาย การให้ยาปฏิชีวนะชนิดสเปกตรัมกว้าง การระงับการติดเชื้อตามระบบต่างๆ ของร่างกาย
  • การพยุงระบบไหลเวียน ด้วยการให้สารน้ำ สารอาหารทางหลอดเลือดให้ยากลุ่มกระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
  • การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย โดยใช้เครื่องมือติดตามการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ สัญญาณชีพ ปริมาณปัสสาวะ การแข็งตัวของเลือด การเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพในทางเดินอาหาร

องค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยคัดแยกผู้ป่วยที่มีภาวะไม่วิกฤติจนถึงขั้นไม่ต้องผ่าตัดได้ กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อหยุดการลุกลามของการอักเสบในลำไส้ ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของการแตกทะลุของลำไส้ 

วิธีรักษาภาวะลำไส้เน่าอักเสบโดยการผ่าตัดแบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่

  • การผ่าตัดแบบเปิดสำรวจช่องท้อง
  • การใส่ท่องระบายช่องท้อง

หลังจากรับการผ่าตัดแล้ว จะต้องมีการเฝ้าระวังเพื่อฟื้นฟูร่างกายทารกหลังผ่าตัดให้กลับมาเป็นปกติ โดยผู้ดูแลจะต้องพยุงระบบไหลเวียนด้วยสารน้ำ และยาพยุงความดัน อีกทั้งต้องเฝ้าระวังความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ภาวะตกเลือดในสมอง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

หากผู้ป่วยไม่ได้มีอาการแทรกซ้อนที่น่าเป็นห่วงหลังการผ่าตัด แพทย์จะเริ่มให้อาหารผ่านทางเดินอาหารกับเด็ก 

ภาวะลำไส้เน่าอักเสบเป็นภาวะที่ส่งผลต่อร่างกายของทารกอย่างรุนแรง อีกทั้งร่างกายของเด็กทารกยังไม่มีภูมิคุ้มกัน และความแข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับภาวะอักเสบร้ายแรงได้มาก จึงเสี่ยงที่ทารกจะเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาได้ทันเวลา

ว่าที่คุณแม่มือใหม่รวมถึงผู้หญิงทุกคนที่กำลังวางแผนมีบุตร จึงต้องเตรียมดูแลสุขภาพของตนเองให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้ลูกของคุณมีสุขภาพแข็งแรง ไร้ภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงอันตราย 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is NEC?. NEC Society. (Available via: https://necsociety.org/nec-now/)
Necrotizing Enterocolitis. NORD (National Organization for Rare Disorders). (Available via: https://rarediseases.org/rare-diseases/necrotizing-enterocolitis/)
Necrotizing Enterocolitis. American Academy of Family Physicians. (Available via: https://familydoctor.org/condition/necrotizing-enterocolitis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อาการนอนกรนรักษาให้หายได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนโกรนเกิดจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เคยได้ยินว่าคนที่นอนกรน มีโอกาสออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ จะมีความเสี่ยงอย่างไรค่ะ และจะสามารถรักษาได้อย่างไร รบกวนขอแนวทางด้วยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ระหว่างนอนหากมีอาการหยุดหายใจเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การนอนกรนมีวิธีรักษาให้หายไหม ต้องทำอย่างไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
วิธีแก้อาการนอนกรนทำอย่างไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)