กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

Hepatitis A (โรคตับอักเสบ A)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอย่างฉับพลัน มักติดต่อผ่านทางอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ยังมีไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) ที่อันตราย ควรเฝ้าระวัง
  • เชื้อไวรัสตับอักเสบเอมักพบในอุจจาระและเลือด จากนั้นจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก เช่น มือสัมผัสเชื้อแล้วไปสัมผัสอาหาร การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือทวาร
  • ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะยังไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็น เพราะเชื้อมีระยะการฟักตัวประมาณ 2-7 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงจะเริ่มแสดงอาการออกมา
  • ปกติแล้วร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอออกไปได้ภายใน 5 เดือน ปัจจุบันยังไม่มียา หรือการรักษาใดที่สามารถรักษาการติดเชื้อนี้ให้หายขาดได้
  • การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขอนามัย และการฉีดวัคซีนป้องกัน (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบได้ที่นี่)

ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย น้ำหนักราว 2.5% ของน้ำหนักตัวแต่ละคน ตับมีตำแหน่งอยู่บริเวณชายโครงขวาใต้กระบังลม เป็นอวัยวะที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก

หน้าที่ของตับ

  • เปลี่ยนแปลงสารอาหารที่รับประทานเข้าไปให้กลายเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 
  • สร้างและรีไซเคิลโปรตีนกลับมาใช้ใหม่
  • ช่วยให้เลือดแข็งตัว
  • สร้างภูมิคุ้มกันโรค
  • สร้างน้ำดี และช่วยย่อยอาหารในลำไส้
  • กำจัดเชื้อโรค  
  • สลายสารพิษและสารเคมีต่างๆ ออกจากร่างกาย

โรคไวรัสตับอักเสบเอ

โรคไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) เป็นโรคตับอักเสบประเภทหนึ่ง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอย่างฉับพลัน มักติดต่อผ่านทางอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากไวรัสชนิดนี้แล้ว ยังมีไวรัสและสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) และโรคตับแข็ง (Liver Cirrhosis)

การแพร่กระจายของโรคไวรัสตับอักเสบเอ

เชื้อไวรัสตับอักเสบเอมักพบในอุจจาระและเลือด จากนั้นจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก ซึ่งเกิดได้โดย

  • เมื่อผู้ที่ติดเชื้อสัมผัสสิ่งของ หรืออาหารหลังจากไปเข้าห้องน้ำ แล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาดเพียงพอ
  • เมื่อมีผู้ที่ไม่ได้ล้างมือให้สะอาดเพียงพอหลังจากจัดการกับผ้าอ้อม หรือทำความสะอาดอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อทางปากและทางทวารหนัก ทั้งทางตรง หรือทางอ้อม

นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ได้จากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อ อาหารที่มักทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ ได้แก่ ผลไม้ ผัก หอย ข้าว และน้ำ 

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการติดต่อแบบนี้พบได้น้อยในประเทศที่มีสุขอนามัยเหมาะสมและพัฒนาแล้ว เช่น มีการจัดการกับระบบน้ำด้วยการฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยคลอรีน

นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบเอยังไม่ติดต่อผ่านการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ เช่น การกอด การไอ หรือจาม รวมทั้งทารกจะไม่ได้รับเชื้อชนิดนี้ผ่านทางน้ำนมแม่ด้วย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเอ

  • อาศัย หรือเดินทางไปยังประเทศกำลังพัฒนาซึ่งสามารถพบเชื้อไวรัสตัวอักเสบเอได้ทั่วไป
  • อาศัยอยู่กับผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเอ
  • มีเพศสัมพันธ์ทางปากและทางทวารหนักกับผู้ที่ติดเชื้อ
  • เป็นผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน
  • มีการใช้ยาเสพติด
  • เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
  • ทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข อาหาร หรืออยู่ใกล้สิ่งปฏิกูลต่างๆ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบเอ

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอแล้ว จะยังไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นโดยทันที เพราะเชื้อจะมีระยะการฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 2-7 สัปดาห์จึงจะมีอาการแสดงออกมา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลุ่มผู้ป่วยที่จะต้องระวังให้มากคือ เด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้กว่า 70% จะไม่มีอาการแสดงออกมาว่า ตนเองติดเชื้อไวรัส กว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการ ก็ป่วยระดับรุนแรงไปแล้ว

อาการที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ มีตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรง

สำหรับอาการแสดงที่เด่นๆ ของโรคไวรัสตับอักเสบเอในผู้ใหญ่นั้น มักจะเป็น "อาการดีซ่าน" (Jaundice) หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีผิวสีเหลืองและมีตาขาวสีเหลือง 

อาการดังกล่าวจะพบในโรคไวรัสตับอักเสบเอในผู้ป่วยวัยเด็กโตและผู้ใหญ่ 

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่แสดงออกมาอีกแต่มักไม่รุนแรงมากนัก และจะมีระยะเวลาแสดงอาการอยู่ที่ 2 เดือน จากนั้นผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง แต่บางรายก็อาจมีอาการได้นานถึง 6 เดือน เช่น

การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบเอ

ในขั้นตอนแรก แพทย์จะสอบถามประวัติอาการต่างๆ ที่ผ่านมา จากนั้นจะตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น มีตับโต มีอาการกดเจ็บที่ตับหรือไม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สุดท้ายแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อไป หากมีเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ผลเลือดต่อไปนี้จะมีค่าสูงขึ้น ได้แก่

  • ระดับโปรตีนแอนติบอดี (Antibody) ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ได้แก่ อิมมูโนโกลบูลินเอ็ม(Immunoglobulin M: IgM) และอิมมูโนโกลบูลินจี (Immunoglobulin G: IgG) 
  • เอนไซม์ในตับ เช่น เอนไซม์อะลานีน ทรานซามิเนส (Alanine Transaminase: ALT)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไวรัสตับอักเสบเอ

เชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะไม่มีระยะการดำเนินโรคเรื้อรัง และไม่ก่อความผิดปกติต่อตับในระยะยาวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม โรคนี้ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เช่น

  • กลับมาเป็นโรคซ้ำอีกครั้ง เกิดในผู้ป่วยบางราย เมื่อกลับมาติดเชื้ออีกครั้งก็จะมีอาการเจ็บป่วยแบบเดิมกับที่เคยเป็นมักเกิดในช่วง 2-3 เดือนหลังจากมีการติดเชื้อครั้งแรก
  • ภาวะคั่งของน้ำดี (Cholestasis) หรือ การอักเสบของตับจากการคั่งของน้ำดี (Cholestatic Hepatitis) ภาวะนี้จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำดีและทำให้เกิดอาการดีซ่าน มีอาการคันตามร่างกายอย่างรุนแรง 
  • ภาวะตับวายรุนแรง (Fulminant Hepatitis) เป็นอาการส่วนน้อยที่หากเกิดขึ้นจะอันตรายเป็นอย่างมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่มีอาการตับวายรุนแรงจะมีอาการดังต่อไปนี้
    • มีอาการคล้ายตับอักเสบ เช่น อาการดีซ่าน คลื่นไส้ อาเจียน
    • มีอาการฟกช้ำตามร่างกาย มีภาวะเลือดออกง่าย
    • มีอาการบวม ซึ่งเกิดจากการคั่งของน้ำบริเวณแขนขา น้ำในช่องท้อง 
    • ผมร่วง
    • มีอาการมึนงง สับสน เป็นภาวะที่เรียกได้อีกชื่อว่า "ภาวะสมองเสื่อมจากโรคตับ" (Hepatic Encephalopathy)

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเอ

โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอออกไปได้เองภายใน 5 เดือน และยังไม่มียา หรือการรักษาใดที่สามารถรักษาการติดเชื้อนี้ให้หายขาดได้ 

มีเพียงยาบางชนิดที่สามารถลดอาการของโรคได้ เช่น Ibuprofen (Advil) ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดท้องได้ แต่ไม่ควรใช้ยานี้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ตับทำงานหนัก 

นอกจากนี้ผู้ป่วยยังควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาที่อาจออกฤทธิ์ทำลายตับได้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) แอสไพริน (Aspirin

หากผู้ป่วยมีอาการคันตามร่างกาย การรับประทานยาต้านฮิสทามีน (Anitihistamine) ก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้ หรือหากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ยา Reglan (Metoclopramide) อาจช่วยบรรเทาอาการได้ 

แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ยาเพื่อความปลอดภัยและลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น 

การดูแลตนเอง

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว การดูแลตนเองอย่างถูกวิธีก็เป็นอีกทางในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเอได้ เช่น  

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสมครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือกิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยเครียด เช่น อาจให้ผู้ป่วยหยุดงาน หรือถ้าเป็นผู้ป่วยเด็กก็ให้หยุดเรียนก่อน
  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เพื่อลดอาการคัน
  • อยู่ในที่อากาศเย็นและถ่ายเท 
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำร้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เพื่อลดอาการคลื่นไส้ที่อาจเกิดขึ้น
  • รับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยๆ เพื่อลดอาการคลื่นไส้ และลดโอกาสที่ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน 
  • หากผู้ป่วยอาเจียน หรือท้องเสีย ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้

การป้องกันหลังจากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

หากผู้ป่วยไม่ได้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบเอมาก่อน แต่มีการสัมผัสเชื้อเกิดขึ้น การฉีดวัคซีนอาจมีประโยชน์และช่วยป้องกันการเกิดโรคหลังจากได้รับเชื้อได้ 

การฉีดวัคซีนจะสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้อย่างเต็มที่ หลังจากผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ผู้ที่ได้รับเชื้อไปแล้วเท่านั้นที่ควรจะเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่กลุ่มคนทั่วไปตั้งแต่อายุ 1-40 ปี ก็ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลังได้รับเชื้อไวรัสด้วย 

ทั้งนี้ปริมาณการฉีดวัคซีนจะแตกต่างกันไปตามอายุของผู้เข้ารับการฉีด ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ก็สามารถเข้ารับการฉีดภูมิคุ้มกัน (Immunoglobulin) เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ 

การฉีดภูมิคุ้มกันนี้ ยังควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอดังต่อไปนี้ด้วย

  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ขวบ
  • ผู้ที่แพ้วัคซีน หรือส่วนประกอบของวัคซีน
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง

วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเอให้หายขาดได้ ดังนั้นวิธีการรักษาเพื่อให้อาการทุเลาลงและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดีที่สุดก็คือ "การฉีดวัคซีน" 

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ

  1. วัคซีนฮัฟริกซ์ (HAVRIX) เป็นวัคซีนชนิดแรกที่เข้าสู่ตลาดเมื่อ ค.ศ. 1995 มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอได้ถึง 94% 
  2. วัคซีนแวคทา (VAQTA) เข้าสู่ตลาดเมื่อ ค.ศ. 1996 มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ 100% 

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังจัดให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นวัคซีนที่ปลอดภัยและสามารถป้องกันโรคได้สูงด้วย

ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ

เด็กอายุ 1-2 ขวบ ควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเข็มแรก และจะฉีดเข็มที่ 2 หลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 6-12 เดือน แต่หากเด็กอายุเกิน 2 ขวบไปแล้วก็สามารถฉีดตามทีหลังได้ 

ส่วนผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอมาก่อนก็ควรเข้ารับการฉีดเพื่อป้องกันไว้ก่อน เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอเป็นการติดต่อกันผ่านการปนเปื้อน จึงมีความเสี่ยงสูงที่เราอาจได้รับเชื้อโดยไม่รู้ตัวระหว่างใช้ชีวิตประจำวันอยู่

นอกจากกลุ่มคนทั่วไปที่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้วยังมีกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยทันที และไม่ควรปล่อยให้ตนเองไม่มีภูมิคุ้มกัน เช่น

  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีอัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบเอสูง
  • ผู้ที่กำลังจะเดินทางไปประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบเอสูง
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันตนเองบกพร่อง 
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติด
  • ผู้ป่วยโรคเลือดไหลไม่หยุด หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ 
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจากการทำงาน เช่น จากการทำงานในห้องปฏิบัติการ อยู่ใกล้สิ่งปฏิกูลสกปรก หรือทำงานกับสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ 

สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบและจำเป็นจะต้องเดินทางไปประเทศ หรือพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบเอสูง หรือผู้ที่เลือกจะไม่รับการฉีดวัคซีน หรือมีอาการแพ้วัคซีน สามารถเข้ารับการฉีดภูมิคุ้มกันแบบ 1 ครั้ง ได้ก่อนเดินทาง 

ภูมิคุ้มกันประเภทนี้จะสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้นานถึง 3 เดือน 

วัคซีนที่ป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบี

หากใครที่กำลังมองหาวัคซีนที่ป้องกันทั้งไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบี ยังมีวัคซีนอีกชนิดที่ชื่อว่า "ทวินริกซ์" (TWINRIX) ซึ่งเป็นวัคซีนรวมการป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบีอยู่ด้วยกัน 

วัคซีนชนิดนี้เข้าสู่ตลาดเมื่อ ค.ศ. 2001 และมักจะให้วัคซีนจำนวน 3 ครั้งในช่วงเวลา 6 เดือน

ผลข้างเคียงของวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ

การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงบางอย่าง ระยะเวลาของการแสดงอาการจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 วัน ประกอบด้วย

ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีการแพ้วัคซีนรุนแรงได้ แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อย

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอออกไปได้เองภายใน 5 เดือน และยังไม่มียา หรือการรักษาใดที่สามารถรักษาการติดเชื้อนี้ให้หายขาดได้ 

ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ นอกจากการรักษาสุขอนามัยให้ดีแล้ว รักษาสุขภาพให้แข็งแรงแล้ว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอัสบเอก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
E. Franco, C. Meleleo, L. Serino, D. Sobara, L. Zaratti. (2012). "Hepatitis A: Epidemiology and Prevention in Developing Countries;" World Journal of Hepatology (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3321492/)
Hepatitis A FAQs for the Public; CDC (https://www.cdc.gov/hepatitis/A/aFAQ.htm)
Hepatitis A; World Health Organization (https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/hepatitis-a)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไวรัสตับบีต้องมียากินมั้ยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เชื้อพาหะไวรัสตับอักเสบบี มันสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่คับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคไวรัสตับรักษาให้หายขาดได้ไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบมีแบบไหนบ้างราคาเท่าไหร่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หนูเป็นไวรัสตับอักเสบบี บางโรงบาลตรวจเจอก็บอกเป็น.บางโรงบาลก็บอกไม่เป็น. โรคนี้เป็นๆหายๆได้หรอค๊ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)