กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 3 ชนิดที่แตกต่างกัน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น จากการสั่งงานของสมอง และชนิดผสม
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 3 ชนิดที่แตกต่างกัน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นภาวะที่ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นหรือแคบลงจากบางสิ่ง ทำให้เกิดอาการกรนในขณะนอนหลับ บางคนอาจมีอาการหยุดหายใจเป็นระยะร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีหรืออาจนานถึงนาที มักพบในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน และพบได้มากในผู้ชาย

จากสถิติของราชวิทยาลัยโสต คอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า คนไทย 25% นอนกรนขณะนอนหลับเป็นประจำ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วยประมาณ 5% หรือคิดเป็นประชากรจำนวน 3 ล้านคน ผู้ที่มีภาวะนี้มักจะคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น อ่อนเพลีย หรือง่วงนอนมากขณะทำงาน หากมีอาการรุนแรง เช่น นอนกรนดังจนหายใจสะดุด จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นบางช่วง กรณีร้ายแรงถ้าอากาศไปเลี่้ยงสมองไม่พอ ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษานอนกรน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 14,549 บาท ลดสูงสุด 30,551 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียน

  • นอนหลับได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้อ่อนเพลียหรือง่วงมากผิดปกติเวลากลางวัน
  • ประสิทธิภาพการใช้สมองลดลง สมาธิ และความจำลดลง
  • เสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่างๆ ทั้งทางด้านจราจรและจากการทำงาน

นอกจากนี้ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อหลายโรค ได้แก่

ประเภทของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งไปอุดกั้นทางเดินหายใจ สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะนี้ ได้แก่

  • น้ำหนักเกิน อาจหมายความว่ามีเนื้อรอบๆ คอ และส่วนหลังของช่องคอมากเกินไป
  • ต่อมทอนซิลโต
  • ต่อมอะดีนอยด์โต (ต่อมนี้จะหดเล็กลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ดังนั้นปัญหานี้จึงมักเป็นปัญหาเฉพาะในเด็ก)
  • สาเหตุทางพันธุกรรม เช่น การมีทางเดินหายใจแคบ หรือลิ้นใหญ่ รวมถึงโรคทางพันธุกรรมบางโรค เช่น พาทัวซินโดรม (Patau syndrome) 
  • การกินยานอนหลับก่อนนอน
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
  • ภาวะภาวะที่ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนมากกว่าปกติ (acromegaly)
  • โรคปอด
  • การอุดกั้นในจมูก เช่น การมีกระดูกที่ยื่นออกมาจากผนังด้านข้างของโพรงจมูกโต

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการทำงานผิดปกติของสมอง (Central sleep apnea)

ภาวะนี้เกิดจากความผิดพลาดในการส่งสัญญาณของสมองเพื่อสั่งการหายใจในขณะหลับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดมีการหายใจลดลง (Decreased respiratory drive) และชนิดมีการหายใจเพิ่มขึ้น (Increased respiratory drive) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)
  • เนื้องอกของก้านสมอง
  • กล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular dystrophy)
  • การเปลี่ยนแปลงจากโรคโปลิโอ
  • กล้ามเนื้อกระบังลมเป็นอัมพาต
  • โรค ALS (Amyotrophic lateral sclerosis)
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation)
  • ภาวะสมองขาดเลือด (Stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองอื่นๆ
  • ไตวาย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดผสม (Mixed sleep apnea) 

ภาวะนี้เกิดจากทั้งการอุดกั้นของทางเดินหายใจและความผิดปกติของสมอง ซึ่งมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • หยุดหายใจเป็นช่วงเวลานานขณะหลับ
  • การกรน
  • การหายใจเฮือกขณะหลับ
  • นอนกระสับกระส่าย
  • รู้สึกง่วงหรือเหนื่อยทั้งวัน
  • ภาวะซึมเศร้า หรืออารมณ์ปรวนแปร
  • ไม่มีสมาธิ
  • ความจำไม่ดี
  • ปวดศีรษะบ่อยๆ

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

หลายคนอาจเพิกเฉยต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะเห็นว่าไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ ต่อร่างกาย แต่ควรระลึกไว้ว่าภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะการขาดออกซิเจนในเลือดและขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอาจทำให้เซลล์สำคัญตาย ซึ่งจะจำกัดความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมของอวัยวะสำคัญของร่างกาย 

นอกจากนี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ยังเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย แต่ก็มีการฟื้นตัวได้ดีหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ

โรคหยุดหายใจขณะหลับเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่คนกลุ่มต่อไปนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากกว่าคนอื่นๆ

  • เพศชาย
  • อายุมาก
  • ผู้หญิงหรือผู้ชายวัยทอง
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีน้ำหนักมาก
  • ผู้ที่มีโครงสร้างระบบทางเดินหายใจแคบ ผนังกั้นช่องจมูกคด ต่อมทอนซิลโต ต่อมอะดินอยด์โต  (โดยอาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นจากโรคภูมิแพ้)

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, กรน-หยุดหายใจ พุ่ง3ล้านคนในเด็กเพิ่ม-ผู้ใหญ่5%เสี่ยงสูง (https://www.thaihealth.or.th/Content/48176), 28 มีนาคม 2019.
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับและภาวะซึมเศร้า (http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/61-1/06%20Saratcha.pdf), 21 สิงหาคม 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำไมผู้ชายจึงกรน
ทำไมผู้ชายจึงกรน

การรักษาอาการนอนกรน

อ่านเพิ่ม