คำแนะนำเพิ่มเติม

เผยแพร่ครั้งแรก 16 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คำแนะนำเพิ่มเติม

เมนูอาหารสำหรับคนที่มีภาวะไตวาย โดยสรุป มีสิ่งที่ต้องยืดเป็นหลักไว้ คือ

  • ควรทานอาหารใหม่ สด ปรุงใหม่ๆ รสจืด อ่อนเค็ม ไม่จัดจ้าน ถ้าทำได้มื้อต่อมื้อจะดีมาก กลิ่นและรสชาติหลังทำใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยทานได้ง่ายขึ้น
  • เลี่ยงอาหารที่เก็บไว้นาน ตกค้างหลายมื้อ เพราะไม่อร่อย ทำให้ผู้ป่วยทานได้น้อย อีกทั้งคุณค่าอาหารจะลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการบูดและอาจมีท็อกซินของเชื้อในอาหาร
  • เลี่ยงอาหารผ่านกรรมวิธีที่ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นาน เพราะคุณค่าน้อยกว่า และมักจะมีเครื่องปรุงรสอยู่มาก รวมทั้งสารกันบูด เป็นต้น
  • จำกัดเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น เกลือ กะปิ ซีอิ๋วขาว ไตปลา โชยุ ผงปรุงรส ซุปก้อน รวมทั้งงดผงชูรส (เพราะมีโซเดียม) งดอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหย็อง หมูแผ่น เพราะมีเกลือสูง แล้วยังมีคอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งโพแทสเซียมสูงด้วย
  • งดอาหารสำเร็จรูปทุกประเภท เช่น บะหมี่ โจ๊ก มีโซเดียมสูง ขนมกรุบกรอบจะมีไขมันหรือเนยเทียมและรสเค็มจัด
  • จำกัดน้ำตาล จำกัดและเลือกไขมันที่ดี จำกัดโปรตีน (แหล่งโปรตีนชั้นดีของโรคไต คือ ไข่ และ ปลา) ระวังฟอสเฟต โพแทสเซียมในอาหาร ตามที่กล่าวมา
  • โรคไตระยะสุดท้าย ต้องเลี่ยง และลดสัตว์เนื้อแดง ถั่ว (และผลิตภัณฑ์ เช่น เต้าหู้) ธัญพืช เช่น ลูกเดือย เพราะจะทำให้ค่าฟอสเฟตสูงเกินปกติมาก จนอาจทำให้พาราไทรอยด์สูงผิดปกติไปด้วย

ตัวอย่างอาหารผู้ป่วยเบาหวานลงไต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มื้อเช้า

  • น้ำเต้าหู้หวานไม่มาก ½ แก้วกาแฟ และขนมปังทาน้ำผึ้ง 1 แผ่น ไข่ดาว (ปริมาณไข่ขาว ไข่แดงตามกำหนด) และสลัดผักน้ำใส
  • หรือโยเกิรต์ไขมันต่ำ ½ ถ้วยเล็ก และข้าวต้มปลาไก่ หรือกุ้ง 1 ถ้วย และผลไม้ 1 จานเล็ก
  • ข้าวอบเผือกสาหร่าย และแซนด์วิซไส้ผัก 1 ชิ้น

มื้อกลางวัน

  • ข้าวสวย 1 ทัพพี และส้มตำรสไม่จัด และไก่บ้านย่าง ไม่ติดหนัง
  • ขนมจีน 1-2 จับ น้ำยาป่า ทานกับผัก และผลไม้ 1 จานเล็ก เช่น ชมพู่ ส้มโอ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน แอปเปิล แตงโม มะละกอ ตามฤดูกาล
  • เส้นใหญ่ราดหน้าคะน้าหมู สูตรไม่เค็ม

มื้อเย็น

  • ข้าวสวย 1 ทัพพี และแกงส้ม หรือแกงเลียง หรือแกงป่า
  • หรือข้าวสวย 1 ทัพพี ปลาทอด และเกาเหลาผัก 1 ถ้วย (น้ำน้อย)

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diet - chronic kidney disease. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/002442.htm)
Eating Right for Chronic Kidney Disease. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). (https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/eating-nutrition)
Kidney Disease Diet: Foods for Healthy Kidneys & Foods to Avoid. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/diet-and-chronic-kidney-disease#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม
โพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม ประโยชน์ของแร่ธาตุเหล่านี้ต่อร่างกายคุณและโรคที่เกิดขึ้นหากคุณขาดแร่ธาตุเหล่านี้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม