โรคนี้เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
โรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการสร้างสาร antibody ที่เรียกว่า thyroid-stimulating immunoglobulin (TSI) ซึ่งสารนี้จะทำให้ต่อมไทรอยด์ (ซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานของคอ) ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนทั้งชนิด thyroxine (T4) และ triiodothyronine (T3) ออกมามากเกินไป โรคนี้ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งภาวะนี้จะทำให้การทำงานต่างๆ ของร่างกายหลายอย่างเกิดขึ้นเร็วขึ้น โดยจะทำให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานและอัตราการเต้นของหัวใจเกิดขึ้นเร็วขึ้น โรคนี้ตั้งชื่อตาม Robert Graves นายแพทย์ชาวไอร์แลนด์ที่ค้นพบในช่วงปี ค.ศ. 1830 แพทย์อาจทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจทางภาพวินิจฉัยเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความชุกของโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ
Graves' Disease & Thyroid Foundation กล่าวว่า โรคนี้พบได้ประมาณ 3% ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณเกือบ 10 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุแต่มักเริ่มเกิดระหว่างช่วงอายุ 20 ปีจนถึงวัยกลางคน
อาการของโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง ซึ่งประกอบด้วย
- น้ำหนักลด
- วิตกกังวล กระสับกระส่าย
- มือหรือนิ้วมือสั่น
- ไวต่อความร้อน
- เหงื่อออกมากขึ้น
- เพิ่มความอยากอาหาร
- ต่อมไทรอยด์โต (คอพอก)
- ท้องเสีย
- หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
- องคชาติไม่แข็งตัว (ในผู้ชาย)
- มีความต้องการทางเพศลดลง
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ (ในผู้หญิง)
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีปัญหาในการนอน
- อ่อนเพลีย
โรคตาที่มาจากโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ
ผู้ป่วยโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ ประมาณ 30% จะมีเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านหลังลูกตาอักเสบ โดยอาการของภาวะนี้ ประกอบด้วย
- ตาโปน
- ปวดหรือมีความดันในลูกตา
- รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมในตา
- ตาแดงหรืออักเสบ
- หนังตาบวม
- ไวต่อแสง
- มองไม่เห็น
- เห็นภาพซ้อน
โรคผิวหนังที่มาจากโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ
เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่ทำให้เกิดอาการผิวหนังแดงและหนาตัวขึ้น มักเกิดที่บริเวณหน้าแข้งหรือหลังเท้า ปัญหานี้มักไม่ใช่เรื่องที่อันตรายหรือทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
นักวิจัยยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคนี้ เช่นเดียวกับโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเองอื่นๆ ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้
- การเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันอื่นๆ : ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันอื่นๆ (เช่น โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ โรคด่างขาว โรคลูปัส หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 1) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรค Graves' Disease
- พันธุกรรม : ผู้ป่วยบางคนจะมีแนวโน้มที่เป็นโรคนี้มากขึ้นเนื่องจากมีประวัติครอบครัว
- ความเครียดทางอารมณ์หรือทางกาย : ความเครียดหรือการได้รับอันตรายอย่างรุนแรงอาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้
- การติดเชื้อ : นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าการติดเชื้อบางชนิดอาจมีบทบาทในการเกิดโรค Graves' Disease
- เพศ : นักวิจัยกำลังอยู่ในช่วงศึกษาว่าฮอร์โมนเพศบางชนิดอาจสามารถอธิบายได้ว่าทำไมโรคนี้จึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- การตั้งครรภ์ : การตั้งครรภ์อาจกระตุ้นในเกิดโรค Graves' Disease ได้ในผู้หญิงบางคน เนื่องจากพบว่ามีผู้หญิงอายุน้อยที่เป็นโรค Graves' Disease มากถึง 30% ที่ตั้งครรภ์ในช่วง 1 ปีก่อนที่จะเริ่มมีอาการของโรค
- สูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคคอพอกและไทรอยด์เป็นพิษ
หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ได้
- ความผิดปกติของหัวใจ : โรคนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติหรือหัวใจล้มเหลวได้ในผู้ป่วยบางราย
- ไทรอยด์เป็นพิษ : เป็นภาวะที่แทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิต โดยเกิดจากการมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ภาวะนี้พบน้อยแต่อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวและปอดบวมได้ หากเกิดภาวะนี้แล้วจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ทันที
- ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ : อาจเกิดได้ทั้งการแท้ง คลอดก่อนกำหนด การทำงานของต่อมไทรอยด์ของทารกผิดปกติ มารดาหัวใจล้มเหลว และครรภ์เป็นพิษ
- กระดูกเปราะ : Graves' Disease สามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้
การรักษาโรคคอพอกและไทรอยด์เป็นพิษ
การรักษาโรคนี้มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป ตัวอย่างทางเลือกในการรักษา ประกาอบด้วย
- ยาต้านไทรอยด์ : ยากลุ่มนี้จะป้องกันไม่ให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ยาที่ใช้บ่อย เช่น Tapazole (methimazole) และ propylthiouracil
- การกลืนแร่ : ยานี้ใช้รักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงมานานกว่า 60 ปี โดยจะทำให้ต่อมไทรอยด์มีการดูดกลืนสารทึบรังสีเข้าไปและทำให้เกิดการหดตัว
- การผ่าตัด : บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาโรคนี้
- ยากลุ่ม Beta blockers : ยากลุ่มนี้มักใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวล และเหงื่อออกมากในผู้ป่วย Graves' Disease
ผู้ป่วยที่มีโรคตาจากคอพอกและไทรอยด์เป็นพิษ อาจต้องการยาตัวอื่นเพิ่มเติม เช่น สเตียรอยด์หรือยาหยอดตาชนิดพิเศษเพื่อช่วยควบคุมอาการ
ไทยลอยน์มีโอกาสหายหรือไม่คะ