คุณควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คุณควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมหรือไม่?

คำถาม : ฉันเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีเพื่อนแนะนำให้ฉันรับประทานโพแทสเซียมเสริม มันดีหรือไม่? ถ้าดีฉันควรรับประทานในขนาดเท่าไหร่?

คำตอบ : คุณไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมยกเว้นแพทย์สั่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประการแรกก็คือ คุณสามารถได้รับโพแทสเซียมอย่างง่ายๆ จากการรับประทานอาหาร มีผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงหลายชนิดเช่นผักโขม, มันหวาน, แคนตาลูป, กล้วย และอะโวคาโด

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงนั้นจะช่วยควบคุมความดันโลหิตและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน แต่อาหารดังกล่าวนั้นมักจะมีโซเดียมต่ำและมีแร่ธาตุสารอาหารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมด้วยซึ่งอาจเป็นผลทำให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้

ยาลดความดันส่วนมากนั้นเป็นยาขับปัสสาวะซึ่งมักจะทำให้โพแทสเซียมต่ำ ในขณะที่ยาลดความดันในกลุ่ม ACE inhibitors เช่น lisinopril หรือ ramipril หรือยาแก้ปวดเช่น ibuprofen หรือ naproxen นั้นกลับเพิ่มระดับโพแทสเซียม

การทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดของคุณอยู่ในระดับที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากโพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อซึ่งรวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ไตจะทำหน้าที่ควบคุมระดับโพแทสเซียมในเลือด แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น หรือเป็นโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ หรือโรคอื่นๆ อาจทำให้การทำงานของไตแย่ลง และทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูงได้ซึ่งอาจทำให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและเสียชีวิตได้

ดังนั้นยาที่เป็นโพแทสเซียมเสริมนั้นจึงมีขายในขนาดที่ต่ำหรือคิดเป็นเพียง 2% ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน

หากคุณรับประทานยาขับปัสสาวะที่ทำให้โพแทสเซียมต่ำเช่น hydrochlorothiazide หรือ furosemide แพทย์อาจสั่งยาเม็ดโพแทสเซียมให้เพื่อช่วยทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดนั้นสมดุล หากคุณรับประทานทั้งยาขับปัสสาวะและยากลุ่ม ACE inhibitor ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเจาะตรวจระดับโพแทสเซียมในเลือดและการทำงานของไตเป็นระยะเพื่อความปลอดภัย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Potassium Supplement: Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/potassium/supplements-vitamins.htm)
Potassium Supplement (Oral Route, Parenteral Route) Proper Use. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/potassium-supplement-oral-route-parenteral-route/proper-use/drg-20070753?p=1)
How Much Potassium Do You Need Per Day?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/how-much-potassium-per-day)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป