กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในภาวะสมองเสื่อม และเป็นโรคพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคสมองเสื่อมอื่นๆ 
  • โรคอัลไซเมอร์เกิดจากเซลล์สมองตาย หรือหยุดการทำงาน ทำให้สมองเสื่อมลง ส่งผลถึงความจำ ความคิด พฤติกรรม และการดำเนินชีวิต
  • อาการในระยะแรกอาจเพียงหลงๆ ลืมๆ ย้ำคิดย้ำทำ ตัดสินใจผิดพลาด จากนั้นอาการจะรุนแรงขึ้นตามลำดับ และรุนแรงที่สุดในระยะที่ 3 จนอาจทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  • สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติและความไม่สมดุลของสารเคมีสื่อประสาท  
  • อัลไซเมอร์ยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่มีวิธีป้องกันได้คือ รับประทานอาหารบำรุงสมอง ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิด หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ  (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

อัลไซเมอร์เป็นโรคที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินมาก่อนว่า เป็นโรคเกี่ยวกับความจำที่สั้นลง ทำให้หลงลืมสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่ายจนส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันหลายอย่าง

รู้จักโรคอัลไซเมอร์ 

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เกิดจากการตายของเซลล์ในสมอง หรือเกิดจากเซลล์ในสมองหยุดการทำงานเอง จึงมีผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลงจนเสื่อมตัว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากสมองมีการเสื่อมตัวมากขึ้น หรือไม่ได้รับการรักษาในระยะเวลาภายใน 8-10 ปี ความเสื่อมของสมองผู้ป่วยก็จะรุนแรงและลุกลามได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและอาจเกิดอันตรายได้

ความแตกต่างระหว่างโรคอัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อม

หลายคนอาจสับสนระหว่าง "โรคอัลไซเมอร์" กับ "ภาวะสมองเสื่อม" ว่า เป็นภาวะ หรือโรคเดียวกันหรือไม่

จริงๆ แล้ว ทั้ง 2 ภาวะนี้มีความหมายแตกต่างกัน โดย "ภาวะสมองเสื่อม" จะเป็นคำเรียกภาวะกว้างๆ เกี่ยวกับการสูญเสีย หรือความสามารถที่ลดลงของสมอง ซึ่งเกี่ยวกับความทรงจำ ความคิด ภาษา การตัดสินใจ และพฤติกรรม ไม่ได้เจาะจงว่า เป็นโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น

ดังนั้นโรคอัลไซเมอร์จึงจัดเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในภาวะสมองเสื่อมและยังพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ด้วย 

ทั้งนี้พบว่า ในจำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด มีผู้ป่วยถึง 60-80% ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ 

อาการของโรคอัลไซเมอร์

ยิ่งระยะเวลาผ่านไป อาการของโรคอัลไซเมอร์จะค่อยๆ แสดงออกให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยทั่วไปอาการของโรคอัลไซเมอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลัก ๆ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. อาการระยะเริ่มแรก 

ในระยะเริ่มแรก อาการหลักของโรคอัลไซเมอร์คือ ผู้ป่วยจะเริ่มความจำเสื่อม มีอาการหลงลืมในสิ่งที่ต้องทำ หรือเห็นอยู่เป็นประจำทุกวัน เช่น

  • ลืมบทสนทนาที่จะพูด 
  • ลืมเหตุการณ์ล่าสุดที่เพิ่งเจอมา
  • ลืมชื่อสถานที่ วัตถุ 
  • มีปัญหาในการคิดคำพูดที่ถูกต้อง
  • ย้ำคิดย้ำทำเป็นประจำ เช่น ถามคำถามเดิมๆ หลายครั้ง
  • มักตัดสินใจผิดพลาด หรือไม่สามารถตัดสินใจได้
  • ปรับตัวเข้ากับสิ่งรอบตัวได้ช้าลง 
  • ลังเลที่จะลองสิ่งใหม่ๆ
  • มีสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น มีการตื่นตระหนก เกิดอาการสับสนขึ้นเป็นระยะๆ 

2. อาการระยะปานกลาง

ผู้ป่วยจะเริ่มสับสนและมึนงงกับสิ่งรอบตัวและใกล้ตัวมากขึ้น เช่น ไม่ทราบว่าตอนนี้เวลากี่โมง วันนี้เป็นวันอะไร หลงทางทั้งๆ ที่ก็เคยเดินทางในเส้นทางนี้อยู่บ่อยๆ 

นอกจากนี้ยังมีอีกอาการอื่นๆ ที่แสดงออกมาอีก เช่น

  • เกิดภาวะย้ำคิด ย้ำทำซ้ำๆ 
  • เกิดอาการหลงผิด รู้สึกหวาดระแวง และสงสัยในผู้ดูแล หรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัว
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด หรือภาษา (Aphasia)
  • นอนหลับไม่เต็มที่
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ เช่น อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ บ่อยครั้ง เกิดอาการซึมเศร้าและความรู้สึกกังวลมากขึ้น ผิดหวัง หรือกระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข
  • ยากที่จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ หรือการคำนวณระยะทาง เช่น การกะระยะทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
  • เกิดภาพหลอน

3. อาการระยะสุดท้าย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในระยะหลังๆ ของโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยจะมีอาการจะรุนแรงขึ้น ดังนี้

  • มีอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา แต่อาการนี้อาจเกิดขึ้นแบบเป็นๆ หายๆ ตลอดช่วงที่เจ็บป่วย 
  • เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก (Dysphagia)
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือเรียกร้องความสนใจ
  • ยากที่จะเคลื่อนที่ หรือเดินไปรอบๆ ได้ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว แม้จะรับประทานอาหารมากขึ้นก็ตาม
  • กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะ หรืออุจจาระเล็ด (Urinary or Bowel incontinence)
  • สูญเสียความสามารถในการสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถเรียบเรียงคำพูดสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจได้
  • เกิดปัญหาทั้งความจำระยะสั้น และระยะยาว

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองฝ่อลง ทำให้มีผลกระทบต่อโครงสร้างและหน้าที่ของพื้นที่สมองในส่วนนั้นๆ 

ปัจจุบันยังไม่สามารถทราบอย่างแน่ชัดได้ว่า "กระบวนการฝ่อตัวของสมองเริ่มต้นขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากอะไร" แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบดังนี้ 

ในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมี "กลุ่มแผ่นแอมีลอยด์ (Amyloid plaques)" ซึ่งเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ และความไม่สมดุลของสารเคมีสื่อประสาทที่ชื่อว่า "อะซีทิลคอลีน (Acetylcholine)"

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น เช่น

วิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่จะมียาบางชนิดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เช่น ได้ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase inhibitor) ได้แก่

  • โดเนเพซิล (Donepezil)
  • กาลันตาไมน์ (Galantamine)
  • ไรวาสติกไมน์ (Rivastigmine)

แต่หากระยะอาการของผู้ป่วยเริ่มรุนแรงมากขึ้นและสารสื่อประสาทอะซีทิลคอลีนผลิตได้น้อยลง ตัวยาเหล่านี้ก็ไม่มีผลช่วยในการรักษาต่อได้ 

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้ยังอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ โดยมักจะเกิดกับระบบทางเดินอาหารเสียส่วนมาก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

  • เมเมนไทน์ (Memantine) เป็นยาในกลุ่ม N-methyl D-aspartate antagonist ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะรุนแรงซึ่งมีปริมาณสารสื่อประสาทกลูตาเมต (Glutamate) มากเกินไป จนทำให้เซลล์ในสมองของผู้ป่วยถูกทำลาย แม้ว่า สารสื่อประสาทดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำ แต่หากมีมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้ สำหรับผลข้างเคียงของยาเมเมนไทน์ประกอบด้วยอาการท้องผูก ปวดหัว รู้สึกวิงเวียน และสับสน
  • โดเนเพซิล + เมเมนไทน์ (Donepezil+ Memantine) เป็นยาที่ได้รับการผสมกันระหว่างกลุ่มยาโคลีนเอสเทอราส อินฮิบิเตอร์ และกลุ่มยา N-methyl D-aspartate antagonist เป็นยาชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติสามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ทุกระยะ 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีสั่งจ่ายยาที่กล่าวไปข้างต้นเพื่อบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์แล้ว แพทย์อาจมีการสั่งจ่ายยากลุ่มอื่นๆ เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากโรคอัลไซเมอร์ด้วย เช่น 

การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ คือ รูปแบบหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมและความจำเสื่อม ภาวะนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความจำและทักษะการใช้ชีวิตที่ถดถอยลงอย่างช้าๆ และอย่างต่อเนื่อง 

เมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยก็จะไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม การสื่อสาร หรือกิจวัตรประจำวันของตนเองได้

ดังนั้นเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไม่แย่ลง ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จึงควรมีผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยชะลออาการของโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้และทำให้อาการของโรคไม่บั่นทอนความปลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้น เช่น 

  • ลืมปิดเตาแก๊ส
  • ลืมว่า ยา หรือสารใดที่อยู่ในบ้านก่อให้เกิดอันตรายได้
  • ไม่เข้าใจเรื่องเวลาและสถานที่ เช่น จำบริเวณรอบบ้านไม่ได้ หลงทางขณะเดินอยู่บนถนนแถวบ้าน หรือเดินออกจากบ้านเอง
  • มีความสามารถในการตัดสินใจที่ลดลง เช่น ใช้อุปกรณ์ภายในบ้านอย่างผิดวิธี
  • สับสน หวาดระแวง หรือหวาดกลัวง่ายขึ้น
  • มีการรับรู้ข้อมูลใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไป

เคล็ดลับการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

สำหรับเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ดีขึ้น และทำให้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยอยู่ในความปลอดภัยขึ้น ได้แก่

  • ติดตั้งสัญญาณเตือนเมื่อมีควัน หรือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) ทั่วทั้งบ้าน 
  • ปิดสวิตซ์เตาแก๊ส 
  • ติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟฟ้า 
  • ใช้ที่ครอบปลั๊กไฟเมื่อไม่ได้ใช้งาน 
  • ติดตั้งราวบันไดและราวเกาะในห้องน้ำที่แข็งแรง 
  • เก็บปืน อาวุธอันตราย ยา น้ำยาทำความสะอาด กระป๋องน้ำมัน และแอลกอฮอล์ในที่ปลอดภัย มิดชิดและปิดล็อคไว้เสมอ
  • เคลื่อนย้ายสิ่งของที่อาจทำให้สะดุดล้มให้อยู่ในมุมที่เหมาะสม เช่น โต๊ะกาแฟ เก้าอี้ ชั้นวางของ
  • ทำให้ภายในบ้านมีแสงสว่างอยู่เสมอ 
  • ติดป้ายอธิบายเกี่ยวการใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้านไว้ให้ผู้ป่วยอ่าน และควรอยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย เช่น การทำกิจวัตร ควรไปที่ไหน หรือควรระวังอะไร
  • ทาสีผนังและพื้นห้องด้วยสีที่ต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น
  • ไม่ใช้ผ้าม่านและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่มีการออกแบบ หรือมีลวดลายซับซ้อน
  • ทดสอบน้ำที่ใช้ทุกที่ในบ้านว่า มีอุณหภูมิน้อยกว่า 120 องศาฟาเรนไฮต์
  • ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารในบ้านบ่อยๆ
  • เก็บสิ่งของที่ผู้ป่วยอาจจะเข้าใจผิดให้พ้นมือ เช่น ยาสีฟันซึ่งอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร
  • ลดระดับเสียงพูดและดนตรีให้เบาลง เพื่อเน้นให้ผู้ป่วยได้ฟังการพูดสื่อสารระหว่างผู้ดูแลได้ชัดๆ

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์

ถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่มีวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ให้เกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด แต่หากคุณรู้จักวิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะความจำสั้นหรือภาวะสมองเสื่อม และทำให้สมองมีความจำที่ดีขึ้นได้ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็จะยิ่งน้อยลงไป เช่น

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น ดื่มเหล้าจัด สูบบุหรี่ 
  • หากิจกรรมเพื่อฝึกฝนสมองบ้าง เพื่อให้สมองได้ใช้ความคิดและต้องรู้จักจำข้อมูลบางอย่าง เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ที่ต้องใช้การวางแผนและตัดสินใจ เช่น หมากรุก หมากฮอส คิดเลข
  • หากิจกรรมที่ทำให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องเชื่อมโยงกัน อาจเป็นการออกกำลังกาย หรือเต้นแอโรบิค เล่นโยคะ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ให้ได้อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์)
  • ไม่เก็บตัวเงียบ ลองเข้าสังคม หรือพบปะผู้คนบ้าง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ไม่นอนดึกเกินไปเพราะจะทำให้สมองอ่อนล้า
  • หัดฝึกสมาธิ มีสติเมื่อต้องลงมือทำสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ เพื่อติดตามดูความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ไปด้วย

โรคอัลไซเมอร์จะคลายความน่ากลัวและชะลอความรุนแรงของอาการลงได้ หากคนรอบข้าง ผู้ดูแล รวมทั้งผู้ป่วยมีความรู้จักและเข้าใจในตัวโรคอย่างแท้จริง 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Roy, D. S., Arons, A., Mitchell, T. and Ryan T. J., & Tonegawa, S. (2016, March 24), Memory retrieval by activating engram cells in mouse models of early Alzheimer's disease [Abstract]. Nature 531, 508–512 (https://www.nature.com/articles/nature17172), 17 December 2019.
Ritchie, K., Ritchi, C. W. and Skoog, I., & Scarmeas, N. (2015, September), Is late-onset Alzheimer's disease really a disease of midlife? [Abstract]. Alzheimer's and dementia: Translational research and clinical interventions, 1(2), 122-130 (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S235287371500013X), 17 December 2019.
National Health Service, Alzheimer’s disease (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/), 17 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ต้องดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ แบบไหนคะ หรือมียาอะไรที่มีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แพทย์เชี่ยวชาญโรคด้านสมอง อัลไซเมอร์
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการหลงลืม แบบลืมบางเรื่องไปเลยถ้าไม่มีใครถามหรือเตือน อาการแบบนี้ จะทำให้เป็นอัลไซเมอร์หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคอัลไซเมอร์มีวิธีแก้อย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
กล้วยช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์รึเปล่าคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
จะเป็นไปได้ไหมคะ ที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะสามารถทำอนาจาร ลามกได้
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)