หลายปีที่ผ่านมา ในแวดวงโภชนาการมีการพูดกันถึงศาสตร์ใหม่ คือ เรื่องของอาหารที่มีผลต่อยีน ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ได้ในอนาคต เรียกว่า โภชนพันธุศาสตร์ หรือ กินปรับพันธุกรรม
กินปรับพันธุกรรมคืออะไร?
เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปแล้วว่า อาหารที่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังหลายโรค อาหารจึงมีอิทธิพลต่อความสมดุลระหว่างสุขภาพและโรค ส่วนจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของยีน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นักวิจัยพบว่า องค์ประกอบของอาหารบางชนิดสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของยีนได้ ทำให้ลักษณะบางอย่างที่มีอยู่ในยีนเปลี่ยนไปรวมถึงการทำงานของยีนที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีผลต่อการเกิดโรคการดำเนินไปของโรค และความรุนแรงของโรคได้
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับความต้องการพลังงานของร่างกาย ชนิดอาหารที่บริโภค และยีนในร่างกายซึ่งเป็นที่มาของศาสตร์ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการโภชนาการ ทั้งนี้การนำความรู้ด้านนี้มาใช้ในการป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคจะช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ยีน อาหาร และ ไลฟ์สไตล์
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาถึงการทำงานที่สัมพันธ์กันของยีน อาหารและไลฟ์สไตล์ของคนเรา โดยเชื่อว่าปัจจัยทั้งสามนี้มีผลต่อสุขภาพ คือ
- คนที่มียีนผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมบางชนิดติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ภาวะกระดูพรุน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ อาหารบางชนิดมีผลต่อการทำงานของยีนที่มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม จึงอาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรค แต่อาหารบางชนิดอาจมีส่วนในการปรับปรุงยีนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาวถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
- คนที่พ่อแม่มีโรคทางพันธุกรรม แต่ตนเองยังไม่เป็นโรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน มะเร็ง การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าที่ดีทางโภชนาการอาจกระตุ้นการเกิดโรคได้ ในทางกลับกัน หากได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการที่ถูกต้อง อาจเปลี่ยนโครงสร้างของยีนให้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคและอาจลดความเสี่ยงในรุ่นลูกหลานได้มากขึ้นด้วย
ตัวอย่างเช่น ชนเผ่าอินเดียนพิม่าในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นทะเลทราย เมื่อ 100 ปีก่อน ชนเผ่านี้จะรูปร่างผอมและแข็งแรง ส่วนอาหารที่กินประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 8 - 12 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 12 - 18 เปอร์เซ็นต์ และมีใยอาหารสูงอีกด้วย อาหารส่วนใหญ่มาจากธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ รวมทั้งฟักทอง น้ำเต้า พริก พืชผักสมุนไพร ตะบองเพชร เมลอน ปลา ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าอาหารที่ชนเผ่านี้กินไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปเลย ฉะนั้นระบบเผาผลาญจึงทำงานได้ดี ทำให้พวกเขาไม่มีโรครุมเร้าอย่างชาวตะวันตก เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ แต่เมื่อถึงรุ่นลูก โลกก็เริ่มเปลี่ยนไป อาหารการกินก็เปลี่ยนตามไปด้วย ชนเผ่าอินเดียนพิม่าจึงเปลี่ยนมากินอาหารแบบชาวตะวันตก ปรากฏว่าบรรดารุ่นลูกทั้งหลายมีโรคอ้วนมากขึ้น และ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีโรคอ้วนมีเบาหวานร่วมด้วย ทั้งๆที่อายุเพียง 30 ปีเท่านั้น
นักวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไปกินอาหารแบบตะวันตกเป็นการกระตุ้นยีนที่ทำให้เกิดเบาหวาน เช่น การกินอาหารประเภทน้ำตาล ไขมันทรานส์ แป้งขัดสี อาหารแปรรูป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เมื่อพิจารณาถึงอาหารดั้งเดิมของชาวอินเดียนพิม่า พบว่า คาร์โบไฮเดรตที่กินเป็นชนิดที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ คือย่อยเป็นน้ำตาลอย่างช้าๆ นอกจากนี้ยังมีสารแทนนิน(tannin) ซึ่งเป็นสารที่มีรสขมและฝาดอย่างที่มีในเมล็ดพืชหรือเปลือกองุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกาย เช่น ต้านโรค ต้านวัย จึงจัดว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดี ช่วยให้พวกเขาไม่อ้วน นอกจากนี้ยังมีวิตามิน แร่ธาตุ สารพฤกษเคมี และสารต้านอนุมูลอิสระมากมายช่วยส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย
ส่วนอาหารแบบชาวตะวันตกมีดัชนีน้ำตาลสูง อาหารจึงถูกย่อยเร็ว ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามาก เพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานและไขมัน เมื่อเหลือใช้จึงเท่ากับว่าอาหารเหล่านั้นส่งสัญญาณให้ร่างกายทำงานในทิศทางตรงกันข้ามกับอาหารดั้งเดิมของชาวอินเดียนพิม่า คือเสริมสร้างความอ้วนและโรคภัยต่างๆ
ยีนดี ยีนไม่ดี เกี่ยวข้องกับอาหารหรือไม่?
เมื่อพูดถึงยีนหรือพันธุกรรมที่ไม่ดี คนมักจะมองคำนี้เหมือนคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้แต่ความจริงแล้วคนเรามีทั้งรหัสพันธุกรรมดีและไม่ดีฝังอยู่ในยีนหลายๆ กรณีเราสามารถปรับเปลี่ยนรหัสเหล่านี้ได้ด้วย “การเลือกกินอาหารที่ดี”
อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของยีนในกระบวนการสร้างโปรตีน โดยที่รหัสในยีนจะต้องได้รับการถ่ายทอดคำสั่งเพื่อสร้างโปรตีน ส่วนจะสร้างได้มากหรือน้อยก็ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเปิดปิดสวิทซ์การทำงานของยีน
อาหารที่เราบริโภคสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของยีนในบริเวณศูนย์บัญชาการ ซึ่งเป็นจุดที่มีการสื่อสารระหว่างสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบของยีนที่จะควบคุมอัตราการสังเคราะห์โปรตีน องค์ประกอบองอาหารอาจมีผลต่อการทำงานของยีน โดยเกาะติดกับโปรตีนที่จับกับศูนย์บัญชาการในดีเอ็นเอ องค์ประกอบบางชนิดอาจมีผลทางอ้อมต่อกลไกการสร้างโปรตีน แต่ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางใด องค์ประกอบของอาหารก็สามารถเร่งหรือชะลอการทำงานของยีนเหล่านั้นให้ผลิตโปรตีนมากหรือน้อยได้
มีตัวอย่างที่เกี่ยวกับยีนและอาหารมาเล่าสู่กันฟัง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เรื่องแรกเจมส์ ฟิกซ์ (James Fixx) หรือที่รู้จักกันในนาม จิม ฟิกซ์ (Jim Fixx) ผู้ประพันธ์หนังสือ The Complete Book of Running ซึ่งเป็นหนังสือขายดีที่ทำให้คนอเมริกันหันมาใส่ใจในการออกกำลังกาย แม้เขาจะบอกลาบุหรี่ ลดน้ำหนักลงได้ถึง 25 กิโลกรัม และหันมาวิ่งจ๊อกกิ้งเมื่ออายุ 35 ปี แต่เขากลับเสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายขณะวิ่งเมื่ออายุ 52 ปี หลังจากชันสูตรศพพบว่าเขามีหลอดเลือดแดงอุดตันถึง 3 เส้น
สิ่งที่ทุกคนกังขาคือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ได้ช่วยให้เขามีอายุยืนขึ้นเลยหรือ
เรื่องที่สองเซอร์วินสตัน เซอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นคนอ้วนมาก ดื่มจัด สูบจัด เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 เมื่ออายุ 77 ปี และ ทำงานชนิดที่คนหนุ่มยังต้องอาย เขาเสียชีวิตหลังจากฉลองวันเกิด 90 ปี ได้ 2 เดือน
เมื่อถามถึงเคล็ดลับที่มีอายุยืนและมีเรี่ยวแรงจนอายุ 90 ปี สิ่งที่เขาตอบคือ “ไม่ออกกำลังกาย” ซึ่งค้านกับการดูแลสุขภาพในยุคนี้ ถ้าเขามีไลฟ์สไตล์ที่ดีกว่านี้ เขาอาจจะมีอายุเกินร้อยปีก็ได้
คำตอบของทั้งสอบเรื่องนี้อยู่ที่ ยีน และ อาหารที่เลือกกิน
จิม ฟิกซ์ มีคอเลสเตอรอบในเลือดสูงและอาจมียีนที่จะทำให้หลอดเลือดตีบ ส่วนเซอร์วินสตัน เซอร์ชิลล์ มียีนอายุยืน และ ยีนที่ทำให้สุขภาพดีเป็นสิ่งที่ช่วยปกป้องเขา ดังนั้นแม้ว่าเขาจะเลือกกินแต่สิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ยีนกำหนดจุดด้อยหรือความอ่อนแอของสุขภาพก็จะไม่แสดงตัวทำให้เราป่วย แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อากาศที่เราหายใจ หรือสารพิษที่ได้รับ ล้วนแต่มีผลต่อชีวิตและสุขภาพของเรา
ฉะนั้นหากรู้ได้ว่าในร่างกายของเรามียีนแบบไหน ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนอาหารและไลฟ์สไตล์ตามยีนได้
อาหารมีผลต่อยีนที่กระตุ้นเซลล์มะเร็ง
ปัจจุบันเราพบว่าอาหารมีผลต่อยีนที่กระตุ้นเซลล์มะเร็ง เดิมทีผู้เชี่ยวชาญเชื่อกันว่า อาหารและปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ สามารถกระตุ้นการกลายพันธุ์หรือการเปลี่ยนแปลงของยีนได้ บางครั้งอาจนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็ง แต่ปัจจุบันเรารู้แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมีสามารถเปลี่ยนการทำงานของยีนได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในยีน
นั่นหมายความว่า สิ่งที่เรากินอาจกระตุ้นหรือยังยั้งยีน ทั้งในทางที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือป้องกันอันตรายได้
ตัวอย่างคือยีนที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งอาจจะไม่ทำงาน ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่บริโภคและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ เรื่องนี้อาจอธิบายได้จากกรณีของฝาแฝดเหมือนที่มีดีเอ็นเอเหมือนกัน แต่มีความเสี่ยงต่อโรคต่างชนิดกันได้
การจัดลำดับของรหัสในโครโมโซมที่นักวิจัยค้นพบมีความเกี่ยวพันกับอาหาร ดังนั้นในวันข้างหน้าเมื่อกินอาหาร นอกจากความหิวแล้วเรายังจะต้องพกลักษณะของยีนที่พ่อแม่ให้มาไปร่วมโต๊ะอาหารด้วยและคำแนะนำการบริโภคอาหารในอนาคตก็จะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะยีนของแต่ละคน
ปัจจุบันในต่างประเทศมีการตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อแนะนำให้บริโภคอาหารตามยีนกันแล้ว ส่วนในประเทศไทย การบริการประเภทนี้จะมีในโรงพยาบาลเอกชนและศูนย์สุขภาพความงามชั้นนำบางแห่งเท่านั้น เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เนื่องจากต้องส่งเลือดไปวิเคราะห์ในต่างประเทศ โดยนักวิจัยจะใช้ข้อมูลในรหัสของยีนในการเลือกอาหารที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานของยีน เปรียบเสมือนเรามีแผนที่สุขภาพที่จะไปสู่การมีสุขภาพที่ดีไปตลอดชีวิต
อาหารบำรุงยีน
องค์ประกอบของสารอาหารบางชนิดมีผลทางอ้อมต่อกลไกการสร้างโปรตีนและปริมาณโปรตีนที่ผลิต เพราะกระบวนการสร้างโปรตีนนั้นเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดรหัสในยีนเพื่อสร้างโปรตีนที่ต้องการหากเกิดความผิดพลาดในการถ่ายทอดรหัสก็จะได้ยีนที่ผิดปกติได้
ตัวอย่างสารอาหารที่กระตุ้นการสร้างโปรตีน
ชนิดอาหาร | สารอาหาร | ประโยชน์ |
บรอกโคลี ดอกกระหล่ำ แขนงผัก | กลูโคชิโนเลตส์ (Glucosinolates) | กระตุ้นการทำงานของยีนที่ทำหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ซึ่งหากยีนทำงานดีอยู่แล้วแต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารพิษหรือกินยาหลายชนิด ร่างกายอาจขจัดสารพิษออกได้ไม่เต็มที่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีสารกลูโคชิโนเลตต์เพิ่มขึ้น |
เจนิสตีน (Genistein) | กระตุ้นยีนที่ทำหน้าที่เพิ่มระดับเอชดีแอลซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ดีในเลือด | |
ไวน์แดง | เรสเวอราทรอล (Resveratrol) | กระตุ้นการทำงานของยีนที่ป้องกันเนื้อเยื่อถูกอนุมูลอิสระทำลาย |
ไลโคปีน (Lycopene) | ชะลอการทำงานของยีนที่กระตุ้นเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก | |
น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส | กรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma-linolenic Acid) | ลดการทำงานของยีนที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและเซลล์เนื้องอกที่อันตราย |
เคอร์คูมิน (Curcumin) | ช่วยยับยั้งยีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ | |
ปลาทะเลน้ำลึก หรือ เมล็ดแฟลกซ์ | โอเมก้า 3 (Omega-3) | ช่วยชะลอการทำงานของยีนที่ทำให้เกิดอักเสบ |
ที่กล่าวถึงมาเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าอาหารมีผลต่อการทำงานของยีน และไม่มีอาหารชนิดใดชนิดเดียวที่จะเหมาะกับทุกคนถ้าเรามีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นการเกิดโรค เพราะเราอาจได้รับปัจจัยมากมายกระตุ้นยีนไม่ดีที่มีอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช้เรื่องง่ายก็ตาม แต่ถ้าเป็นปัจจัยเดี่ยวๆ การพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด อีกวิธีหนึ่งคือการเสริมอาหารที่ร่างกายสร้างไม่ได้เพราะมีข้อจำกัดในยีนที่เกี่ยวข้อง สำหรับคนที่ไม่มีโรคพันธุกรรมก็สามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้เป็นแผนที่สร้างสุขภาพดีได้เช่นกัน
ผัดบรอกโคลีกับเต้าหู้และงาคั่ว
เมนูนี้มีบรอกโคลีและดอกกะหล่ำช่วยกระตุ้นการทำงานของยีน ซึ่งทำหน้าที่ขับสารพิษ ส่วนประโยชน์จากเต้าหู้ซึ่งมาจากถั่วเหลืองช่วยเสริมการทำงานของยีนที่ทำหน้าที่เพิ่มระดับเอชดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ดีในเลือด เมนูนี้สามารถกินคู่กับเมนูปลาทะเล เช่น ปลานึ่งหรือเผาก็ได้ จะได้กรดโอเมก้า-3 เพิ่มเติมเพื่อช่วยลดการอักเสบ
ส่วนผสม เตรียม 5 นาที ปรุง 10 นาที
บรอกโคลี 1 หัว
ดอกกะหล่ำ 1 หัว
เต้าหู้ขาว (ชนิดแข็ง) 1 แผ่น
กระเทียมฝานบาง 3 กลีบ
งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือหรือซีอิ๊วสำหรับปรุงรสเล็กน้อย
น้ำมันพืชสำหรับทอดและผัด
วิธีทำ
- หั่นบรอกโคลีและดอกกะหล่ำให้เป็นช่อเล็ก นำไปนิ่งหรือลวก โดยใช้น้ำน้อยๆ พอสุกตักขึ้น พักไว้
- หั่นเต้าหู้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแล้วทอดพอเหลือง ตักขึ้นพักไว้
- เจียวกระเทียมกับน้ำมันพอเหลือง ตักขึ้น
- นำบรอกโคลีและดอกกะหล่ำที่ลวกไว้ลงผัด ใช้ไฟแรงเติมน้ำเล็กน้อยแล้วจึงใส่เต้าหู้ทอด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวหรือเกลือจึงตักขึ้นโรยกระเทียมเจียวและงาคั่ว