กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

"กระดูกหัก" เลือกทานอาหารอย่างไรให้ฟื้นตัวเร็ว?

สารอาหารที่ช่วยฟื้นบำรุงร่างกายสำหรับคนกระดูกหัก และของที่ควรหลีกเลี่ยง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
"กระดูกหัก" เลือกทานอาหารอย่างไรให้ฟื้นตัวเร็ว?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สามารถช่วยให้กระดูกที่หักสร้างตัวขึ้นมาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • อาหารบางประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้การสร้างใหม่ของกระดูกชะลอตัวช้าลง
  • หากกระดูกหัก ควรรับประทาน โปรตีน แคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม โดยอาหารเหล่านี้มีประโยชน์หลักๆ คือ เพื่อสร้างสารโปรตีนสำหรับสร้างกระดูก ทำให้กระดูกทีหัก และร่างกายฟื้นตัวได้ดี
  • หากกระดูกหัก ควรหลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ เกลือ กาแฟ โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้กระบวนการสร้างใหม่ของกระดูกช้าลง และทำให้ไม่มีสารอาหารสำหรับสร้างกระดูกเพียงพอ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษากระดูก และข้อ

ภาวะกระดูกหักสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ประสบอุบัติเหตุรุนแรง ความเปราะบางของกระดูกเมื่ออายุมากขึ้น แต่หลังจากที่กระดูกหักแล้ว หลายคนอาจคิดว่าการรักษาคงทำได้แค่รอเวลาจนกว่ากระดูกใหม่จะสร้างขึ้นมาเท่านั้น 

แต่รู้หรือไม่ว่า การกินอาหารที่เหมาะสม และมีประโยชน์ อาจช่วยให้กระดูกกลับมาสมานกันได้เร็วขึ้นและสามารถเชื่อมต่อกันได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาหารสำหรับผู้ที่กระดูกหัก

หากอยู่ในระยะฟื้นตัว ร่างกายจะต้องการสารอาหารมาเพื่อบำรุงส่วนที่สึกหรอ ฉะนั้นควรเลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการดังต่อไปนี้

1. แคลเซียม

แคลเซียมมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างกระดูกที่แข็งแรงให้เรา ดังนั้นการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีแคลเซียมสามารถช่วยเยียวยากระดูกที่หักได้ ซึ่งผู้ใหญ่ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม

โดยสามารถหาแคลเซียมได้จากอาหารดังต่อไปนี้

  • นม
  • โยเกิร์ต
  • ชีส
  • คอททาจชีส
  • บรอกโคลี
  • เทอร์นิพ
  • ผักเคล
  • ผักกาดกวางตุ้ง
  • ถั่วเหลือง
  • ถั่วฝัก
  • ทูนากระป๋อง
  • แซลมอน
  • นมอัลมอนด์
  • ซีเรียลหรือน้ำผลไม้แบบฟอร์ติไฟด์

ส่วนอาหารเสริม หรือวิตามินเสริมด้านแคลเซียม แพทย์จะเป็นผู้แนะนำเองว่า คุณจำเป็นต้องรับประทานแคลเซียมแบบอาหารเสริมหรือไม่ และต้องรับประทานปริมาณท่าไร

2. โปรตีน

เมื่อกระดูกหัก ร่างกายจำเป็นต้องได้รับโปรตีนเพื่อสร้างกระดูกใหม่ เนื่องจากโครงสร้างของกระดูกประมาณครึ่งหนึ่งมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้มันยังช่วยให้ร่างกายได้รับและใช้แคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อการมีกระดูกที่แข็งแรง

อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน อาจมีดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เนื้อ 
  • ปลา 
  • นม 
  • ชีส 
  • คอททาจชีส 
  • โยเกิร์ต 
  • ถั่วเปลือกแข็ง 
  • เมล็ดพันธุ์ 
  • ถั่วฝัก 
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง 
  • ซีเรียลฟอร์ติไฟด์

3. วิตามินดี

วิตามินดีมีส่วนช่วยให้เลือดรับ และใช้แคลเซียมรวมถึงสร้างแร่ธาตุในกระดูก ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังกระดูกหัก ควรได้รับวิตามินดีอย่างน้อย 600 IU ต่อวัน และคนที่มีอายุเกิน 70 ปี ควรได้รับสารอาหารชนิดนี้อย่างน้อยวันละ 800 IU

อาหารที่เป็นแหล่งวิตามินดี อาจมีดังนี้

  • ปลากระโทงดาบ 
  • แซลมอน 
  • น้ำมันตับปลา 
  • ปลาซาร์ดีน 
  • ตับ 
  • นมและโยเกิร์ตแบบฟอร์ติไฟด์ 
  • ไข่แดง 
  • น้ำส้มแบบฟอร์ติไฟด์

นอกจากการรับวิตามินดีจากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถรับวิตามินดีเมื่อแสงแดดสัมผัสกับผิว ดังนั้นการใช้เวลาอยู่นอกบ้านวันละ 15 นาทีจึงเป็นความคิดที่ดี 

4. โพแทสเซียม

การรับประทานแร่ธาตุชนิดนี้อย่างเพียงพอจะช่วยให้คุณไม่เสียแคลเซียมเมื่อปัสสาวะ ซึ่งมีผลไม้สดหลายชนิดที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม

  • กล้วย 
  • น้ำส้มคั้น 
  • มันฝรั่ง 
  • ถั่วเปลือกแข็ง 
  • เมล็ดพันธุ์ 
  • ปลา 
  • เนื้อ 
  • นม

หากคุณไม่แน่ใจว่า ร่างกายของตนเองมีสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอหรือยัง การไปตรวจสุขภาพ หรือตรวจวิตามิน ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีเพื่อให้คุณได้รู้ว่า ตนเองจะต้องปรับมื้ออาหารที่ตนเองรับประทานทุกวันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพร่างกาย

5. วิตามินซี

วิตามินซีช่วยร่างกายผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญสำหรับกระดูก ทำให้กระดูกที่หักหายเป็นปกติ ซึ่งคุณสามารถพบวิตามินซีได้ในผลไม้และผักหลายชนิด เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ส้ม 
  • กีวี 
  • เบอร์รี 
  • น้ำมะเขือเทศ 
  • พริกไทย 
  • มันฝรั่ง 
  • ผักสีเขียว

แต่ทั้งนี้การบ่มหรือนำอาหารเหล่านี้ไปผ่านความร้อนสามารถทำให้วิตามินซีสลายไปได้ ทางที่ดีให้คุณรับประทานแบบสดหรือแช่แข็ง

6. ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญในการทำเซลล์เม็ดเลือดแดงมีคุณภาพเพียงพอที่จะไปเลี้ยงบำรุงบาดแผลต่างๆ ธาตุเหล็กช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนเพื่อสร้างกระดูกใหม่อีกครั้ง อีกทั้งยังช่วยให้ออกซิเจนเข้าไปในกระดูกเพื่อช่วยในการเยียวยาได้

โดยธาตุเหล็กมีอยู่ในอาหารดังต่อไปนี้ 

  • เนื้อแดง 
  • ไก่งวง 
  • น้ำมันปลา 
  • ไข่ 
  • ผลไม้แห้ง 
  • ผักใบเขียว 
  • ขนมปังโฮลเกรน 
  • ซีเรียลแบบฟอร์ติไฟด์

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ในช่วงที่คุณกำลังรักษาตัว อาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้

1. แอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่กระดูกหักจะไปชะลอกระบวนการเยียวยากระดูก กระดูกจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้ช้าลง นอกจากนี้มันยังทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสให้คุณลื่นล้มระหว่างเดินไปห้องน้ำหรือบาดเจ็บที่กระดูกเดิมมากขึ้น

2. กาแฟ

การดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวันสามารถชะลอการฟื้นตัวของกระดูกเล็กน้อย รวมถึงยังทำให้คุณปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งหมายความว่าแคลเซียมจะถูกขับออกผ่านทางปัสสาวะมากขึ้น แต่การดื่มกาแฟหรือชาปริมาณปานกลางก็ยังเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

3. เกลือ

การใส่เกลือในอาหารมากเกินไปสามารถทำให้คุณสูญเสียแคลเซียมในปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งเกลืออาจแฝงอยู่ในอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีรสเค็มเช่นกัน ดังนั้นคุณควรตรวจสอบสลากของอาหารก่อนซื้อ และจำกัดการรับประทานเกลือให้ได้ประมาณ 1 ช้อนชา หรือ 6 กรัมต่อวัน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณจะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดว่า กระดูกของคุณจะกลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้นหรือช้าลง 

หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับภาวะกระดูกหัก คุณก็อย่าลืมบำรุงกระดูกโดยรับประทานอาหารที่เรากล่าวไป และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพกระดูก เพื่อที่คุณจะได้กลับมามีกระดูกที่แข็งแรงได้ในเร็ววัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษากระดูก และข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม