กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการท้องอืดและอาหารไม่ย่อยระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรให้ดีขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการท้องอืดและอาหารไม่ย่อยระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรให้ดีขึ้น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัญหาท้องอืดอาหารไม่ย่อย เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนผลิตออกมามากในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ เพื่อคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย รวมถึงระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง 
  • สาเหตุที่ทำให้คนตั้งครรภ์ท้องอืดมีอีกหลายอย่าง เช่น  เกิดการขยายตัวของมดลูก การเคี้ยวอาหารที่ไม่ละเอียด กินอาหารรสจัด อาหารทอด โรคกระเพาะอาหาร ตับ โรคเบาหวาน และไทรอยด์
  • ตัวอย่างอาหารที่ทำให้ท้องอืด เช่น แอปเปิ้ล กะหล่ำปลี ถั่ว แป้ง เครื่องดื่มที่มีแก๊ส อาหารแปรรูป ของทอด โดยบางชนิดอาจสารบางชนิดที่เอนไซม์ในระบบบ่อยอาหารย่อยได้ไม่ดี หรือทำให้เกิดแก๊ส 
  • คำแนะนำเบื้องต้นได้แก่ สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ไม่รัดจนแน่น แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กหลายมื้อตลอดทั้งวัน เลือกกินอาหารย่อยง่าย และอย่าปล่อยให้ท้องว่าง เพราะทำให้เกิดแก๊สได้ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

ปัญหาท้องอืดและอาหารไม่ย่อยอันน่ารำคาญนี้ เกิดจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในร่างกายคุณแม่ผลิตออกมามากในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ เพื่อคลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อเรียบทั่วร่างกาย รวมถึงระบบทางเดินอาหาร 

ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และปวดท้อง โดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหารแต่ละมื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุที่ทำให้คนท้องท้องอืด

1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของคนท้อง เพื่อให้ร่างกายได้เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อยค่ะ ในช่วงแรกท้องอืดเกิดจากระบบย่อยอาหารถูกรบกวน แล้วก็จะมีอาการอื่นๆ ตามมาเช่น แน่นท้อง และท้องผูก

2. เกิดจากการขยายตัวของมดลูก เมื่อกระเพาะอาหารที่เบียดด้วยมดลูก ทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ บางครั้งทำให้เกิดการหมักหมมในท้องจนเกิดแก๊สในท้อง

3. เกิดจากพฤติกรรมของคุณแม่เอง เช่น การเคี้ยวอาหารที่ไม่ละเอียด กินอาหารรสจัด อาหารทอด หรือผักผลไม้ที่ทำใ้เกิดแก๊สมาก

4. เกิดจากความผิดปกติอย่างอื่น เช่น โรคกระเพาะอาหาร ตับ โรคเบาหวาน และไทรอยด์

5. ทฤษฎีของสาเหตุของการย่อยรวมถึงการป้อนข้อมูลที่ผิดปกติจากเส้นประสาทรับความรู้สึกในลำไส้, การประมวลผลที่ผิดปกติของการป้อนข้อมูลจากประสาทสัมผัสและการกระตุ้นที่ผิดปกติของลำไส้โดยประสาทมอเตอร์

อาการ

อาการหลักของอาหารไม่ย่อยคือ อาการปวดท้องตอนบนหรือไม่สบาย เรอ คลื่นไส้ ท้องอืด รู้สึกอิ่มหลังจากกินอาหารเพียงเล็กน้อย (ต้นอิ่ม) อาการท้องอืด (บวม) และ บางครั้งอาเจียน อาการส่วนใหญ่มักถูกกระตุ้นจากการกิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาหารที่ทำให้คนท้องท้องอืด

1. แอปเปิ้ล: แม้ว่าแอปเปื้ลจะมีสรรพคุณในการย่อยอาหาร แต่ก็มีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เพกทิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ในระบบการย่อยอาหารของร่างกาย ในแอปเปิ้ลมีสารนี้อยู่ประมาณ 0.78% เลยทีเดียว ทำให้บางครั้งที่คุณแม่กินแอปเปิ้ลเข้าไปจะรู้สึกว่ามีแก๊สในท้องเยอะ

2. กะหล่ำปลี: คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแน่นท้องอยู่แล้ว แนะนำให้หลีกเลี่ยงกะหล่ำปลี เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นผักที่ทำให้คุณแม่ท้องอืดมากขึ้น เพราะมันจะชะลอการย่อยอาหารและทำให้เกิดอาการเสียดท้องได้

3. ถั่ว: ถั่วเป็นอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซอันดับต้นๆ คุณแม่คงได้ยินว่ากินถั่วแล้วตดเหม็นใช่ไหม ความจริงแล้วในถั่วมีน้ำตาลราฟฟิโนส ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดแก๊ส อีกทั้งยังทำให้เกิดการชะลอการย่อยอาหาร หากคุณแม่อยากกินแนะนำให้ล้างน้ำให้สะอาดก่อน

4. แป้ง: แป้งที่ทำให้เกิดแก๊สมาก ได้แก่ แป้งจาก มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวสาลี ยกเว้นข้าว

5. เครื่องดื่มที่มีแก๊ส: น้ำอัดลม โซดา และน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง

6. อาหารแปรรูป: ขนมขบเคี้ยว ซีเรียล น้ำสลัด อาหารเหล่านี้มีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลที่หลากหลาย เช่น น้ำตาลฟรุคโตสและแลคโตส ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดแก๊สได้

7. ของทอด: อาหารทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทที่ทำให้คุณแม่ท้องอืดได้

คุณแม่อาจมีอาการอาหารไม่ย่อยตลอดช่วงตั้งครรภ์ แต่ยังพอมีวิธีบรรเทาอาการให้ดีขึ้นอยู่บ้าง หรือลดความถี่ไม่ให้เป็นบ่อยเช่นเดิม ดังนี้

  • สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ และเบาสบาย ไม่รัดเอวหรือท้องจนแน่น
  • แทนที่จะกินอาหาร 3 มื้อเช่นเดิม ให้ลองแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กหลายมื้อตลอดทั้งวัน และใช้เวลากินให้นานขึ้น รวมถึงเคี้ยวอาหารให้ละเอียดกว่าที่เคย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารหรือทำให้ย่อยยาก เช่น โซดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ซึ่งควรหลีกเลี่ยงอยู่แล้วระหว่างตั้งครรภ์) เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารรสจัด ของทอด และอาหารที่มีไขมันสูง
  • ห้ามสูบบุหรี่ (แน่นอน คุณต้องหยุดให้ได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์)
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับเหมาะสมตามเกณฑ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ

คนท้องท้องอืดควรทำอย่างไรดี?

  • พยายามทานอาหารที่ย่อยง่าย กินผักและผลไม้ที่มีใยอาหารเยอะๆ หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่มีแก๊ส เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นค่ะ
  • พยายามแบ่งอาหารออกเป็นหลายๆ มื้อ เนื่องจากคนท้องเมื่อท้องโตขึ้นจะเหลือพื้นที่ในกระเพาะอาหารไม่มาก ทำให้กินได้นิดเดียวก็อิ่ม ดังนั้นคุณแม่จึงต้องทานอาหารที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวให้ละเอียดจะได้ย่อยง่าย
  • อย่าปล่อยให้ท้องว่าง เมื่อท้องว่างจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และอย่าทานอาหารรสจัด
  • เวลาจะก้มตัว ให้งอเข่าลงก่อนแทนการค้อมเอวก้มลงทั้งตัว 
  • เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ให้รออย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้วค่อยนอนหรือเอนหลัง 
  • จัดท่านอนให้ส่วนบนของร่างกายอยู่สูงกว่าส่วนล่าง โดยอาจใช้หมอนหนุนหลายใบ 
  • รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ทำตามคำแนะนำแล้วอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาหรือให้วินิจฉัยอาการอย่างละเอียด

ตัวอย่างยาแก้ท้องอืดสำหรับคนท้อง

  • ยาเม็ด : air-x, แอนตาซิล
  • ยาชงดื่ม : อีโน (ได้ผลค่อนข้างดี)
  • ยาน้ำ : อะลัมมิลค์
  • ยาสมุนไพร : ขมิ้นชัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jay W. Marks, MD, Indigestion (Dyspepsia, Upset Stomach Pain) Symptoms, Relief Remedies, and Medicine (https://www.medicinenet.com/dy...)
Debra Gussman, How can I relieve bloating and indigestion? (https://www.babycenter.com/404...

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม