ค่าโพแทสเซียมสำคัญกว่าที่คุณคิด !

เผยแพร่ครั้งแรก 8 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ค่าโพแทสเซียมสำคัญกว่าที่คุณคิด !

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่า "โพแทสเซียม" (Potassium) สัญลักษณ์ทางเคมี K คือซึ่งมีละลายอยู่ในน้ำเลือดในฐานะ Electrolyte นั้นมีปริมาณสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติมากน้อยเพียงใด

โพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมการทำหน้าที่ของหัวใจผู้ที่ถูกสั่งให้ต้องกินยาขับน้ำปัสสาวะ (กลุ่มยา diuretics) เพื่อลดความดันเลือดหรือผู้ที่กำลังอยู่ในห้วงการบำบัดโรคหัวใจใดใดก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นติดตามตรวจหาระดับค่าโพแทสเซียม (K) ในเรื่องของตนเองให้ทราบไว้เสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุที่จำเป็นต้องมีอยู่ในน้ำเลือดโดยเป็นสารละลายเช่นเดียวกับโซเดียม (Na) แต่ระดับความเข้มข้นของโพแทสเซียมนั้นก็จะเป็นปฏิภาคกลับกันกับโซเดียม กล่าวคือ เมื่อใดหากน้ำเลือดมีความเข้มข้นของโซเดียมอยู่ในระดับสูง เมื่อนั้นโพแทสเซียมก็จะมีความเข้มข้นอยู่ในระดับต่ำ ในทางกลับกันหากโซเดียมต่ำโพแทสเซียมก็จะอยู่ในระดับสูง
  2. แหล่งที่โพแทสเซียมมีความเข้มข้นสูงสุดปกติประมาณ 150 mEq/L ก็คือเซลล์ในเซลล์ทุกเซลล์ของมนุษย์จะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกส่วนภายนอกเซลล์นั้นจะมีโพแทสเซียมที่มีความเข้มข้นเพียงระดับประมาณ 4 mEq/L
    โดยค่าโพแทสเซียม (K) ที่ตรวจหาได้จากการสอนเลือดออกมาทราบระดับให้เห็นเป็นตัวเลขนี้ก็คือค่าความเข้มข้นของโพแทสเซียมภายนอกเซลล์นี้นี่เอง
  3. ค่าความแตกต่างในความเข้มข้นของระดับโพแทสเซียมที่อยู่ภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ซึ่งเป็นอัตราส่วนต่อกันนี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงบทบาทในการทำหน้าที่ของผนังเซลล์ซึ่งได้แก่การส่งผ่านสารอาหารเข้าสู่ภายในเซลล์การชักนำเอาของเสียออกทิ้งภายนอกเซลล์และการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าของเซลล์ประสาทตามเส้นใหญ่ประสาทเริ่มต้นห่างจากตาหูจมูกลิ้นหรือผิวหนัง (จากการสัมผัส) ไปสู่สมองซึ่งเป็นศูนย์กลางและส่งผ่านกลับมายังหัวใจ (ให้เต้นเร็วขึ้นหรือแรงขึ้น) หรือส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเป็นปฏิกิริยาใดใดในการตอบสนองเช่นขณะเล่นกีฬาขนาดประสบอันตราย(อาทิ เหยียบของร้อน)
    อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่อยู่ภายในเเละภายนอกเซลล์ดังกล่าวนั้น หากผิดไปจากเกณฑ์ปกติ ก็ย่อมอาจมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถึงขั้นทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหรืออาจทำให้การบังคับกล้ามเนื้อส่วนอื่นของร่างกายลดประสิทธิภาพลง
    สรุปความสำคัญในข้อนี้ก็คือโพแทสเซียมนับเป็นถ้าสำคัญยิ่งต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อตลอดทั่วทั้งร่างกายมนุษย์และโปรดละลึกว่าหัวใจที่เป็นก้อนเนื้อขนาดประมาณเท่ากับกำปั้นของตัวเจ้าของร่างกายนั้นโดยแท้จริงแล้วก็คือตอนกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุดซึ่งจำเป็นต้องมีและใช้โพแทสเซียมมากยิ่งกว่าก้อนกล้ามเนื้ออื่นใด
  4. โดยที่ค่าระดับโพแทสเซียมในเลือดนับว่ามีปริมาณน้อยมากอยู่แล้วกล่าวคือเพียงประมาณ 4 mEq/L (ตามที่กล่าวแล้วในข้อสอง) ฉะนั้นหากมีสาเหตุใดใดที่มากระทบต่อความเข้มข้นของประเทศเซี่ยมให้ต่ำลงไปอีกย่อมจะมีผลร้ายแรงต่อสุขภาพ
    สภาวะผิดปกติที่อาจพบได้เมื่อระดับโพแทสเซียมต่ำก็คือความดันเลือดจะสูงขึ้นจนอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง (แปด) ซึ่งมีศัพท์เรียกเป็นการเฉพาะว่า Stroke (โรคลมปัจจุบัน)
  5. โดยเหตุผลในข้อสี่ประกอบกับเหตุผลในข้อหนึ่งที่ว่ายิ่งกินเค็ม (หรือกินโซเดียม) มากเท่าใดก็จะยิ่งทำให้โพแทสเซียมในเลือดต่ำลงมาเท่านั้นและเมื่อโพแทสเซียมต่ำลงและต่ำลงความดันเลือดก็จะสูงขึ้นและสูงขึ้น
    นี่คือความเป็นเหตุเป็นผลอันเป็นที่มาซึ่งอาจอธิบายคำชี้แจงของแพทย์ผู้รักษาโรคความดันเลือดสูงโดยทุกท่านมักจับพยายามพร่ำแนะนำว่าให้งดอาหารเค็ม ให้งดอาหารเค็มๆๆๆ
    เพื่อรักษาระดับโพแทสเซียมมีให้ต่ำลงผมขอแนะนำเพิ่มเติมเพื่อความสัมฤทธิ์ผลว่าสมควรต้องเลือกกินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงและโซเดียมต่ำพร้อมกันไปด้วยโดยขอยกมาแสดงเฉพาะอาหารบางชนิดดังนี้

    ชนิดอาหาร (100 กรัม)

    โพแทสเซียม (มก.)

    โซเดียม (มก.)

    แป้งถั่วเหลือง

    น้ำมะเขือเทศต้ม

    ลูกเกด

    จมูกข้าวสาลี

    มันฝรั่งอบทั้งเปลือก

    ถั่วเหลืองต้ม

    กล้วยหอม

    1650

    1150

    1020

    950

    600

    510

    400

    9

    28

    60

    5

    12

    2

    1

    หมายเหตุ ผลไม้สดและผักสดทุกชนิดมีโพแทสเซียมสูงกว่าโซเดียมทั้งสิ้น

    ตาราง แสดงอาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียม

    หากท่านผู้ใดเข้าใจในกลไกของร่างกายดังกล่าวแล้วนั้นและหากมีความประสงค์ใครจะลดความดันเลือดของตนเองโดยไม่ต้องใช้ยาผมขอแนะนำให้อ่านหนังสือ ลดความดันเลือดด้วยตนเอง ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลนำมาเขียนสรุปไว้โดยพลเอกประสานเตรียมมาสกุล

  6. โพแทสเซียมเป็นถ้าที่อาจถูกขับทิ้งออกจากร่างกายโดยการกรองของไตและเลือกส่งผ่านทางน้ำปัสสาวะ (ให้ขายกับโซเดียม) แต่มันโชคไม่ดีเท่าโซเดียมตรงที่ไตจากขับทิ้งโพแทสเซียมในลักษณะทิ้งแล้วทิ้งเลยไม่มีระบบดูดกลับคืน (no reaborbtion) เหมือนโซเดียมจึงสรุปได้ว่าโพแทสเซียม (ซึ่งมีในเลือดน้อยอยู่แล้วนั้น) นับวันมีแต่จะร่อยหรอน้อยลงและน้อยลง
    ผมใคร่ตั้งข้อสังเกตไว้ตรงนี้ก็เพื่อจะย้ำเตือนให้ท่านผู้อ่านทราบว่าร่างกายของเราจะมีโพแทสเซียมใช้อย่างปลอดภัยได้ก็แต่โดยการดูดซึมจากสารอาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียมวันละเล็กวันละน้อยเท่านั้นมากเกินเกณฑ์เมื่อไหร่ตาย (เที่ยงดี) ก็จะขัดทิ้งไป
    แต่น้อยลงเมื่อใดและหากไม่มีโพแทสเซียมจะหาเพิ่มเติมให้เพียงพอ ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าสภาวะโพแทสเซียมต่ำอาจนำไปสู่ผลเสียร้ายแรงซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

  7. การกินอาหารที่อุดมด้วยธาตุโพแทสเซียมสำหรับท่านผู้อ่านที่มีร่างกายเป็นปกติ (ไตไม่เสื่อม) อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพสำคัญ 3 ประการดังนี้

    • ช่วยให้กล้ามเนื้อ (รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ) และระบบประสาททั่วร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องและสมบูรณ์แบบ
    • ช่วยรักษาสภาวะสมดุลย์ของของเหลวสารละลาย (electrolyte) โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือควบคุมดุลยภาพ ความเป็นกรด-ด่าง (acod-base balance) เพื่อไม่ให้ความเป็นกรดในร่างกายมากเกินไป
      ธาตุที่สร้างความเป็นกรดในร่างกายได้อย่างน่ากลัวก็คือโซเดียมจากเรือ (จากน้ำปลา) หรือจากอาหารเค็มทั้งหลายนั่นเอง
    • ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดสภาวะความดันเลือดสูง
  8. สภาวะของคนที่มีโพแทสเซียมต่ำหรือน้อยซึ่งถูกเรียกว่า hypokalemia นั้นโดยมากมักจะปรากฏอาการที่แสดงให้เห็นความจำเป็นว่าจะต้องรีบบริโภคอาหารซึ่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียมเข้าไปช่วยแก้ไขร่างกายนั้นคืออาการคล้ายคลึงกับ hypernatremia หรือมีโซเดียมมากเกินไปกล่าวคือมักปรากฏอาการ บางอย่างดังนี้
  9. เนื่องจากระดับโพแทสเซียมปกติในเลือดมีค่าเพียงประมาณ 4 mEq/L
    พอเพียงและปลอดภัยเนื่องจากสูงเกินเกณฑ์เมื่อใดก็จะมีไตช่วยกรองขับทิ้งออกไปนอกร่างกาย
    ในทุกกรณีจึงมีข้อห้ามที่มีให้ผู้ใดไปซื้อเกลือโพแทสเซียม (potassium chloride หรือ potassium bicabonate) มากินเองเนื่องจากหากระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากกว่าเกณฑ์ปกติไปมากๆจะเกิดเป็นพิษแก่ร่างกายดูอาจเกิดอันตรายด้วยอาการนับตั้งแต่คลื่นเหียน อาเจียน ท้องร่วงหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงขั้นหัวใจพิบัติ(heart attack)
    ในทางการแพทย์ท่านจะเรียกสภาวะของผู้ที่โพแทสเซียมในเลือดสูงเกินปกติว่า ไฮเปอร์คาเลเมีย (hyperkalemia)

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    ค่าปกติของโพแทสเซียม (K)

    1. ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
    2. ค่าปกติทั่วไป
      ผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุ K : 3.5 - 5.0 mEq/L
      ค่าวิกฤต K : <2.5 หรือ > 6.5 mEq/L
      หมายเหตุ K : 1 mEq/L = 30.1 mEq/L

    ค่าผิดปกติ

    1. ค่าผิดปกติ ในทางน้อย(hypokalemia) อาจแสดงผลว่า
      • บริโภคอาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียมน้อยไป
      • เนื่องจากกินยาบางประเภทที่มีผลต่อการขับทิ้งโพแทสเซียม เช่น
        • กลุ่มยาขับปัสสาวะ (diuretics) ใช้ลดความดันโลหิตสูง
        • กลุ่มยาระบาย (laxatives) ใช้แก้อาการท้องผูก
        • กลุ่มยาแก้ปวด (steriods) ใช้แก้การอักเสบต่างๆ
        • กลุ่มยาเหล่านี้ล้วนอาจมีส่วนช่วยขับทิ้งโพแทสเซียมออกไป นอกร่างกายถึงขั้นสร้างผลเสียหายร้ายแรงได้ทั้งสิ้น
          คำแนะนำสำหรับท่านผู้อ่านที่ควรต้องจำและละลึกไว้เสมอก็คือก่อนจะกินยาอะไรท่านควรจะต้องทราบชื่อกลุ่มยาวัตถุประสงค์ของยาที่กินและผลข้างเคียงหรือพิษของยาที่อาจเกิดขึ้นไม่เคยเกิดขึ้นกับผู้อื่น ผู้ป่วยทุกท่านมีสิทธิ์จะถามท่านผู้สั่งให้ยาหรือท่านผู้จ่ายยาให้ตัวแทนทุกครั้งไปโดยท่านผู้ถูกถามมีหน้าที่ (ตามกฎหมาย) ที่จะต้องตอบให้กระจ่างและหากแต่ละฝ่ายต่างรู้สิทธิ์และหน้าที่ซึ่งกันและกันปัญหาร้ายแรงก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น (อย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์)
      • ในร่างกายคนที่สุขภาพไม่ดีอาจเกิดสภาวะฮอร์โมนแอลโดสเตอร์โรนทำงานเกิน โดยฮอร์โมนตัวนี้ตามปกติมันจะมีบทบาทไปบังคับให้ไปดูดกับโซเดียมก่อนที่จะปล่อยทิ้งไปกับปัสสาวะหากมันทำงานเป็นปกติมันก็จะไปบังคับให้ไปให้ดูดกลับโซเดียมเพียงเท่าที่ร่างกายจำเป็นจะต้องมีใช้ทำให้โซเดียมในเลือดอยู่ในระดับปกติ กรณีมันทำงานเกินปกติมันก็จะไปบังคับให้ไตให้ดูดกลับโซเดียมขึ้นมาให้ร่างกายมากเกินไปจะทำให้มีโซเดียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์ปกติในน้ำเลือด นั้นถ้าโซเดียมสูงขึ้นเมื่อโพแทสเซียมก็จะต่ำลงเมื่อนั้น
      • ในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและได้รับการรักษาด้วยวิธีฉีดอินซูลิน ผลการใช้อินซูลินให้พากลูโคส (น้ำตาลในเลือด) เข้าสู่ภายในเซลล์มันก็จะช่วยพาโพแทสเซียมจากนำเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์พร้อมกันไปด้วย โดยเหตุนี้ซึ่งอาจมีผลต่อผู้ฉีดอินซูลินว่า โพเทสเซียมในเลือด (ส่วนที่อยู่ภายนอกเซลล์) มีโอกาสจะต่ำกว่าปกติได้
      • ในกรณีผู้ป่วยมิที่มีอาการท้องมาน (ascites) ซึ่งจะทำให้ของเหลวในช่องท้องไปกดทับหลอดเลือดแดงจนอาจทำให้เลือดไหลไปสู่ไตไม่สะดวกหรือกรณีผู้ป่วยมีอาการปรากฏว่าหลอดเลือดไปตีบเอง (renal artery stenosis) ทั้งนี้ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตามย่อมจะทำให้ฮอร์โมนแอลโดสเตอร์โรน (aldosterone) ออกมาทำหน้าที่บังคับไปให้ดูดกับโซเดียมมากกว่าปกติโซเดียมสูงเมื่อได้ผลและเสียงเลือดต่ำลงเมื่อนั้น
    2. ค่าผิดปกติในทางมากอาจแสดงผลว่า
      • บริโภคอาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียมมากเกินไป ในทางทฤษฎีจำเป็นต้องกล่าวไว้เป็นหลักการแต่ในความเป็นจริงมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งกินอาหารประเภทผักสดและผลไม้สดด้วยอัตราส่วนที่ต่ำกว่าเนื้อสัตว์มากมายจึงยากนักที่จะเกิดมีโพแทสเซียมระดับสูงจากอาหารที่กินเข้าไป
      • อาจเกิดสภาวะไตวายอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรังจึงทำให้รถหรือมดขีดความสามารถการขับทิ้งโพแทสเซียม
      • อาจมีโรคหรือเหตุสำคัญทำให้เกิดสภาวะฮอร์โมนแอลโดสเตอร์โรนทำงานต่ำเกินไปซึ่งหมายความว่าร่างกายมีประมาณฮอร์โมนตัวนี้น้อยเกินไปจึง ไปบังคับไปให้ดูดกับโซเดียมไม่ได้เต็มที่เป็นผลทำให้โซเดียมถูกปล่อยทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะโดยไร้การควบคุมซึ่งจะเป็นเหตุทำให้โซเดียมในเลือดมีค่าลดระดับต่ำลง โซเดียมในเลือดลดลงมากเท่าไหร่เพราะถ้าเส้นเลือดสูงขึ้นมาเท่านั้น
      • อาจเกิดอาการบาดเจ็บหรือฟกช้ำต่อเนื้อเยื่อซึ่งมีผลกระทบต่อเซลล์จนอาจทำให้โพแทสเซียมที่มีอยู่เข้มข้นภายในเซลล์ต้องหลุดรอดออกมาสู่กระแสเลือดจนทำให้ครับรัสเซียในเลือดสูงขึ้น
      • อาจเกิดสภาวะโลหิตจางเพราะหมายเหตุเม็ดเลือดแดงแตกจึงทำให้โพแทสเซียมหลุดรอดออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเช่นเดียวกับข้องข้างต้น
      • อาจเกิดจากเหตุที่ไม่ค่ะถึงซึ่งสามารถนับเป็นเหตุสำคัญได้อีกอย่างหนึ่งก็คือจากยาที่กินเข้าไปด้วยวัตถุประสงค์รักษาโรคใดโรคหนึ่งแต่ยานั้นกลับมีพิษหรือมีผลข้างเคียงทำให้โพรแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น เช่น
        • กลุ่มยา aminocaproic acid (ใช้ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด)
        • กลุ่มยา antibiotics (ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรคทั้งหลาย)
        • กลุ่มยา antineoplastic drugs (ใช้รักษาโรคมะเร็ง)
        • กลุ่มยา captropil (รักษาโรคความดันเลือดสูง)
        • กลุ่มยา heparin (ใช้ช่วยให้เลื่อนมีความใส)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Variability of Potassium Blood Testing: Imprecise Nature of Blood Testing or Normal Physiologic Changes?. Mayo Clinic Proceedings. (https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(18)30227-1/fulltext)
Potassium test. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/potassium-test/)
Potassium Test: Purpose, Procedure, and Results. Healthline. (https://www.healthline.com/health/potassium-test)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม
โพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม ประโยชน์ของแร่ธาตุเหล่านี้ต่อร่างกายคุณและโรคที่เกิดขึ้นหากคุณขาดแร่ธาตุเหล่านี้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม