ก้อนที่เกิดขึ้นบนลำคอ อาจเป็นได้ทั้งก้อนเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่มากจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ก้อนที่คอส่วนมากมักไม่เป็นอันตราย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพร้ายแรงต่างๆ เช่น การติดเชื้อหรือเป็นเนื้อร้ายก็ได้
ก้อนที่คอสามารถเป็นได้ทั้งก้อนแข็งหรืออ่อน และอาจเกิดขึ้นข้างในผิวหนัง เช่น ก้อนซีสต์ไขมันผิวหนัง (Sebaceous Cyst) สิวซีส (Cystic Acne) หรือเนื้องอกไขมัน (Lipoma) โดยก้อนที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆ ภายในคอก็ได้
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตำแหน่งของก้อนที่คอเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่ใช้ระบุว่าก้อนนั้นคืออะไร เพราะมีทั้งกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และอวัยวะมากมายที่อยู่ใกล้ลำคอ เช่น
- ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Nodes)
- ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)
- ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Glands) ที่เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ก้อนอยู่หลังต่อมไทรอยด์
- เส้นประสาท recurrent laryngeal ที่ทำให้เส้นเสียงเคลื่อนไหวได้
- กล้ามเนื้อคอ
- หลอดลม (Trachea)
- กล่องเสียง (Larynx)
- กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical Vertebrae)
- ระบบเส้นประสาท Sympathetic กับ Parasympathetic
- เส้นประสาทส่วนปลายที่ส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ (Brachial Plexus) ที่เชื่อมไปยังอวัยวะช่วงบนของร่างกายกับกล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius Muscle)
- ต่อมน้ำลาย (Salivary Glands)
- หลอดเลือดแดงและดำ (Arteries และ Veins)
อาการที่เกี่ยวข้องกับก้อนที่คอ
ก้อนที่คออาจเกิดได้จากหลายภาวะ จึงทำให้มีหลายอาการที่คล้ายกับโรคอื่นๆ รวมกัน แต่ก็มีผู้ที่มีก้อนที่คอหลายคนไม่มีอาการใดๆ เลย
หากก้อนที่คอเกิดจากการติดเชื้อและต่อมน้ำเหลืองมีการขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ กลืนลำบาก หรือเจ็บในหูร่วมด้วย แต่หากก้อนที่คอเข้าขวางหลอดลม อาจทำให้มีอาการหายใจลำบากหรือมีเสียงแหบแห้งก็ได้ ส่วนผู้ที่มีก้อนในคอที่เกิดจากมะเร็งอาจมีผิวหนังรอบๆ บริเวณก้อนเปลี่ยนสีจากเดิม หรืออาจมีเสมหะและเลือดปนในน้ำลาย
สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดก้อนที่คอ
ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตคือสาเหตุที่ทำให้พบก้อนที่คอมากที่สุด โดยสาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดใหญ่ขึ้น ได้แก่
- การติดเชื้อที่หู
- การติดเชื้อที่โพรงจมูก
- ทอนซิลอักเสบ
- คออักเสบ (Strep Throat)
- การติดเชื้อที่ฟัน
- การติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังศีรษะ
ส่วนอื่นๆ ที่ทำให้พบก้อนที่คอ
- มะเร็ง แม้ก้อนที่คอส่วนมากจะเป็นเนื้องอกไม่อันตราย แต่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับผู้ใหญ่ โอกาสที่ก้อนในคอจะเป็นเนื้อร้ายจะเพิ่มขึ้นหลังมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ยิ่งถ้าสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ปากและลำคอเพิ่มขึ้น โดยมะเร็งที่เกิดขึ้นในรูปแบบของก้อนในคอ ได้แก่
- มะเร็งไทรอยด์
- มะเร็งศีรษะและเนื้อเยื่อคอ
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฮอกด์กิ้นส์ (Hodgkin’s Lymphoma) และชนิดนอนฮอกด์กิ้นส์ (Non-Hodgkin’s Lymphoma)
- ลิวคีเมีย (Leukemia)
- มะเร็งประเภทอื่น ๆ เช่นมะเร็งปอด, มะเร็งลำคอ, และมะเร็งเต้านม
- มะเร็งผิวหนังบางรูปแบบ เช่น โรคแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาเซลล์ (Basal Cell Carcinoma) มะเร็งผิวหนังชนิดเซลล์สความอส (Squamous Cell Carcinoma) และมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)
- ไวรัส มีไวรัสมากมายที่สามารถทำให้เกิดก้อนในคอได้ เช่น
- HIV
- Herpes Simplex
- Infectious Mononucleosis หรือ Mono
- หัดเยอรมัน (Rubella)
- โรคคออักเสบจากไวรัส (Viral Pharyngitis)
- แบคทีเรีย การติดเชื้อแบคทีเรียสามารถก่อให้เกิดปัญหากับลำคอและคอ ซึ่งนำไปสู่การอักเสบและเกิดก้อนที่คอได้ ดังนี้
- การติดเชื้อจาก Atypical Mycobacterium เป็นแบคทีเรียชนิดที่พบได้มากในผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันและโรคปอด
- ไข้จากแมวข่วน (Cat Scratch Fever)
- ฝีรอบทอนซิล (Peritonsillar Abscess)
- คออักเสบ และทอนซิลอักเสบ
- วัณโรค (Tuberculosis)
- คออักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial Pharyngitis)
- สาเหตุอื่น ๆ ก้อนที่คออาจเป็นผลมาจากเนื้องอกไขมัน (Lipomas) ที่อยู่ใต้ผิวหนัง และอาจเกิดจาก Branchial Cleft Cyst หรือต่อมไทรอยด์ก็ได้ รวมถึงโรคอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Diseases)
- ภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์อื่น ๆ เช่น โรคคอพอก (Goiter) เนื่องจากภาวะขาดไอโอดีน (Iodine Deficiency) ทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นบางส่วนหรือทั้งหมด
- การบาดเจ็บหรือโรคคอเอียง (torticollis) ที่ทำให้เกิดก้อนในกล้ามเนื้อคอขึ้น
การวินิจฉัยก้อนที่คอ
ผลการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับอาการ ประวัติ และผลจากการตรวจร่างกาย ในบางกรณีอาจมีการส่งตัวไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านหู จมูก และลำคอ (Ear, Nose, and Throat (ENT) Specialist) เพื่อทำการประเมินส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ละเอียดมากขึ้น
แพทย์ ENT อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี Oto-rhino-laryngoscopy ที่เป็นกระบวนการใช้เครื่องมือส่องไฟฉายเข้าไปดูในหู จมูก และลำคอในตำแหน่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่ถึง รวมถึงตรวจเม็ดเลือดสมบูรณ์ (Complete Blood Count (CBC)) ประเมินสุขภาพองค์รวมและทำให้มองเห็นความเป็นไปได้ของภาวะต่างๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อ
นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์โพรงจมูก การเอกซเรย์หน้าอก อัลตราซาวด์คอ และทำMRI ที่ศีรษะและลำคอเพื่อมองดูโครงสร้างของตำแหน่งทั้งสอง
การรักษาก้อนที่คอ
การรักษาก้อนที่คอ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อน โดยก้อนที่เกิดจากแบคทีเรียจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ส่วนก้อนที่เกิดจากมะเร็ง จะมีการรักษาทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด
อายุ 51 ปี มีอาการชาริมฝีปากล่างบ่อย ๆ อาการคือชายิบ ๆ เจ็บเล็กน้อยค่ะ มีอาการเป็นบางวันค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว แต่ค่า LDL สูง 144 ค่ะ ไม่ทราบเกิดจากอะไรคะ ต้องพบแพทย์แผนกไหนคะ