การตรวจสอบร่างกายหลังคลอดลูก
คุณควรตรวจร่างกายหลังจากคลอดลูกประมาณ 6 สัปดาห์เพื่อให้มั่นใจว่าคุณสบายดีและร่างกายฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แพทย์ผ่าตัดบางคนก็อาจไม่ได้เสนอให้คุณตรวจร่างกายหลังคลอด แต่คุณสามารถนัดแพทย์ได้เสมอโดยเฉพาะถ้าคุณกังวลเรื่องใดๆ ก็ตาม ซึ่งคุณอาจร่างคำถามใส่กระดาษและพกติดตัวไปด้วย
อย่างไรก็ตาม แนวทางเกี่ยวกับการตรวจร่างกายของคุณแม่หลังคลอดอาจไม่ชัดเจนเท่ากับทารกที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์อาจนัดตรวจร่างกายของคุณและทารกพร้อมกัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตรวจร่างกาย
สิ่งที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้เป็นสิ่งที่แพทย์มักทำ แต่ก็สามารถแตกต่างจากนี้
- แพทย์อาจถามว่าคุณรู้สึกอย่างไร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพจิตและสุขภาพโดยรวม
- แพทย์อาจถามว่าคุณยังเจอปัญหาตกขาว หรือประจำเดือนมาตามปกติหลังจากที่คลอดลูกหรือไม่
- แพทย์อาจตรวจระดับของความดันโลหิตหากคุณมีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์หรือทันทีหลังจากที่คุณคลอดลูก
- ในกรณีที่คุณเลือกวิธีผ่าคลอด แพทย์อาจตรวจรอยเย็บว่าหายดีแล้วหรือไม่
- หากครบกำหนดที่คุณต้องตรวจปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ กำหนดการควรจะถูกเลื่อนไป 12 สัปดาห์หลังจากที่คุณคลอดลูก
- แพทย์อาจถามเกี่ยวกับการคุมกำเนิด
- หากคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกาย 30 หรือมากกว่านี้ คุณอาจต้องชั่งน้ำหนัก อย่างไรก็ดี แพทย์ควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก และคำแนะนำเกี่ยวกับการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย
สิ่งที่คุณควรแจ้งแพทย์
คุณควรแจ้งแพทย์หากคุณมีอาการดังนี้
- รู้สึกเศร้าหรือวิตกกังวล: การดูแลทารกสามารถทำให้คุณรู้สึกท่วมท้น ดังนั้นคุณไม่ควรเผชิญกับความลำบากเพียงลำพัง การที่คุณมีความรู้สึกดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นแม่ที่แย่ คุณจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ เพราะคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งแพทย์สามารถช่วยคุณได้
- คุณมีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะหรือการผายลม หรือมีอุจจาระเล็ด
- รู้สึกเจ็บในขณะที่มีเพศสัมพันธ์
- คุณไม่แน่ใจว่าฉีดวัคซีนโรคคางทูมครบสองโดสแล้วหรือยัง หากคุณยังไม่ได้รับวัคซีน พยาบาลก็อาจฉีดยาให้คุณ โดยเว้นช่วงอย่างน้อย 1 เดือนหลังจากที่ฉีดครั้งแรก อย่างไรก็ดี ให้คุณคุมกำเนิดเป็นเวลา 1 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม
ร่างกายของคุณหลังจากคลอดลูก
การมีลูกสามารถทำให้ร่างกายของคุณเปลี่ยนไป บางอวัยวะอาจไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงในบางส่วนก็อาจไม่ได้เกิดขึ้นถาวร อย่างไรก็ตาม คุณสามารถทำให้หน้าท้องกลับมากระชับโดยใช้วิธีออกกำลังกาย ทั้งนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์จะค่อยๆ ลดลงหากคุณทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกาย
อย่างไรก็ตาม ร่างกายของคุณอาจไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมในชั่วข้ามคืนเนื่องจากลูกของคุณอยู่ในท้องนานถึง 9 เดือน และกว่าที่คุณจะกลับมามีรูปร่างที่สมส่วนอีกครั้งก็อาจใช้เวลาอย่างน้อย 9 เดือน
ปัญหาทางร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์
ผู้หญิงบางคนอาจมีปัญหาทางร่างกายหลังจากคลอดลูก ซึ่งมันสามารถเชื่อมโยงกับการตั้งครรภ์หรือการคลอดลูก หรือการดูแลเด็กเล็ก เช่น การอุ้ม และการเอียงตัว อย่างไรก็ตาม มีบางปัญหาที่คุณสามารถช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น เช่น หากคุณประสบปัญหาปัสสาวะเล็ด หรือรู้สึกหน่วงบริเวณฝีเย็บ (บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและรูทวาร) คุณอาจต้องเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบๆ กระเพาะปัสสาวะ ช่องคลอด และรูทวารโดยออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
นอกจากนี้คุณสามารถบรรเทาอาการปวดหลังโดยออกกำลังกายและดูแลแผ่นหลัง คุณควรไปพบแพทย์หากมีบางสิ่งรบกวนการใช้ชีวิตของคุณ ซึ่งแพทย์อาจทำเรื่องส่งตัวให้แพทย์เฉพาะทางหากจำเป็น
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกตัว
การมีกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกจากกันในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์นับว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเราเรียกภาวะดังกล่าวว่า Diastasis Recti หรือ Divarication อย่างไรก็ดี ระยะห่างของกล้ามเนื้อที่แยกจากกันของผู้หญิงแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากการที่มดลูกที่กำลังขยายขนาดดันกล้ามเนื้อออกจากกัน ทำให้กล้ามเนื้อยาวขึ้นและอ่อนแอลง
ผู้หญิงส่วนมากไม่เจอปัญหาดังกล่าว แต่อาจสังเกตว่ามีปุ่มนูนเกิดขึ้นด้านล่างส่วนหน้าของท้อง และบริเวณด้านบนและด้านล่างของสะดือ หลังจากที่คุณคลอดลูก คุณสามารถตรวจสอบขนาดของการแยกตัวของกล้ามเนื้อโดยใช้วิธีง่ายๆ ดังนี้
- นอนหงายหลังโดยงอขาและวางเท้าราบกับพื้น
- ยกไหล่ขึ้นจากพื้นเล็กน้อยและมองไปยังหน้าท้อง จากนั้นให้ใช้ปลายนิ้วมือสัมผัสระหว่างมุมของกล้ามเนื้อ ด้านบนและด้านล่างสะดือ และสังเกตว่าคุณต้องใช้นิ้วกี่นิ้วในการวางบนช่องว่างระหว่างกล้ามเนื้อ
- ทำเช่นนี้เป็นประจำเพื่อตรวจสอบว่าช่องว่างระหว่างหน้าท้องค่อยๆ แคบลง
โดยมากแล้วช่องว่างระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องจะกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อทารกมีอายุ 8 สัปดาห์ หากอาการยังไม่ดีขึ้น กล้ามเนื้อก็อาจยาวและอ่อนแอ ซึ่งสามารถทำให้คุณเสี่ยงต่อการประสบปัญหาเกี่ยวกับแผ่นหลังมากขึ้น นอกจากนี้คุณอาจไปพบแพทย์ซึ่งเขาสามารถทำเรื่องส่งตัวให้นักกายภาพบำบัด และคุณอาจต้องออกกำลังกายบางประเภทเป็นพิเศษ
ในขณะที่การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นประจำก็สามารถช่วยลดช่องว่างระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องเช่นกัน นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องจัดท่าทางให้เหมาะสม
การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานช่วยให้กล้ามเนื้อรอบๆ กระเพาะปัสสาวะ ช่องคลอด และรูทวารแข็งแรงขึ้น ซึ่งสามารถช่วยหยุดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รักษาภาวะช่องคลอดหย่อน และทำให้เซ็กส์ดีขึ้นเช่นกัน
คุณสามารถออกกำลังกายด้วยวิธีนี้โดยนอนราบ นั่ง หรือยืน ซึ่งคุณสามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลาแม้ว่าคุณกำลังดูโทรทัศน์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ขมิบและคลายบริเวณรูทวารราวกับว่าคุณกำลังควบคุมการผายลม
- ขมิบรอบๆ ช่องคลอดและท่อปัสสาวะราวกับว่าคุณกำลังหยุดปัสสาวะ หรือให้คุณขมิบระหว่างที่กำลังมีเพศสัมพันธ์
- ผ่อนคลาย และพักสักครู่ จากนั้นให้ทำซ้ำอีกครั้งจนกว่าคุณรู้สึกว่ากล้ามเนื้ออ่อนล้า
- หลังจากพักไปชั่วครู่ ให้คุณขมิบตามที่เรากล่าวไปอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้คุณกลั้นการขมิบให้นานที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้แต่ไม่ให้มากกว่า 10 วินาที จากนั้นให้คุณผ่อนคลาย
อย่างไรก็ตาม คุณควรทำให้ลมหายใจเป็นปกติในขณะที่คุณออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าว และคุณต้องมั่นใจว่าตัวเองไม่ได้แขม่วท้องหรือขมิบบั้นท้าย ทั้งนี้ให้คุณออกกำลังกายแต่ละท่าซ้ำ 10 ครั้ง และทำวันละ 4-6 ครั้ง
ในอดีตผู้หญิงถูกสอนให้ฝึกขมิบในขณะที่ขับปัสสาวะ ซึ่งมันไม่ใช่หนทางการออกกำลังกายที่ดีที่สุดเพราะคุณอาจขับปัสสาวะออกมาไม่หมด แต่การนั่งบนโถส้วมเป็นวิธีที่ช่วยเตือนให้คุณฝึกขมิบที่ดี เพียงแต่คุณต้องมั่นใจว่าตัวเองขมิบหลังจากทำธุระแล้วเสร็จเท่านั้น
การออกกำลังกายโดยการแขม่วท้อง
การออกกำลังกายวิธีนี้สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรง โดยให้คุณทำดังนี้
- นอนตะแคงข้างโดยงอเข่าเล็กน้อย
- ปล่อยให้ท้องผ่อนคลายและสูดหายใจเข้าช้าๆ
- ขณะที่คุณหายใจออก ให้คุณแขม่วท้องส่วนล่างและทำให้รอบเอวแคบลง
- ทำค้างไว้และนับ 1 ถึง 10 โดยให้หายใจตามปกติ จากนั้นให้คลายท้องช้าๆ และทำซ้ำ 10 ครั้ง
วิธีช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
คำแนะนำในทางปฏิบัติเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้
- ขณะที่คุณให้นมลูก ให้คุณนั่งบริเวณที่มีพนักพิงและยืดตัวให้ตรงเสมอ แล้วให้คุณใช้หมอนใบเล็กหรือเบาะรองด้านหลังเอวเพื่อช่วยพยุงหลังส่วนล่าง และให้คุณวางขาบนพื้น
- งอเข่าหรือนั่งยองๆ เมื่อต้องทำงานที่ต้องย่อตัวให้เล็กลง เช่น อาบน้ำให้ลูก หรือหยิบของจากพื้น หลีกเลี่ยงการงอหลัง และให้ใช้หัวเข่าทำงานแทน
- เปลี่ยนผ้าอ้อมบนพื้นที่ยกสูง คุณสามารถงอเข่าบนพื้นถัดจากโซฟาหรือเตียงนอน และห้ามปล่อยให้เด็กอยู่บนพื้นที่ยกสูงเพียงลำพัง เพราะเขาอาจตกลงมาได้
- หากคุณต้องยกสิ่งของที่หนัก เช่น รถเข็นทารกหรือรถเข็นเด็กโต ให้คุณงอเข่า ยืดหลังตรง และถือสิ่งของชิดกับลำตัว ซึ่งกล้ามเนื้อต้นขาจะต้องทำงานเมื่อคุณยก นอกจากนี้ให้คุณแขม่วบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนลึกเมื่อคุณเตรียมยกสิ่งของ
- ยืดหลังตรงเมื่อคุณดันรถเข็นเด็ก หรือคุณจะอุ้มทารกโดยให้เขาอยู่ภายใน Sling ที่พอดีกับลำตัว
การมีอาการซึมเศร้า
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากคลอดลูก มีผู้หญิงหลายคนที่มักประสบภาวะที่เรียกว่า Baby Blues ทั้งนี้ผู้หญิงสามารถรู้สึกแย่หรือเศร้าในช่วงที่ควรจะมีความสุขกับลูก อย่างไรก็ดี ภาวะ Baby Blues อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและสารเคมีในร่างกายแบบฉับพลันที่เกิดขึ้นหลังจากคลอดลูก ตัวอย่างอาการ เช่น อารมณ์เสียและหงุดหงิด ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล โกรธง่าย เศร้า หรือวิตกกังวล อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติและมักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน
ฉันกำลังเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดหรือไม่?
การมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดสามารถทำให้คุณทุกข์ใจมาก ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าโรคซึมเศร้าหลังคลอดเกิดขึ้นกับผู้หญิง 1 ใน 10 และเพิ่มเป็น 4 ใน 10 ในคุณแม่ที่ยังเป็นวัยรุ่น
อย่างไรก็ดี มีผู้หญิงหลายคนที่เผชิญโรคร้ายแบบเงียบๆ โดยที่เพื่อน ญาติ และแพทย์ไม่รู้ว่าผู้ป่วยกำลังรู้สึกอย่างไร ทั้งนี้โรคซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดขึ้น 2-8 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในบางครั้งมันก็สามารถเกิดขึ้นนานถึง 1 ปีหลังจากที่ผู้หญิงคลอดลูก
หากคุณเพิ่งคลอดลูก การมีอาการเหนื่อย หงุดหงิด หรือไม่เจริญอาหารถือเป็นเรื่องปกติ แต่อาการเหล่านี้มักอยู่ในระดับเบาและไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด คุณอาจรู้สึกเศร้าและรู้สึกสิ้นหวังมากขึ้น การดูแลตัวเองหรือทารกอาจเป็นเรื่องที่หนักเกินไป สำหรับสัญญาณทางอารมณ์ของโรคซึมเศร้าหลังคลอดอาจประกอบไปด้วยการไม่สนใจทารก รู้สึกสิ้นหวัง ไม่สามารถหยุดร้องไห้ รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ไม่เพลิดเพลินกับสิ่งต่างๆ สูญเสียความจำหรือไม่มีสมาธิ หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับลูกมากเกินไป
สำหรับอาการอื่นๆ ของโรคซึมเศร้าหลังคลอด เช่น ตื่นตระหนก นอนไม่หลับ รู้สึกเหนื่อยมาก รู้สึกเจ็บและปวด รู้สึกไม่สบาย วิตกกังวล เบื่ออาหาร ฯลฯ
การขอความช่วยเหลือ
หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด คุณไม่ควรทุกข์ทรมานเพียงลำพัง ซึ่งมันไม่ได้เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณเป็นแม่ที่ไม่ดีหรือคุณไม่สามารถจัดการกับเรื่องต่างๆ ทั้งนี้โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นการเจ็บป่วยและคุณจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือเช่นเดียวกับที่คุณทำเมื่อคุณป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือขาหัก อย่างไรก็ดี นอกจากการไปพบแพทย์แล้ว คุณอาจพูดคุยกับคนที่คุณสามารถไว้ใจได้ เช่น คนรัก เพื่อน ฯลฯ
การรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอด
เราสามารถรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอดระดับเบาโดยใช้วิธีการให้คำปรึกษาซึ่งทำโดยแพทย์หรือจิตแพทย์ ในกรณีที่โรคมีความรุนแรง ผู้ป่วยจำเป็นต้องทานยารักษาโรคซึมเศร้า และอาจต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ในกรณีที่คุณเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด คุณจำเป็นต้องบอกให้แพทย์รู้ว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก หากคุณจำเป็นต้องทานยารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์อาจจ่ายยาชนิดที่เหมาะสำหรับใช้ในช่วงที่คุณให้นมลูก
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์อาจช่วยให้คุณผ่อนคลายและหายเครียด ความจริงแล้วมันมีฤทธิ์เป็นยากดประสาทที่ส่งผลต่ออารมณ์ การตัดสินใจ การควบคุมตัวเอง และการทำงานประสานกันของอวัยวะ ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายหากคุณรู้สึกเหนื่อยหรือสุขภาพทรุดโทรม ทั้งนี้ให้คุณระวังเกี่ยวกับเวลาและปริมาณที่คุณดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์หากคุณกำลังอยู่ในช่วงทานยารักษาโรคซึมเศร้าหรือยากล่อมประสาท
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
โรคจิตหลังคลอด หรือที่เรียกว่า Puerperal Psychosis เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย มีผู้หญิงเพียงแค่ 1 หรือ 2 ใน1000 คนที่ป่วยเป็นโรคทางจิตที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์หรือรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังจากคลอดลูก ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยคลอดลูกและเป็นโรคที่รุนแรงมาก ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด่วน
โดยทั่วแล้วคนอื่นสังเกตได้ว่าคุณแม่ที่เป็นโรคดังกล่าวมักทำตัวแปลกประหลาด และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากคุณป่วยเป็นโรคทางจิตระดับรุนแรง มีประวัติเคยเป็นโรคทางจิตระดับรุนแรงในอดีต หรือมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรค Perinatal mental illness อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงส่วนมากหายจากโรคนี้แต่อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
ภาวะผิดปกติทางจิตที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง (Postnatal post-traumatic stress disorder (PTSD))
ภาวะผิดปกติทางจิตที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงมักเป็นผลมาจากประสบการณ์คลอดลูกที่ไม่ดี เช่น ใช้เวลาคลอดลูกเป็นเวลานาน รู้สึกเจ็บปวดในขณะที่คลอดลูก หรือคลอดลูกแบบฉุกเฉินหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการคลอดลูก นอกจากนี้มันยังเกิดจากการเผชิญเหตุการณ์อื่นๆ ที่รุนแรง เช่น ความกลัวตาย การตายของทารก สถานการณ์ที่เป็นอันตรายหรือคุกคามชีวิต
อย่างไรก็ดี PTSD สามารถเกิดขึ้นเพียงลำพังหรือเกิดขึ้นนอกเหนือไปจากอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาการต่างๆ สามารถเกิดขึ้นทันทีหลังคลอดลูกหรือหลายเดือนหลังจากนั้น ทั้งนี้การพูดคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งแพทย์สามารถช่วยคุณได้ และมีวิธีรักษาที่มีประสิทธิผลหลายวิธี เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy (CBT)) และการทานยา
เซ็กส์และการคุมกำเนิด
ไม่มีกฎตายตัวเกี่ยวกับการเริ่มกลับมามีเซ็กส์อีกครั้งหลังจากที่คุณคลอดลูก ซึ่งคุณอาจรู้สึกเจ็บและเหนื่อยในช่วงเวลานี้ ดังนั้นคุณไม่ควรรีบร้อน หากการมีเซ็กส์ทำให้คุณรู้สึกเจ็บ มันก็จะทำให้กิจกรรมบนเตียงไม่น่ารื่นรมย์
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นหลังจากที่คุณคลอดลูกสามารถทำให้ช่องคลอดแห้งมากกว่าปกติ ดังนั้นคุณควรใช้สารหล่อลื่นซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยา ทั้งนี้ผู้หญิงอาจกังวลเกี่ยวกับร่างกายที่เปลี่ยนไปหรือการตั้งครรภ์อีกครั้ง ในขณะที่ผู้ชายอาจกังวลว่าตัวเองจะทำให้คนรักเจ็บ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักพักที่คุณทั้งคู่สามารถกลับมามีเซ็กส์ได้อีกครั้ง แต่กว่าที่จะถึงตอนนั้น คุณสามารถแสดงความรักและความใกล้ชิดโดยใช้วิธีอื่นๆ
หากคุณและคนรักมีเรื่องกังวลใดๆ ก็ตาม ให้คุณพยายามพูดคุยกัน หรือคุณอาจไปพบแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำต่างๆ
คำแนะนำเกี่ยวกับการกลับมามีเซ็กส์อีกครั้ง
- หากการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บ คุณอาจเริ่มรู้สึกว่าการมีเซ็กส์เป็นเรื่องน่ารำคาญหรือทำให้ไม่มีความสุข คุณสามารถมอบความสุขให้กันและกันโดยไม่ต้องให้ฝ่ายชายสอดใส่ เช่น การช่วยตัวเองโดยให้อีกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
- ให้คุณมีเซ็กส์อย่างนุ่มนวล ซึ่งคุณอาจใช้นิ้วมือของตัวเองสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้แน่ใจก่อนว่าตัวเองจะไม่รู้สึกเจ็บในขณะที่มีเซ็กส์ นอกจากนี้ให้คุณนำสารหล่อลื่นมาช่วยด้วยอีกแรง เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังคลอดลูกอาจทำให้ช่องคลอดมีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติน้อยกว่าปกติ
- หาเวลาผ่อนคลายร่วมกัน เพราะคุณมีแนวโน้มที่จะมีเซ็กส์หากอีกฝ่ายอยู่ในห้วงของความคิด
- หากคุณยังคงรู้สึกเจ็บเมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายหลังคลอดลูก ให้คุณปรึกษาแพทย์
การคุมกำเนิดหลังจากมีลูก
คุณสามารถตั้งครรภ์โดยใช้เวลาเพียงแค่ 3 สัปดาห์หลังจากคลอดลูกแม้ว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกและประจำเดือนยังไม่มา หากคุณยังไม่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกครั้ง คุณควรคุมกำเนิดทุกครั้งที่คุณมีเซ็กส์หลังจากคลอดลูก ซึ่งหมายความรวมถึงการกลับมามีเซ็กส์ครั้งแรก หากพบปัญหาใดๆ ก็ตาม ให้คุณปรึกษาแพทย์
การคุมกำเนิดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
คุณไม่มีแนวโน้มที่จะมีประจำเดือนหากคุณให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว และทารกมีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงบางคนจึงให้นมลูก ซึ่งถือเป็นวิธีคุมกำเนิดตามธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่า Lactational Amenorrhoea (LAM) อย่างไรก็ดี คุณควรเริ่มคุมกำเนิดโดยใช้วิธีอื่นๆ หาก
- ลูกของคุณมีอายุมากกว่า 6 เดือน
- คุณให้ลูกกินอย่างอื่นนอกเหนือจากนมแม่ เช่น จุกนมหลอก นมผง หรืออาหารแข็ง
- คุณกลับมามีประจำเดือนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการปั๊มนมสามารถช่วยคุมกำเนิด แต่มันอาจทำให้การคุมกำเนิดมีประสิทธิผลลดลง
การนอนและความเหนื่อยล้า
การดูแลทารกสามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกๆ หลังจากที่คุณคลอดลูก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกของคุณมีแนวโน้มที่จะตื่นนอนหลายครั้งตอนกลางคืน หากคุณกำลังรู้สึกแย่ อารมณ์ไม่ดี และไม่สามารถรับมือ หรือไม่เพลิดเพลินกับสิ่งต่างๆ คุณจำเป็นต้องหาเวลานอนให้มากขึ้น หรืออย่างน้อยให้คุณพักผ่อนมากขึ้น
คำแนะนำที่อาจช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- นอนเมื่อทารกนอน
คุณควรพยายามพักผ่อนเมื่อลูกนอนหลับ ซึ่งคุณอาจรู้สึกว่าช่วงเวลานี้เป็นนาทีทองสำหรับการทำงานบ้าน หรืองานอื่นๆ แต่บางครั้งการพักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า ทั้งนี้ให้คุณตั้งนาฬิกาปลุกหากคุณกังวลว่าตัวเองจะนอนนานเกินไป - เข้านอนเร็ว
หากเป็นไปได้ให้คุณพยายามเข้านอนเร็วๆ ในกรณีที่คุณนอนไม่หลับ ให้คุณทำบางสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอนครึ่งชั่วโมง เช่น แช่ตัวในอ่างน้ำร้อน - ขอความช่วยเหลือจากคนรัก
คุณอาจขอความช่วยเหลือจากคนรัก หากคุณให้ลูกกินนมผง คุณก็อาจให้สามีช่วยป้อนนมลูก หากคุณให้ลูกกินนมจากเต้า คุณอาจขอให้คนรักช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูกตอนเช้าเพื่อที่คุณสามารถกลับไปนอนต่อได้ เมื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น คุณอาจให้สามีช่วยป้อนนมลูกตอนกลางคืน ซึ่งเป็นนมที่คุณปั๊มเก็บไว้ - ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและญาติ
คุณอาจขอร้องให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนมาช่วยดูแลลูกในระหว่างที่คุณงีบหลับ หากคุณอยู่คนเดียว คุณอาจขอร้องให้ญาติที่สนิทอยู่กับคุณสัก 3-4 วันเพื่อที่คุณจะได้นอนมากขึ้น - ทำความเข้าใจรูปแบบการนอนของลูก
ช่วงที่ทารกตื่นนอนหลายครั้งต่อคืนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นตลอดไป เขาจะนอนได้นานขึ้นเมื่อเขาโตกว่านี้ - ออกกำลังกายให้มากขึ้น
เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย การออกกำลังกายอาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณคิดจะทำ แต่การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยให้คุณรู้สึกเหนื่อยน้อยลง ซึ่งการเดินถือเป็นหนึ่งในวิธีออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด คุณอาจไปเดินเล่นนอกบ้านทุกวันโดยพาลูกไปด้วย - ออกกำลังกายประเภทที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
การผ่อนคลายอย่างลึก (Deep Relaxation) เพียงแค่ 5-10 นาทีก็อาจช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นมากขึ้น คุณสามารถเรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายผ่านทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือ DVD อย่างไรก็ดี คุณสามารถเริ่มออกกำลังกายประเภทนี้โดยฝึกควบคุมลมหายใจซึ่งคุณสามารถทำได้ทุกที่ - อย่าปล่อยให้ความเครียดครอบงำ
บางครั้งคุณสามารถรู้สึกเหนื่อยเพราะว่าคุณเครียด ดังนั้นคุณควรหาวิธีจัดการกับความเครียดเพื่อที่คุณจะได้รู้สึกเหนื่อยน้อยลง
ระวังอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด
หากคุณไม่สามารถนอนตอนกลางคืนแม้ว่าลูกของคุณนอนหลับหรือคุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา อาการเหล่านี้สามารถเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอด สำหรับอาการอื่นๆ เช่น รู้สึกแย่หรือสิ้นหวัง ไม่เพลิดเพลินกับสิ่งที่ปกติคุณรู้สึกว่าสนุก ในกรณีที่คุณคิดว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า คุณควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อที่คุณจะได้หายจากโรคได้อย่างรวดเร็ว
การรับมือกับความเครียด
การจัดการกับความต้องการของทารกและทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวของคุณสามารถทำให้คุณรู้สึกเครียด เมื่อคุณกำลังเริ่มทำบางสิ่ง ลูกของคุณก็อาจตื่นนอน ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือต้องการความสนใจจากคุณเล็กน้อย
ในบางครั้งคุณสามารถรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถควบคุมชีวิตได้ หากคุณเป็นคนประเภททที่ชอบควบคุมและกังวลเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ ให้เสร็จ การเลี้ยงลูกก็สามารถทำให้คุณรู้สึกเครียดมากและท้อแท้ ทั้งนี้ความกังวลและความทุกข์ใจก็สามารถทำให้คุณเครียด บางทีคุณอาจกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เงิน หรือความสัมพันธ์ หรือคุณอาจกังวลเกี่ยวกับเรื่องเล็กๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิต คุณอาจไม่สามารถจัดการกับสิ่งเหล่านี้ แต่มีหลายวิธีที่คุณสามารถรับมือกับความเครียด ตัวอย่างเช่น
- ให้คุณใช้เวลาครึ่งชั่วโมงทุกคืนทำบางสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลิน ซึ่งการทำเช่นนี้สามารถช่วยให้คุณเลิกคิดถึงเรื่องอื่นและทำให้คุณผ่อนคลาย ตัวอย่างกิจกรรม เช่น แช่น้ำร้อน อ่านนิตยสาร ดูโทรทัศน์ หรือทำสิ่งใดก็ตามที่ช่วยให้คุณผ่อนคลาย ทั้งนี้ให้คุณเว้นจากการทำงานบ้านชั่วคราว และให้เวลาตัวเองทำสิ่งต่างๆ
- การได้พบปะผู้คนสามารถช่วยคลายเครียด คุณอาจพูดคุยกับพ่อแม่ของเด็กที่เจอตอนพาลูกไปเพลย์กรุ๊ปหรือ เนิร์สเซอรี
- ความสัมพันธ์สามารถสั่นคลอนหากคุณรู้สึกเครียด เหนื่อย และไม่ได้ใช้เวลาร่วมกับคนรัก ดังนั้นคุณควรหาเวลาให้อีกฝ่ายแม้ว่าสิ่งที่คุณทำเป็นเพียงแค่การนอนดูโทรทัศน์ด้วยกัน
- การพูดเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเองสามารถช่วยได้แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่เวลาสั้นๆ คุณและคนรักจำเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายและช่วยเหลือกันและกัน ในบางครั้งการพูดคุยกับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวก็สามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
- ให้คุณใช้ประโยชน์จากความช่วยเหลือที่คุณได้รับให้มากที่สุด
- ผ่อนปรนให้ตัวเอง เพราะการทำตัวเป็น Perfectionist หรือผู้ที่รักความสมบูรณ์แบบจะยิ่งทำให้คุณเครียดมากกว่าเดิม
การรักษาร่างกายให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี
เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย คุณอาจไม่ต้องการออกกำลังกาย แต่การทำเช่นนี้เป็นประจำสามารถทำให้คุณผ่อนคลาย แข็งแรง และทำให้คุณรู้สึกมีเรี่ยวแรงมากขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวหลังจากคลอดลูก และอาจป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอด
ฉันสามารถเริ่มออกกำลังกายหลังจากคลอดลูกได้เมื่อไร?
หากคุณคลอดลูกโดยใช้วิธีธรรมชาติ คุณสามารถเริ่มออกกำลังกายแบบเบาๆ ทันทีที่คุณสามารถทำได้ ตัวอย่างเช่น การเดิน การยืดตัวแบบเบาๆ การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และการออกกำลังกายแบบใช้หน้าท้อง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะเริ่มออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงอย่างแอโรบิคหรือการวิ่ง คุณควรรอจนกระทั่งผ่านไป 6 สัปดาห์หลังจากที่คุณตรวจร่างกายหลังคลอด
หากคุณออกกำลังกายเป็นประจำก่อนคลอดลูกและคุณรู้สึกว่าตัวเองแข็งแรง คุณอาจเริ่มออกกำลังกายได้เร็วขึ้น แต่คุณอาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
ในกรณีที่คุณคลอดลูกโดยใช้วิธีผ่าตัด ระยะเวลาพักฟื้นก็จะนานขึ้น ดังนั้นให้คุณลองสอบถามแพทย์ก่อนที่คุณจะเริ่มทำสิ่งใดก็ตามที่ต้องใช้แรงมาก
มีสิ่งใดที่ฉันควรระวังก่อนออกกำลังกาย?
แผ่นหลังส่วนล่างและใจกลางของกล้ามเนื้อหน้าท้องอาจอ่อนแอกว่าที่เคยเป็น นอกจากนี้เอ็นและข้อต่อของคุณอาจอ่อนตัวและยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่คุณคลอดลูกหลายเดือน ดังนั้นคุณสามารถบาดเจ็บได้ง่ายหากคุณยืดตัวหรือบิดตัวมากเกินไป อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรใช้สปอร์ตบาร์ที่คุณซื้อก่อนตั้งครรภ์ เพราะแผ่นหลังและขนาดของหน้าอกมีแนวโน้มที่จะไม่เหมือนเดิม ดังนั้นให้คุณหาซื้อสปอร์ตบาร์ชิ้นใหม่ที่เหมาะกับทรวงอกของคุณตอนนี้
ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองออกกำลังกายมากเกินไปหลังคลอดลูก?
หากภาวะตกเลือดหลังคลอดมีความรุนแรงมากขึ้นหรือเลือดเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดงหลังจากที่คุณออกกำลังกาย นั่นก็สามารถบ่งบอกได้ว่าคุณออกกำลังกายหนักเกินไป นอกจากนี้คุณมีแนวโน้มที่จะรู้สึกเหนื่อยมาก ดังนั้นให้คุณฟังร่างกายของตัวเอง และให้คุณค่อยๆ ออกกำลังกาย รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอเช่นกัน
ไอเดียการออกกำลังกายสำหรับคุณแม่มือใหม่
- การออกกำลังกายหลังคลอดลูกจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อส่วนที่สำคัญ และช่วยให้คุณมีรูปร่างดี
- เข้าร่วมคลาสออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกแล้ว ในกรณีที่คุณไม่ได้เข้าร่วมคลาสออกกำลังกายสำหรับคุณแม่มือใหม่โดยเฉพาะ คุณก็ควรแจ้งให้ครูฝึกทราบว่าคุณเพิ่งคลอดลูก
- พาลูกไปนอกบ้านโดยให้เขาอยู่ในรถเข็นเด็ก ทั้งนี้ให้คุณผลักรถอย่างแข็งขัน ซึ่งแขนของคุณจะต้องงอและหลังต้องยืดตรง นอกจากนี้ด้ามจับจะต้องมีความสูงเหมาะสมสำหรับคุณ และข้อศอกของคุณควรทำมุมอย่างเหมาะสม
- เล่นเกมส์ที่ต้องออกแรงกับเด็กโต ซึ่งคุณสามารถออกกำลังกายโดยวิ่งเล่นกับพวกเขา
- ใช้บันไดแทนลิฟต์หากต้องขึ้นหรือลงเพียงไม่กี่ชั้น หรือให้เดินแทนนั่งรถหากเป็นการเดินทางระยะสั้น
- เมื่อคุณต้องหยิบของ ให้คุณงอเข่าและยืดหลังตรงขณะเก็บของแทนการยืดหัวเข่าและงอหลัง ซึ่งมันจะช่วยให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรง และป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อแผ่นหลัง นอกจากนี้ให้คุณถือสิ่งของที่หนักชิดกับลำตัว
- การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีและทำให้คุณผ่อนคลาย แต่คุณจำเป็นต้องรอจนกว่าจะพ้น 7 วันหลังจากที่น้ำคาวปลาหยุดไหล หากคุณพาลูกไปสระว่ายน้ำด้วยกัน ให้คุณพาใครสักคนไปด้วยเพื่อที่คุณจะได้ว่ายน้ำโดยมีคนคอยดูแลลูก
- ออกกำลังกายที่บ้านโดยทำตาม DVD หรือคุณจะออกกำลังกายตามคลิปในอินเตอร์เน็ต คุณอาจให้เพื่อนหรือลูกเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
การดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง
การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญพอๆ กับการดูแลสุขภาพกาย มีผู้หญิงประมาณ 1 ใน 10 ที่เป็นโรคซึมเศร้าภายในปีหลังจากที่คลอดลูก ทั้งนี้การออกกำลังกายแบบเบาๆ สามารถช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น สำหรับวิธีอื่นๆ ที่เราอยากแนะนำ ตัวอย่างเช่น
- หาเวลาพักผ่อน
- ไม่พยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด
- ยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก
- พบปะเพื่อนฝูง
- ระบายความรู้สึกของตัวเองให้คนอื่นฟัง
หากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองต้องดิ้นรนต่อสู้ หรือคิดว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า คุณควรไปพบแพทย์
การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพสำหรับพ่อแม่มือใหม่
- พยายามทำให้การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ดี การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญต่อทั้งครอบครัว ทั้งนี้ให้คุณพยายามทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวัน
- หากคุณคิดว่าตัวเองจำเป็นต้องลดน้ำหนัก มีวิธีให้คุณเลือกใช้มากมายซึ่งหมายความรวมถึงกลุ่มสนับสนุน หรือกลุ่มที่เจอปัญหาแบบเดียวกับคุณ ในกรณีที่คุณเข้าร่วมกลุ่ม คุณควรบอกพวกเขาว่าคุณเพิ่งมีลูก และหากคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณก็ควรบอกพวกเขาเช่นกันเพื่อที่คุณจะได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม
เคล็ดลับประหยัดเวลาในการทำอาหารสำหรับพ่อแม่มือใหม่
- ทำอาหารมากกว่าที่คุณต้องการและนำอาหารส่วนที่เหลือแช่เย็นเพื่อทานในวันอื่นๆ
- เลือกผักที่คุณสามารถทานดิบได้ ตัวอย่างเช่น แครอทหรือเซเลอรี และทานของว่างเหล่านี้ในระหว่างมื้อหากคุณหิว
- การนึ่งเป็นวิธีประกอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพและรวดเร็วสำหรับการทำอาหารประเภทผักและปลา
- หากเพื่อนหรือคนในครอบครัวกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือ ให้คุณยอมรับความช่วยเหลือที่เขาหยิบยื่นให้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหาร
หากคุณอยู่ในช่วงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และคุณมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและสัมพันธ์กับส่วนสูง คุณไม่จำเป็นต้องทานอาหารแบบพิเศษ ทั้งนี้ให้คุณทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทานอาหารอย่างสมดุล ดื่มน้ำให้เพียงพอ และพักผ่อนให้มาก หากคุณอยู่ในช่วงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน วิธีลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพคือ การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การทานอาหารอย่างสมดุล และการออกกำลังกายไม่หนักหรือเบาเกินไปเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว 30 นาทีต่อวัน ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนม
การหยุดสูบบุหรี่เพื่อตัวเองและทารก
สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยคือ การหยุดสูบบุหรี่ ทั้งนี้เด็กที่มีพ่อแม่ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่เมื่อโตขึ้นมากถึง 3 เท่า อย่างไรก็ดี การสูดควันบุหรี่ที่ผู้อื่นเป็นผู้สูบนั้นก็เป็นอันตรายต่อทารกเพราะระบบทางเดินหายใจ ปอด และระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเชื่อมโยงต่อการเป็นโรคไหลตายในทารก หากคุณอยากเลิกบุหรี่ คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือโทรไปที่สายด่วน 1600 ซึ่งพวกเขาสามารถให้คำแนะนำแก่คุณได้