อาการเจ็บจี๊ดๆ เหมือนเข็มตำนิ้ว
อาการนิ้วชา (Finger Numbness) คือความรู้สึกจี๊ดๆ เหมือนถูกเข็มสัมผัสเบา ๆ ที่นิ้ว บางคนอาจรู้สึกแสบร้อนเล็กน้อย อาการนี้มีหลายระดับตั้งแต่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวไปจนถึงอาการที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตตามปกติ เช่น ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของ หรือออกแรงกำสิ่งใดได้ แต่ไม่ว่าอาการจะเป็นอย่างไรก็สามารถรักษาให้หายได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของอาการนิ้วชา
อาการนิ้วชาสามารถเกิดจากการกดทับ ความเสียหาย หรือความระคายเคืองที่เส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งและรับสัญญาณไปกลับสมอง โดยภาวะทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดอาการนิ้วชา มีดังนี้
- กลุ่มอาการประสาทมือชา (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาททำให้มือมีความรู้สึกถูกบีบรัด จนทำให้เกิดอาการชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง
- โรครากประสาทคอ (Cervical Radiculopathy) เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทที่ลำคอเกิดการอักเสบหรือถูกกดทับจนทำให้เกิดอาการชาที่นิ้วมือคล้ายกับโรคประสาทมือชา
- โรคเบาหวาน (Diabetes) อาการชาที่มือและเท้าจากเบาหวาน เรียกว่าโรคเบาหวานขึ้นประสาท (Diabetic Neuropathy)
- โรคเรย์เนาด์ (Raynaud’s Disease) ทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กในนิ้วมือเกิดการกระตุกหรือปิดเปิดเร็วมาก จนส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตทำให้เกิดอาการชาขึ้นมา
- โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis (RA)) คือโรคในกลุ่มภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disorder) ที่ทำให้เกิดอาการบวม กดเจ็บ และปวดภายในข้อต่อ ภาวะนี้สามารถทำให้เกิดอาการชา และแสบร้อนในมือ
- การกดทับที่เส้นประสาทอุลน่าร์ กลุ่มอาการประสาทมือชา อาจส่งผลต่อเส้นประสาทเมเดียน (Median Nerve) ในแขน แต่การกดทับของเส้นประสาทอุลน่าร์จะส่งผลต่อเส้นประสาทอุลน่าร์ (Ulnar Nerve) ที่พาดผ่านนิ้วก้อยลงไปตามข้างลำแขน ทำให้เกิดอาการชาที่นิ้วก้อยและนิ้วนาง
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชาที่นิ้ว แต่พบได้ไม่บ่อย มีดังนี้
- ภาวะแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis)
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst)
- กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré Syndrome)
- HIV หรือ AIDS
- โรคลายม์ (Lyme Disease)
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis (MS))
- กลุ่มอาการโจเกร็น (Sjögren’s Syndrome)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ซิฟิลิส (Syphilis)
- โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis)
- ภาวะขาดวิตามิน B12
- โรคเรื้อน (Hansen’s Disease หรือ Leprosy)
- กระดูกมือหรือข้อมือหัก
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?
อาการชาและแสบร้อนที่นิ้วมือ อาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ และถ้าหากมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรโทรศัพท์สายด่วน 1669 ทันที
- สับสน
- หายใจลำบาก
- วิงเวียน
- มือหรือนิ้วชา
- ปวดศีรษะรุนแรง
- พูดจาติดอ่าง
- อัมพาตหรือหมดแรงกะทันหัน (Asthenia)
การวินิจฉัยอาการนิ้วชา
แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยอาการนิ้วชาด้วยการซักประวัติร่วมกับการตรวจแขน มือ และนิ้วมือ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้เข้าพบศัลยแพทย์ออร์โทปิดิกส์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทเพื่อทดสอบการทำงานของเส้นประสาทโดยตรง
บางครั้ง แพทย์อาจสแกน MRI เพื่อหาต้นเหตุของอาการนิ้วชา โดยผลสแกนนี้จะช่วยให้แพทย์มองเห็นกระดูกที่อาจจะเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ควรจะเป็น เช่น กระดูกคอ กระดูกหัวไหล่ กระดูกแขน กระดูกข้อมือ และนิ้วมือ ซึ่งอาจทำให้เกิดการกดทับที่เส้นประสาท
การรักษาอาการนิ้วชา
การพักมือและข้อมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอักเสบ ซึ่งในระหว่างนี้สามารถประคบน้ำแข็งบรรเทาอาการได้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้การบริหารยืดเส้นที่มือและข้อมือ ก็สามารถลดความไม่สบายตัวลงได้ เช่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- การยืดนิ้วออกให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้และค้างอยู่ท่านั้นนานประมาณ 10 วินาที
- การบิดข้อมือตามเข็มนาฬิกาประมาณ 10 ครั้ง จากนั้นก็ทวนเข็มเพื่อคลายความตึงของกล้ามเนื้อ
- หมุนหัวไหล่ไปข้างหลังห้าครั้ง จากนั้นไปข้างหน้าอีกห้าครั้งเพื่อคลายกล้ามเนื้อหัวไหล่
แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อย่าง Ibuprofen เพื่อลดการอักเสบ และอาจให้สวมใส่ปลอกแขนหรือเฝือกเพื่อประคองข้อศอกหรือข้อมือให้อยู่ตำแหน่งที่ควรจะเป็น หากอาการชาที่นิ้วเกิดจากการกดทับที่เส้นประสาท
ถ้าการรักษาโดยการใช้ยาทั่วไปไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ หรือการผ่าตัดกระดูก เพื่อดันกระดูกออกจากเส้นประสาท
การป้องกันอาการนิ้วชา
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนิ้วชา มักเกิดจากการใช้งานอวัยวะหนักไป เช่น การเคลื่อนไหวซ้ำๆ จนสร้างความเสียหายที่เส้นประสาท ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการชาขึ้น โดยวิธีเลี่ยงการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ได้แก่
- ฝึกจัดวางท่าในอิริยาบถที่ถูกต้อ งตั้งแต่การใช้เครื่องมือ แป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ
- จัดให้มีเวลาพักจากกิจกรรมที่ทำอยู่ทุกๆ 30 ถึง 60 นาที
- การยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึง
- การใช้อุปกรณ์รองรับร่างกาย เช่น แผ่นรองข้อมือขณะใช้แป้นพิมพ์
ที่มาของข้อมูล
Rachel Nall, finger numbness (https://www.healthline.com/health/finger-numbness), 21 มีนาคม 2018
ปวดหลังกว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท