การรักษาและการดูแลผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การรักษาและการดูแลผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางรักษาหรือชะลอการดำเนินของโรคฮันติงตัน ครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดจึงควรวางแผนและจัดการดูแลพวกเขาไปจนถึงบั้นปลายชีวิต

การรักษาโรคฮันติงตัน

ในปัจจุบัน ยังไม่มีแนวทางการรักษาโรคฮันติงตันโดยเฉพาะ และไม่สามารถย้อนกลับหรือชะลอการดำเนินไปของโรคได้แม้ว่าจะมีโครงการวิจัยหลายโครงการพยายามศึกษาหาแนวทางอยู่อย่างสุดความสามารถก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะหรืออาการของโรคฮันติงตันบางอย่างสามารถจัดการได้ด้วยยา  และการบำบัดต่าง ๆ ซึ่งอาจจะต้องทำโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

การบำบัดต่าง ๆ เช่น การบำบัดการพูดและการใช้ภาษา และกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยในเรื่องการสื่อสารและการใช้ชีวิตประจำวันได้

การออกกำลังกายเป็นประจำถือเป็นเรื่องสำคัญมาก คนที่มีสภาพร่างกายสดชื่น แข็งแรงมักรู้สึกดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจมากกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย แม้ผู้ป่วยโรคฮันติงตันบางคนอาจทรงตัวได้ไม่ดีนัก แต่การเดินไปไหนมาไหนด้วยตนเองโดยใช้เครื่องช่วยเดินนั้นถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้

ยาสำหรับรักษาอาการโรคฮันติงตัน

มียาหลายตัวที่สามารถใช้สำหรับจัดการกับอาการของโรคฮันติงตันซึ่งอาจมาในรูปแบบเม็ดสำหรับทาน หรือเป็นของเหลวหากจำเป็น

ยาส่วนใหญ่เหล่านี้มีผลข้างเคียง เช่น อาการอ่อนเพลียอย่างมาก อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าอาการอ่อนเพลียดังกล่าวนั้นเป็นอาการของโรคหรือผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษากันแน่

ยารักษาโรคซึมเศร้า (antidepressant)

ยารักษาโรคซึมเศร้าสามารถจัดการเรื่องอารมณ์แปรปรวนและรักษาภาวะซึมเศร้าได้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • กลุ่ม SSRI antidepressants - เช่น fluoxetine, citalopram และ paroxetine
  • กลุ่ม Tricyclic antidepressants - เช่น amitriptyline
  • ประเภทอื่น ๆ ของ antidepressants - เช่น mirtazapine, duloxetine และ venlafaxine

ผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึมเศร้านั้นได้แก่:

ยาควบคุมอารมณ์ (Mood stabilizes) สำหรับอาการหงุดหงิดหรืออารมณ์แปรปรวน

กลุ่มยาควบคุมอารมณ์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวยา carbamazepine สามารถใช้รักษาอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวได้ นอกจากนี้อาจใช้ยา olanzapine ควบคู่กับยา sodium valproate และยา lamotrigine ได้เช่นกัน

ปริมาณของยา carbamazepine ที่เหมาะสมในแต่ละคนนั้นแตกต่างกันอยู่บ้าง  แพทย์จะปรับปริมาณยาดังกล่าวขึ้นอย่างช้าๆ และตรวจสอบผลข้างเคียงใดที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาดังกล่าวในระหว่างการตั้งครรภ์

ยาเพื่อลดการเคลื่อนไหวหรือกระตุกโดยไม่ได้ตั้งใจ

ยาตามรายการด้านล่างนี้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ตั้งใจหรือการกระตุกที่พบในโรคฮันติงตัน ซึ่งการเลือกใช้ยาชนิดไหนนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ประจำตัวคุณ

  • กลุ่มยารักษาโรคจิต (antipsychotics) - เช่น olanzapine, sulpiride, risperidone และ quetiapine
  • ยา tetrabenazine - ซึ่งช่วยลดปริมาณโดพามีนก่อนถึงเซลล์ประสาทในสมอง
  • กลุ่มยา benzodiazepine - เช่น clonazepam และ diazepam

กลุ่มยารักษาโรคจิตอาจช่วยควบคุมอาการหลงผิด และอาการก้าวร้าวอย่างรุนแรงได้ด้วย แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงเช่น:

  • คอแข็ง ลิ้นแข็ง กล้ามเนื้อแข็ง
  • ฤทธิ์กล่อมประสาท ง่วงซึม
  • อาการสั่น กล้ามเนื้อเกร็ง
  • เคลื่อนที่ได้อย่างช้า ๆ

เนื่องจากมักเป็นไปได้ที่จะเกิดกับผลข้างเคียงเหล่านี้ ในช่วงแรกของการรักษาแพทย์จะสั่งจ่ายยาดังกล่าวในปริมาณที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การดูแลผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

กิจกรรมต่าง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคฮันติงตันใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ดีขึ้น ได้แก่ กิจกรรมกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด และการบำบัดการพูดและการใช้ภาษา

โรคฮันติงตันทำให้เกิดความกดดันในความสัมพันธ์หรือครอบครัวเป็นอย่างมาก เป็นเรื่องที่เครียดและสามารถสร้างความหงุดหงิดให้กับสมาชิกครอบครัวคนอื่นได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องน่าหดหู่สำหรับพวกเขาที่ต้องทนเห็นคนในครอบครัวมีสภาพทางร่างกายและจิตใจแย่ลงมากจนอาจจะไม่เหมือนคนเดิมอีกต่อไป

กิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การแต่งกายและรับประทานอาหารตามมื้อนั้นก็อาจทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดและเหนื่อยล้าได้ในผู้ป่วยโรคฮันติงตัน การดูแลช่วยเหลือตามบทความต่อไปนี้มีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความเครียดความกดดันจากโรคโดยการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของผู้ป่วยที่อาจเสื่อมลงไปตามกาลเวลา

การสนับสนุนเรื่องการสื่อสารในผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

การบำบัดการพูดและการใช้ภาษาอาจช่วยเพิ่มทักษะในการสื่อสาร พัฒนาความจำ และช่วยสอนวิธีอื่นในการสื่อสารในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยปัญหาเรื่องการกลืนได้ทางอ้อมด้วย

บางครั้ง เครื่องมือเพื่อช่วยในการสื่อสารอาจมีประโยชน์ เนื่องจากช่วยให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องพูดคุย ตัวอย่างเช่น คุณสามารถชี้ไปที่สัญลักษณ์ หรือรูปภาพเพื่อระบุอารมณ์ของคุณ หรือแจ้งว่าคุณกำลังหิวได้โดยไม่จำเป็นต้องพูดออกมา

ครอบครัวของผู้ป่วยโรคฮันติงตันจะต้องอดทน คอยสนับสนุนช่วยเหลือพวกเขา และอาจต้องลองใช้วิธีอื่นในการสื่อสารหากการพูดเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วย

การสนับสนุนเรื่องรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

ผู้ป่วยโรคฮันติงตันจำเป็นต้องได้ทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง นักโภชนาการสามารถช่วยคุณวางแผนสัดส่วนและปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับพวกเขาได้

เพื่อให้รับประทานอาหารได้สะดวกยิ่งขึ้น อาหารนั้นควรจะเคี้ยว กลืน และย่อยได้ง่าย โดยสามารถหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบดให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการสำลัก นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ช่วยเหลือบนโต๊ะอาหารอื่นมากมาย เช่น หลอดที่ออกแบบมาพิเศษสำหรับผู้ป่วย และผ้าปูโต๊ะกันลื่น

ในช่วงท้ายของโรค อาจจำเป็นต้องใช้ท่อป้อนอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งหากผู้ป่วยฮันติงตันไม่ต้องการให้ทำเช่นนั้น พวกเขาควรแจ้งกับครอบครัวและแพทย์ประจำตัวของตน และต้องพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าเรื่องใบยินยอมเรื่องการดูแลต่าง ๆ เมื่อพวกเขาไม่สามารถคิด หรือดูแลตนเองได้อีกต่อไป

กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยเหลือในเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ คุณสามารถดัดแปลงบ้านของคุณเพื่อให้ชีวิตผู้ป่วยโรคฮันติงตันสามารถนั้นง่ายขึ้นได้ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ลื้นล้ม ตกบันได หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้โดยไม่ตั้งใจ

คุณอาจต้องปรับฝักบัว อ่างอาบน้ำ เก้าอี้ และเตียงในบ้านของคุณ และเรื่องทางเดินที่สามารถเข็นรถเข็นเข้าไปได้ด้วย

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคฮันติงตัน

นักกายภาพบำบัดสามารถช่วยดูแลเรื่องการเคลื่อนไหว และการทรงตัวด้วยการรักษา หรือการบำบัดหลากหลายรูปแบบ เช่น การดัดดึง การกดขยับ การนวด การออกกำลังกาย การบำบัดด้วยไฟฟ้า และวารีบำบัด โดยแพทย์ประจำตัวของคุณอาจส่งต่อคุณให้กับนักกายภาพบำบัดเพื่อช่วยดูแลอาการต่าง ๆ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/huntingtons-disease#living-with


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Huntington's disease - Treatment and support. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/huntingtons-disease/treatment/)
Treatment of Huntington’s Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3899480/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)