กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Postpartum Psychosis (โรคจิตหลังคลอด)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis) เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากการคลอดลูก จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอดที่เป็นภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสทำร้ายเด็ก หรือทำร้ายตนเองได้
  • ลักษณะเด่นของโรคนี้คือ ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ต่อทารกเกิดใหม่ บางครั้งอาจมีความคิดที่จะทำร้ายลูกด้วย รวมทั้งมีอาการบางอย่างที่ดูคล้ายโรคซึมเศร้าหลังคลอด
  • สัญญาณโรคจิตหลังคลอดที่ควรระวัง เช่น รู้สึกอยากขว้างเด็กทิ้ง หรืออยากทำร้ายเด็กกะทันหัน มีอาการหลงผิด เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง มีอาการประสาทหลอน เช่น มองเห็นภาพ หรือได้ยินในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ หรือมีสีหน้าว่างเปล่า
  • หากผู้ดูแล หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ หรือแม้กระทั่งตัวคุณแม่สงสัยว่า ตนมีโรคดังกล่าว ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และต้องแยกคุณแม่ออกจากเด็กทารกในช่วงนั้น เพื่อรักษาความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

คุณแม่มือใหม่บางคนอาจมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือที่เรียกว่า "Baby blues" ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นปกติ และมักจะหายไปภายในไม่กี่วัน แต่หากคุณแม่มีความคิดผิดแปลก และไม่แสดงอารมณ์ใดๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)

ทำความรู้จักโรคจิตหลังคลอด

โรคจิตหลังคลอด เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากการคลอดลูก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ต่อทารกเกิดใหม่ บางครั้งอาจมีความคิดที่จะทำร้ายลูกด้วย รวมทั้งมีอาการบางอย่างที่ดูคล้ายโรคซึมเศร้าหลังคลอด 

โรคจิตหลังคลอด จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอดที่เป็นภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสทำร้ายเด็กหรือทำร้ายตนเองได้

สาเหตุของโรคจิตหลังคลอด

โรคจิตหลังคลอดเป็นความผิดปกติที่พบได้ค่อนข้างยาก โดยสาเหตุการเกิดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลังคลอดที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการนี้ขึ้น 

บุคคลต่อไปนี้อาจมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคจิตหลังคลอดได้มากขึ้น

  • มีอายุมากขณะตั้งครรภ์
  • มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคทางจิต หรือโรคจิตหลังคลอด
  • เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์หรือโรคจิตเภท
  • ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด หรือการตั้งครรภ์
  • เคยป่วยด้วยโรคจิตหลังคลอดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน

นอกจากนี้มีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่าคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคลอดทารกตัวโตจะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้น้อย 

อาการแสดงของโรคจิตหลังคลอด

โรคทางจิตหลังคลอดที่พบได้บ่อยกว่าโรคอื่นๆ อย่างโรคซึมเศร้านั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังคลอด (แต่ก็อาจเกิดระหว่างช่วงขวบปีแรกของลูกได้) ในขณะที่โรคจิตหลังคลอดมักจะแสดงอาการเร็วกว่านั้น คือในช่วง 1-4 สัปดาห์หลังคลอด นอกจากนี้ยังมีอาการมากกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัญญาณโรคจิตหลังคลอดที่ควรระวัง ได้แก่

  • รู้สึกอยากขว้างเด็กทิ้ง หรืออยากทำร้ายเด็กกะทันหัน
  • มีอาการหลงผิด เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
  • มีอาการประสาทหลอน เช่น มองเห็นภาพ หรือได้ยินในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
  • ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ หรือมีสีหน้าว่างเปล่า
  • ไม่ตอบสนองทางอารมณ์กับเด็กทารก และไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเด็กทารก
  • มีปัญหาในการนอนหลับมากกว่าปกติ 
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมการกินและอาหารที่กิน
  • หงุดหงิดง่าย
  • สับสนงุนงง
  • กระสับกระส่าย
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือเชื่อว่า เด็กทารก หรือครอบครัวจะมีชีวิตที่ดีกว่าหากไม่มีตนเอง

การรักษาโรคทางจิตใจหลังคลอด

แม้ตัวคุณแม่จะรู้ว่าตัวเองมีปัญหา หรือมีความผิดปกติ แต่ก็อาจคิดว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ หรือการรักษาสำหรับโรคนี้ หรือหากมีความคิดที่อยากจะโยนเด็กทิ้ง หรือทำร้ายเด็ก ซึ่งอาจเกิดจากสัญชาตญาณในการดูแลลูกผิดปกติไป 

ผู้ป่วยมักจะเก็บความคิดเหล่านี้ไว้เป็นความลับ เพราะกลัวว่าแพทย์ หรือสมาชิกในครอบครัวจะมาเอาลูกไป 

ความคิดแบบนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้รู้สึกเดียวดายเป็นอย่างมาก ดังนั้นขั้นตอนแรกในการรักษาโรคนี้ก็คือ การให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่า ความคิดต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดจากความเจ็บป่วย

สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตคือ การส่งให้จิตแพทย์ดูแลทันที 

หากผู้ดูแล หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ หรือแม้กระทั่งตัวคุณเองสงสัยว่า ตนมีโรคดังกล่าว ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และต้องแยกคุณแม่ออกจากเด็กทารกในช่วงนั้นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การแยกเด็กทารกออกไปไม่ใช่การแยกจากการดูแลของคุณแม่อย่างถาวรแต่อย่างใด แต่มีจุดประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก จากนั้นจะเป็นขั้นตอนประเมินอาการของคุณแม่และให้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรักษาโรคจิตหลังคลอดด้วยหลายวิธีร่วมกัน วิธีการที่นำมาใช้ได้มีดังต่อไปนี้

  • การเข้ารักษาในโรงพยาบาล
  • การรับประทานยารักษาอาการโรคจิต
  • การรับประทานยารักษาอาการซึมเศร้า
  • การรักษาอาการทางจิตเวชด้วยการใช้ไฟฟ้า

หากคุณแม่พบว่า ตัวเองมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น แต่ยังไม่กล้าไปพบแพทย์ สามารถเริ่มต้นด้วยการปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอื่นๆ และควรคิดไว้เสมอว่า อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นความเจ็บป่วยที่สามารถรักษาให้หายได้ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Postpartum psychosis . NHS (National Health Service). (Available via: https://www.nhs.uk/conditions/post-partum-psychosis/)
Postpartum Depression: Symptoms, Causes, Risks, Types, Tests, Professional and Self-Care. WebMD. (Available via: https://www.webmd.com/depression/guide/postpartum-depression#1)
The Truth About Postpartum Psychosis. Seleni Institute. (Available via: https://www.seleni.org/advice-support/2018/3/16/the-truth-about-postpartum-psychosis-hp8hk)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ให้นมลูกมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอคะ เกิดจากสาเหตุอะไร บางเดือนมาบางเดือนไม่มา
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ทำอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หลังคลอดมาแล้วเดือนกว่าๆทำมัยเลือดยังออกอีกค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องน้อยหลังคลอดมาได้แปดเดือนบ่อยๆค่ะมันจะเกี่ยวกับมดลูกมั่ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พึ่งคลอดลูกทำยังไงให้ฝื้นตัวได้เร็วค่ะ รู้สึกว่าเพลียมากเลยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผู้หญิงหลังคลอดบุตรควรตรวจสุขภาพร่างกายเมื่อไหร่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)