โรคความดันโลหิตสูงสามารถเกิดกับคนได้ทุกเพศทุกวัย หากมีพฤติกรรมการกินแบบไม่ห่วงใยต่อสุขภาพ และเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็จะเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมาด้วยเสมอ ซึ่งอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน ก็สามารถที่จะช่วยลดความดันได้ โดยต้องประกอบไปด้วยแร่ธาตุจำเป็น 3 ชนิด คือ โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งจะมีอยู่ในอาหารดังต่อไปนี้
1. ถั่วขาว
ในเมล็ดถั่วขาวจะมีแร่ธาตุแมกนีเซียมสูงถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว แต่หากจะกินถั่วขาวบรรจุกระป๋องควรระวังเรื่องปริมาณโซเดียมด้วย ทางที่ดีควรตักเนื้อถั่วขาวแยกออกมาจากน้ำ ทิ้งไว้ข้ามคืนก่อนนำมาปรุงอาหารก็จะดี
2. เนื้อสันใน
ควรเลือกทานตรงส่วนที่ไม่ติดมัน เพราะเนื้อในส่วนนี้จะอุดมไปด้วยโพแทสเซียมร้อยละ 15 และยังมีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าเนื้อส่วนที่ติดมัน แต่ควรกินไม่ให้เกิน 70 กรัมต่อวัน หรือ 5-6 ชิ้นแบบพอดีคำ ถึงจะดีต่อสุขภาพ
3. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ
โยเกิร์ตจะอุดมด้วยแมกนีเซียมร้อยละ 12 โพแทสเซียมร้อยละ 18 และยังมีแคลเซียมสูงถึงร้อยละ 49 ในขณะเดียวกันก็จะได้รับน้ำตาลที่มาจากส่วนประกอบอื่น ๆ ในโยเกิร์ตด้วย เช่น ชิ้นเนื้อผลไม้ รสปรุงแต่ง ทางที่ดีควรเลือกทานโยเกิร์ตรสธรรมชาติจะดีกว่า
4. ปลานิล
ในเนื้อปลาเนื้อขาวส่วนใหญ่จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุแมกนีเซียม และโพแทสเซียม ร้อยละ 8 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ปลานิลจึงมีประโยชน์ต่อคนที่เป็นความดันโลหิต แต่ควรระวัง ก่อนนำปลานิลมาปรุงอาหารควรทำความสะอาดให้ดีเสียก่อน เพราะในเนื้อปลาอาจมีสารพิษตกค้าง เช่น สารปรอท และ สารสังเคราะห์โพลีคลอริเนตไบฟีนิล ซึ่งเป็นสารที่อันตรายต่อ ตับ ผิวหนัง และทางเดินอาหาร เป็นต้น
5. กล้วย
กล้วยอุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมมากถึงร้อยละ 12 และมีคุณสมบัติกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารเซโรโทนิน จึงรู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ทันตา
6. ผักคะน้า
ผักคะน้าอุดมด้วยวิตามินซีสูง เมื่อปรุงสุกแล้วจะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมกับแคลเซียมมากถึงร้อยละ 9 อีกทั้งมีกรดอัลฟาไลโปอิกที่จะทำงานร่วมกับวิตามินซี สามารถจับสารอนุมูลอิสระในร่างกาย และเพิ่มการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานปกติ
7. พริกหยวกแดง
พริกหยวกแดง หรือพริกหวานจะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมร้อยละ 9 ที่จะช่วยปรับสมดุลความดันเลือดให้เป็นปกติ แต่ห้ามเก็บพริกหยวกแดงไว้ในตู้เย็นนานเกิน 10 วัน เพราะจะสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการได้
8. มันเทศ
ในเปลือกของมันเทศแทบทุกสายพันธุ์จะอุดมไปด้วยโพแทสเซียมถึงร้อยละ 15 แต่หากบริโภคแบบปอกเปลือกจะได้ประโยชน์จากโพแทสเซียมในเนื้อมันเทศร้อยละ 10 อีกทั้งยังได้คาร์โบไฮเดรต ทำให้อิ่มท้อง ร่างกายนำไปเผาผลาญเป็นพลังงานได้ อีกด้วยด้วย
9. อะโวคาโด
อะโวคาโดจะเป็นผลไม้ที่มีกรดไขมันชนิดดี (HDL) สามารถช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในกระแสเลือดได้ โดยเฉพาะไขมันเลวชนิดอย่างคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ และนอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมถึงร้อยละ 10 ที่จะช่วยคงสมดุลของระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติได้
10. บรอกโคลี
บรอกโคลีเป็นผักในตระกูลกะหล่ำมากไปด้วยคุณประโยชน์ทางโภชนาการ เพราะในบรอกโคลีเพียงหัวเล็ก ๆ ก็อุดมด้วยโพแทสเซียมถึงร้อยละ 14 ที่จะสามารถช่วยปรับสมดุลระดับความดันเลือดให้เป็นปกติได้
การรักษาสมดุลให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกตินั้นไม่ยากเลย สำคัญควรระวังเรื่องอาหารเท่านั้น โดยเฉพาะอาหารมัน เค็มจัด และหวานจัด เพราะอาหารสามสิ่งนี้เป็นตัวร้ายที่ทำให้ระดับความดันโลหิตผิดปกติได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว มื้อต่อไปก็ควรเลือกอาหารตามข้างต้นก็จะช่วยได้มากเลยทีเดียว