มารู้จักกับ Electrolytes และ Na จากการตรวจแร่ธาตุและสารละลายกันเถอะ !

เผยแพร่ครั้งแรก 18 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
มารู้จักกับ Electrolytes และ Na จากการตรวจแร่ธาตุและสารละลายกันเถอะ !

Electrolytes

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่า “สารละลายสื่อนำไฟฟ้า” (Electrolytes) ชนิดต่างๆในเลือดว่ามีค่าอยู่ในสภาวะสมดุลย์หรือไม่หรือเพื่อจะทราบว่าค่าแร่ธาตุใดมีปริมาณสูง / ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติไปมากน้อยเพียงใดเนื่องจากความผิดปกติของแร่ธาตุตัวใดใดนั้นอาจบ่งชี้ถึงความไม่เป็นปกติภายในร่างกายของผู้รับการตรวจเลือดได้

คำอธิบายอย่างสรุป

1. Electrolytes หรือสารละลายของถ้าระดับโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าคือ แร่ธาตุอันเป็นสารเคมีที่แตกตัวออกจนเป็นส่วนย่อยเล็กที่สุด (ระดับไออ้อน) ละลายอยู่ในเลือดภายในร่างกายด้วยจำนวนอันน้อยนิดแต่เพียงพอที่จะทำให้เกิดสภาวะสมดุลระหว่างและเเร่ธาตุที่ละลายอยู่ด้วยกัน
2. แร่ธาตุซึ่งเป็น electrolytes หรืออยู่ในของเหลวภายในร่างกายนั้นมีมากมายหลายชนิดแต่เฉพาะตัวที่สำคัญและมีบทบาทต่อร่างกายมากที่สุด ได้เเก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Na คือ ธาตุโซเดียม
  • K คือ ธาตุโพแทสเซียม
  • Cl คือ สารคลอไรด์ จากธาตุคลอรีน (Cl2)
  • CO2 หรือ CO2 คือ สารประกอบคาร์บอนไดออกไซด์

3. แร่ธาตุหรือสารเคมีชนิดต่างๆในตามปกติจะมีหน้าที่โดยทั่วไปใน electrolytes การช่วยร่างกายให้ดำรงค์ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในภาพรวมใคร่ขอสรุปเฉพาะบทบาทที่สำคัญดังนี้

  • ช่วยสร้างศักย์ไฟฟ้า (generate electricity) เพียงพอที่จะให้ถ้าแต่ละตัวแสดงค่าประจุไฟฟ้าเป็นบวกหรือลบกล่าวคือไอออน (+) เรียกว่า แคทไอออน (cation) เช่นโพแทสเซียมไออน (-) เรียกว่าแอนไอออน (anion) เช่น คลอไรด์
  • ช่วยควบคุมการยึด-หดของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยอำนวยให้เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำและของเหลวในร่างกายเพื่อสร้างสภาวะสมดุล
  • ช่วยส่งเสริมปฏิกิริยาชีวเคมีทั้งหลายให้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น

4. ควบคุมความเข้มข้นหรือควบคุมค่าปกติของแร่ธาตุใน electrolyte ผ่านทางฮอร์โมนจากแหล่งผลิตต่างกัน เช่น
ฮอร์โมนเรนิน (renin) ผลิตจากไต
ฮอร์โมนแองจิโอเทนซิน (angiotensin) สร้างขึ้นโดยอิทธิพลของปอด สมองและหัวใจ
ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) ผลิตจากต่อมอะดรินัล
ฮอร์โมนแอนตี้ไดอูเรติค (antidiuretic hormone) ผลิตจากต่อมพิตูอิทารีในสมอง
ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นต้องไปจำชื่อข้อมูลเหล่านี้แต่ที่ผมนำมาแสดงไว้ก็เพียงเพื่อจะให้ท่านเห็นภาพกว้างกว้างของกลไกในร่างกาย ในแบบที่เรามักเรียกกันคุณปากในระบบควบคุมองค์กรใดใดในปัจจุบันว่า "check and balance" กล่าวคืออวัยวะต่างๆจะทำหน้าที่เป็นตัวเฝ้าระวังหากพบว่าแร่ธาตุตัวได้มีความเข้มข้นมาก / น้อยเกินไปจนอาจนำไปสู่อันตรายก็จะผลิตและปล่อยฮอร์โมนที่กล่าวมาแล้วชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาแก้ไข
5. แร่ธาตุหรือสารประกอบละลายในของเหลวของร่างกายทั้ง 4 ตัวคือ1) โซเดียม 2)โพแทสเซียม 3) คลอไรด์ 4) คาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกฮอร์โมนอะไรแก้ไขอย่างไรและเพื่อวัตถุประสงค์อะไร

ท่านผู้อ่านกำลังจะได้ รับทราบในหัวข้อลำดับถัดไป

Na

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่า "โซเดียม" (Sodium) สัญลักษณ์ทางเคมีคือ Na ซึ่งมีละลายอยู่ในน้ำเลือดในฐานะ Electrolyte มีปริมาณอยู่ในระดับเท่าใดสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้อยเพียงใด
ค่าใดใดที่ผิดปกติในทางมากไม่ว่าสูงมากเกินไปหรือต่ำมากเกินไปล้วนอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้
โซเดียมที่ร่างกายมนุษย์เกี่ยวข้องมากที่สุดก็คือโซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride, NaCl) ก็คือเกลือธรรมดาๆ นี่เอง\

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. โซเดียมเป็นถ้าที่นับว่าอยู่ในสารละลายซึ่งแสดงประจุไฟฟ้าเป็นบวก (cation) โดยมีปริมาณส่วนใหญ่อยู่ภายนอกเซลล์ด้วยความเข้มข้นประมาณ 140 mEq/L
    ด้วยขนาดความเข้มคนดังกล่าวโซเดียมจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาความดันออสโมติก (osmotic pressure) สำหรับของเหลวหรือน้ำ (เลือด) ภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงขณะเดียวกันก็สร้างแรงดันภายในหลอดเลือดทำให้สามารถวัดความดันเลือดได้
  2.  มีหลักการที่ควรจำไว้อย่างหนึ่งว่า "ในร่างกายมนุษย์นั้นถ้ามีโซเดียมอยู่ ณ บริเวณที่ใดมากเท่าใดก็จะต้องมีน้ำไป 'หล่อ' ณ บริเวณที่นั้นมากเท่านั้น" ด้วยเสมอไป (ในทำนองปกป้องเนื้อเยื่อจากความเค็ม)
    คำว่า"หล่อ" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นความงามแต่หมายถึงเอาน้ำไปช่วยเสมือนหล่อเลี้ยงให้เกิดสภาวะเจือจาง
    โดยเหตุนี้จึงอาจสรุปเป็นหลักการทั่วไปว่าโซเดียมมีบทบาทช่วยการแจกจ่ายน้ำหรือรักษาน้ำในร่างกายให้มีไว้แต่หามีโซเดียมมากเกินไปก็จะเกิดสภาวะบวมน้ำ (retention of sodium leads to edema) หรืออุ้มน้ำ เช่นในกรณีกินเกลือหรืออาหารเค็มมากเกินไปหรือในกรณีเกิดสภาวะไตเสื่อมไม่อาจขับโซเดียมออกทางน้ำปัสสาวะได้ตามที่เคยกระทำได้ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากกรณีใดโซเดียมก็ย่อมจะล้นเกินหล่นลงมา กองจนเข้มข้นอยู่บริเวณขาหรือเท้าทำให้ต้องมีน้ำมาหลอดโซเดียมเหล่านี้จนอาจเห็นได้จากภายนอกโดยง่ายว่ามีอาการบวมที่ขาและหลังเท้า
    ท่านผู้อ่านคงจะเคยเห็นแพทย์ท่านตรวจผู้ป่วยด้วยวิธีการใช้นิ้วมือกดบริเวณผิวหนังที่ขาหรือหลังเท้าเมื่อท่านปล่อยมือแล้วยังเห็นรอยบุ๋มอยู่อีกครูหนึ่งกว่าจะหายก็แสดงว่าใช่เลยนั่นคืออาการบวมน้ำจากโซเดียมในร่างกายมากล้นเกิน
    จึงต้องรีบเจาะเลือดหาค่าโซเดียมในเลือดเพื่อพิสูจน์ทราบกันต่อไป
  3. โดยธรรมดาโซเดียมในร่างกายจะมีปริมาณเข้มข้นพอดีพอดีหรืออยู่ในสภาวะสมดุลย์เสมอด้วยกระบวนการ
    โซเดียมได้จากอาหาร = โซเดียมพี่ไปขับทิ้ง (ทางน้ำปัสสาวะ)
    ในกรณีกินอาหารจืดเกินไปจนโซเดียมอาจไม่พอเพียงในเลือดร่างกายก็จะมีกลไกสั่งให้ไปทำการดูดซึมกลับโซเดียมโดยไม่ยอมปล่อยให้ทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะอย่างที่เคยทำ
    ในกรณีกินอาหารเค็มมากเกินไป (ประเภทเสพติดน้ำปลาพริกขี้หนู) ร่างกายก็จะสั่ง ให้ไปรีบเร่งรัดปล่อยทิ้งโซเดียมออกตามหน้าที่อย่างหนักหน่วงวันละ 3 เวลาหลังอาหาร 365 วันต่อปีผ่านมาแล้วกี่ปีก็ดูได้จากตัวเลขอายุตามวัยของตนก็น่าจินตนาการต่อไปเองเถิดว่าไปของท่านที่ชอบกินอาหารเค็มจะทำงานหนักแค่ไหน
    นี่คือสาเหตุหนึ่งของไตพังหรือโรคไตวาย
  4. นอกจากร่างกายจะสูญเสียโซเดียมทางน้ำปัสสาวะแล้วยังอาจสูญเสียได้อีกทางหนึ่งคือเหงื่อแต่ด้วยปริมาณไม่มาก
    ขณะเมื่อมีการออกแรง (เพราะทำงานหรือเพราะออกกำลังกายก็ตาม) จนเกิดมีเหงื่อที่พาโซเดียมออกทิ้งผลร่างกายทางผิวหนังขนาดนั้นร่างกายก็จะมีฮอร์โมนตัวหนึ่งชื่อ "แอลโดสเตอโร" (Aldosterone) ซึ่งผลิตโดยต่อมหมวกตายที่คอยเฝ้าระวังหากพบว่าโซเดียมในเลือดชักจะลดระดับต่ำกว่าปกติ มันก็จะไปสั่งให้ไปทำการดูดซึมกลับ (reabsorb) โซเดียมมีให้ปล่อยทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะเพื่อรักษาระดับโซเดียมในเลือดเอาไว้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา
    ท่านผู้ใดที่เคยเติมเกลือป่นลงในน้ำดื่มภายหลังการออกกำลังกายก็ได้โปรดวินิจฉัยตนเองด้วยว่าสมควรจะทำต่อไปหรือไม่
  5. ในร่างกายของคนที่มีไปเป็นปกติดีไปจะมีความสามารถขับโซเดียมออกทิ้งทั้งน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 450-500 mEq ต่อวัน
    แปลว่าถ้ากินอาหารไม่เค็มจัดจนเกินไปก็จะมีสุขภาพด้านโซเดียมซึ่งละลายในเลือดไม่เดือดร้อนอะไรนัก
    เนื่องจากโซเดียม (Na) 500 mEq ที่ร่างกายมนุษย์ปกติสามารถขับทิ้งต่อวันนั้นโดยอาศัยตัวเลขความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงค่ะจะคำนวณได้เป็นโซเดียม = 500 x 23 = 11,500 mg. หรือเป็นเกลือจำนวนมากกว่า 11 กรัมต่อวันซึ่งนับว่าไม่สูงน้อยจนไม่น่าเชื่อว่าจะมีใครกินเค็มมากขนาดนั้น
    แต่ในคนที่กินเค็มจนไปขับทิ้งโซเดียมไม่ทันหรือด้วยเหตุใดก็ตามที่ทำให้โซเดียมในเลือดมีระดับสูงมากๆสภาวะเช่นนั้นจะมีศัพท์แพทย์เรียกว่า แต่ในคนที่กินเค็มจนไปขับทิ้งโซเดียมไม่ทันหรือด้วยเหตุใดก็ตามที่ทำให้โซเดียมในเลือดมีระดับสูงมากๆสภาวะเช่นนั้นจะมีศัพท์แพทย์เรียกว่า"hypernatremia"
    ในทางกลับกันหากน้ำเลือดมีระดับโซเดียมต่ำเกินไปก็จะถูกเรียกว่า "hyponatremia"
  6. คนที่มีสภาวะ hypernatremia หรืออยู่ในสภาวะมีเกลือหรือมีโซเดียมละลายอยู่ในน้ำเลือดระดับสูงนั้นแม้ยังไม่ทันจะได้เจาะเลือดตรวจก็อาจเห็นอาการได้อย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจเกิดอาการเหล่านี้พร้อมกันเช่น
    • คอแห้ง (dry mucous membranes)
    • กระหายน้ำ
    • กระสับกระส่าย ความดันเลือดสูง
    • ไม่อยู่นิ่ง
    • ปวดศีรษะ
    • ฉุนเฉียว
    • ชอบก่อกวน (mania)
    • กล้ามเนื้อหดเกร็งอาจเกิดการชักกระตุก (convulsions)
  7. คนที่มีสภาวะ hyponatremia หรือมีเกลือต่ำหรือมีโซเดียมในเลือดต่ำมากๆอาจเกิดอาการ ดังนี้
    • รู้สึกอ่อนเปลี้ย ผิดปกติ
    • ความคิดสับสน
    • แสดงความเฉื่อยชา
    • อาการคล้ายคนสลบ (stupor)
    • หมดสติ (coma)

ค่าปกติของโซเดียม (Na)

1. ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)

2. ค่าปกติทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ใหญ่ / ผู้สูงอายุ Na : 136 - 145 mEq/L

ค่าวิกฤต Na : <120 หรือ >160 mEq/L

หมายเหตุสูตรการแปลงค่า

Na : 1 mEq/L = 23 mg/L

ค่าผิดปกติ

1. ในทางน้อย (hyponatremia) อาจแสดงผลว่า

  • อาจกินโซเดียมหรือกินอาหารเค็มน้อยเกินไปซึ่งตามปกติมักเกิดในกรณีนี้ได้น้อยมาก
  • อาจเกิดโรค Addison's disease มีต้นเหตุจากต่อมหมวกไตไปผลิตฮอร์โมน "aldosterone" และฮอร์โมน "corticosteroid" ไม่เพียงพอก็จะมีผลต่อมาทำให้ไปดูดกลับโซเดียมได้ไม่เต็มที่จนทำให้โซเดียมสูญเสียไปกับน้ำปัสสาวะทำให้ปรากฏพบค่าโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
  • อาจเกิด จากอาการอาเจียนหรือท้องร่วงติดต่อกันนานทำให้โซเดียมสูญเสียไปกับของเหลว
  • อาจเกิดจากการกินยาขับปัสสาวะ (ยาเพื่อลดความดันสูง)
  • อาจมีเหตุสำคัญหรือโรคของไตเองที่ดูดกลับโซเดียมไม่ได้อย่างที่ควรกระทำ

2. ในทางมาก (hypernatremia) อาจแสดงผลว่า

  • ก. อาจกินโซเดียมหรือกินอาหารเค็มมากเกินไป
    โดยธรรมดาก็เรือหรือโซเดียมนั้นมักมีแทรกอยู่ในอาหารของทุกชาติทุกภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลพวงของวิธีเก็บถนอมอาหารของอาหารไทยในรูปของปลาเค็ม ปลาร้า ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง ปูเค็ม ต้มจับฉ่าย ไส้กรอก หมูยอ แหนม ต้มเค็ม หล่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ
    นอกจากนี้อาหารไทยยังมีการเติมผงชูรส กันอย่างพร่ำเพรื่อโดยผงชูรสนั้นมีชื่อในทางเคมีว่า "monosodium glutamate" (ใช้คำย่อว่า MSG) ซึ่งอาจจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีคำว่าโซเดียม ปรากฏอยู่โดยเหตุนี้การกินอาหารที่เติมผงชูรส ก็คือ การเพิ่มโซเดียมให้แก่ร่างกายโดยตรงนั่นเอง
  • อาจเกิดโรค "Cushing's syndrome" ที่สร้างสภาวะ"aldosterone-like effect" ที่เรียกว่าทำให้ไปดูดกลับโซเดียมคืนให้ร่างกายมากเกินไป
  • อาจเกิดการเสียน้ำผ่านช่องทางเดินอาหารเช่นท้องร่วงท้องเสียและเจ้าของร่างกายไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอโซเดียมในเลือดจึงเข้มข้นขึ้น
  • อาจเกิดการสูญเสียเหงื่อ มากเกินไปแม้ว่าโซเดียมสัตว์พลอยพลร่างกายออกมาพร้อมกับเหงื่อบ้างแต่สัดส่วนของน้ำอิสระที่เรียกว่ามักจะสูญเสียออกไปด้วย มากกว่าโดยเหตุนี้หาไม่ได้ดื่มน้ำให้เพียงพอก็ย่อมจะทำให้โซเดียมในเลือดมีความเข้มข้นสูงมากขึ้น

เมื่อทราบข้อมูลอันเป็นความจริงอย่างนี้เชื่อว่าน่าจะช่วยให้ผัวกำลังกายทั้งหลายยุติการเติมเกลือป่นให้ร่างกายเนื่องจากในเวลานั้นร่างกายต้องการน้ำบริสุทธิ์ไม่ใช่โซเดียม

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Electrolytes: Uses, imbalance, and supplementation. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/153188)
Laboratory Procedure Manual. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://wwwn.cdc.gov/nchs/data/nhanes/2013-2014/labmethods/URLT_H_R_MET_Electrolytes.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป