แนะนำอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานนานๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แนะนำอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานนานๆ

อาหารที่คุณทานสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและอาหารที่สมดุล นอกจากนี้คุณรู้หรือไม่ว่า การมีไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ก็สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ไม่ช้าก็เร็ว โดยเฉพาะคนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน สำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานทั้งวัน วันนี้เราได้รวบรวมอาหารที่เหมาะสำหรับคุณมาให้แล้วดังนี้

1. อาหารที่ดีต่อดวงตา

อาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 ลูทีน ซิงก์ วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี สามารถปกป้องสุขภาพดวงตาของคุณ สำหรับอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ผักใบเขียว ไข่ ผลไม้ตระกูลซิตรัส เบอร์รี ถั่ว เมล็ดพันธุ์ ปลาที่มีไขมันสูงอย่างแซลมอน ปลาทูนา ปลาแมคเคอเรล และปลาเทราต์ นอกจากนี้การทานซีเรียลก็ดีต่อดวงตาเช่นกัน เพราะมันมีวิตามินบีที่ช่วยป้องกันไม่ให้สูญเสียการมองเห็น ในขณะที่ผลไม้ตระกูลซิตรัสก็ดีต่อสายตาไม่แพ้กัน เพราะมันมีวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการผลิตคอลลาเจนในกล้ามเนื้อรอบดวงตา ดังนั้นหากคุณต้องใช้สายตาไปกับการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ คุณก็อย่าลืมทานอาหารเหล่านี้เพื่อบำรุงสายตาค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. อาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน

สภาพแวดล้อมในออฟฟิตถือเป็นสถานที่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียและไวรัส ทั้งนี้คุณสามารถเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันโดยทานอาหารบางชนิด เช่น ผลไม้ตระกูลซิตรัส พริกแดง บรอกโคลี กระเทียม ขิง กีวี มะละกอ ฯลฯ นอกจากนี้คุณอาจเลือกทานโยเกิร์ตเป็นอาหารว่าง เพราะโปรไบโอติกหรือแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม T cells  ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง คุณมีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยทานโยเกิร์ตวันละ 200 มิลลิลิตรทุกวัน

3. อาหารที่ช่วยเสริมการทำงานของเมทาบอลิซึม

เมทาบอลิซึมคือตัวที่กำหนดความไวของการเผาผลาญแคลอรี ซึ่งความเร็วของมันถูกกำหนดโดยหลายปัจจัย เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ยิ่งเมทาบอลิซึมทำงานดีเท่าไร ร่างกายก็จะเผาผลาญแคลอรีได้มากเท่านั้น ซึ่งมันจะยิ่งสำคัญสำหรับคนที่ใช้เวลาส่วนมากของวันไปกับการนั่งทำงานที่โต๊ะ ทั้งนี้การทานสาหร่าย กาแฟ ชา ถั่ว เนื้อลีน ขิง พริกคาร์เยน และกระวานเทศ จะช่วยรักษาความเสถียรของระบบเมทาบอลิซึม

4. อาหารที่ช่วยบำรุงสมอง

อย่างที่เราทราบกันดีว่า สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ในแต่ละวันที่ทำงาน คุณต้องใช้ความคิดและแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ดังนั้นคุณไม่ควรลืมเติมอาหารให้สมองค่ะ การทานปลาที่มีไขมันสูงอย่างปลาแซลมอน ปลาเทราต์ บลูเบอร์รี ถั่ว และเมล็ดพันธุ์ จะช่วยให้สมองส่วนเนื้อเทาทำงานดี และช่วยชะลอความแก่ชรา

5. อาหารที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร

 การนั่งทำงานนานๆ โดยทำติดต่อกัน 10 ปี หรือมากกว่านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ถึง 2 เท่า อย่างไรก็ดี คุณสามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นโดยออกกำลังกายเป็นประจำ และทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ล ลูกแพร หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม ถั่วฝัก ถั่วเหลือง ถั่วเลนทิล ข้าวสาลี ไรย์ บาเลย์ ฯลฯ นอกจากนี้ให้คุณลดการทานอาหารประเภทเนื้อแดงและบรรดาเนื้อแปรรูป เพราะมันจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

แม้ว่างานที่เราทำมีลักษณะที่ต้องนั่งทำงานที่โต๊ะทั้งวัน แต่คุณสามารถดูแลตัวเองโดยทานอาหารที่เรากล่าวไป และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงหาเวลาพักในระหว่างวันเพื่อเดินยืดเส้นยืดสาย และพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์สักครู่ เพื่อไม่ให้ดวงตาอ่อนล้าจนเกินไป

ที่มา: https://steptohealth.com/foods...


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tips for Healthy Eating and Exercising When Working Shifts. National Sleep Foundation. (https://www.sleepfoundation.org/shift-work-disorder/shift-work-you/tips-healthy-eating-and-exercising-when-working-shifts)
Work Hours and Perceived Time Barriers to Healthful Eating Among Young Adults. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3464955/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป