กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเจาะคอคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การเจาะคอคืออะไร?

การเจาะคอ (Tracheostomy) คือการเจาะเปิดรูตั้งแต่ด้านหน้าของลำคอเข้าไปถึงหลอดลม เพื่อต่อเครื่องช่วยหายใจทางท่อเจาะคอเข้าไปสู่หลอดลม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจง่ายขึ้น การเจาะคออาจเป็นสิ่งที่จำเป็นหากมีภาวะหรือบางอย่างที่อุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น

  • มีสิ่งของขนาดใหญ่ เช่น เนื้องอกอุดกั้นทางเดินหายใจ
  • เป็นโรคมะเร็งในลำคอ
  • โรคที่ทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการหายใจอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต
  • มีการทำลายไขสันหลัง
  • มีความผิดปกติที่ทางเดินหายใจส่วนบน

ขั้นตอนการทำการผ่าตัดเจาะคอ

การผ่าตัดนี้จะดำเนินการภายใต้การดมยาสลบ แพทย์จะเริ่มการเจาะคอด้วยการลงแผลตามแนวขวางบริเวณส่วนล่างของลำคอ ก่อนจะดึงกล้ามเนื้อบริเวณคอกลับไปด้านหลังและตัดผ่านต่อมไทรอยด์เพื่อให้เห็นหลอดลม จากนั้นแพทย์จะกรีดเปิดหลอดลม แล้วใส่ท่อเข้าไปเพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจและทำให้สารคัดหลั่งจากภายในปอดสามารถขับออกมาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะคอ

ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นทันทีหลังจากการเจาะคอ เช่น เส้นประสาทถูกทำลาย มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด มีการติดเชื้อ มีอากาศรั่วอยู่ในเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) หรือใต้ผิวหนังรอบท่อเจาะคอ (Subcutaneous emphysema)

ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • มีก้อนเนื้อเยื่อผิดปกติในทางเดินหายใจ
  • ทางเดินหายใจเหนือท่อเจาะคอเกิดการยุบตัว
  • มีแผลในหลอดลมที่เกิดจากการเสียดสีกับท่อ
  • เสมหะแห้งและมีเมือกอุดตันท่อเจาะคอ
  • รูที่เจาะไว้ปิดตัวลงหลังจากนำท่อเจาะคอออก

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rashid AO, et al. Percutaneous tracheostomy: A comprehensive review. Journal of Thoracic Disease. 2017; doi:10.21037/jtd.2017.09.33.
Landsberg JW. Pulmonary and critical care pearls. In: Clinical Practice Manual for Pulmonary and Critical Care Medicine. Elsevier; 2018. https://www.clinicalkey.com.
Mitchell RB, et al. Clinical consensus statement: Tracheostomy care. Otolaryngology — Head and Neck Surgery. 2013; doi:10.1177/0194599812460376.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม