อาการไม่สบายที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์ เช่น แพ้ท้อง อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก แสบร้อนกลางอก เป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ระหว่างการตั้งครรภ์ โดยบทความนี้จะนำเสนอข้อแนะนำต่างๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้ด้วยตนเองก่อนที่จะไปพบแพทย์
ระหว่างการตั้งครรภ์คุณอาจมีอาการไม่สบายหลายอย่าง บางครั้งมีอาการไม่นาน แต่บางครั้งก็มีอาการนานมาก ซึ่งจะมีทั้งอาการที่พบในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงใกล้คลอด หรือบางอาการพบได้ในช่วงแรกและหายไป ก่อนกลับมามีอาการอีกครั้งในระยะหลังๆ ของการตั้งครรภ์ก็ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงแต่ละรายนั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว ดังนั้นคุณอาจไม่พบการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดตามที่อธิบายไว้ในบทความนี้ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณ และทำให้คุณรู้สึกกังวล ให้แจ้งเรื่องนี้ให้แพทย์ทราบเสมอ อาการต่อไปนี้เป็นเรื่องปกติที่พบได้ระหว่างการตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของหน้าอก
หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับหน้าอก โดยหน้าอกจะขยายขนาดขึ้นตามขนาดของต่อมน้ำนมและเนื้อเยื่อไขมันที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้หน้าอกตึงแน่นในช่วงเดือนแรกและเดือนท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ หัวนมจะมีสีเข้มขึ้น และบางครั้งอาจมีของเหลวเหนียวๆ ไหลออกจากเต้านมได้ เราเรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ colostrum การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องปกติ
คำแนะนำ:
- สวมยกทรงที่กระชับพอดีตัว
- เลือกยกทรงที่ทำจากผ้าฝ้าย (cotton) หรือผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ
- สวมยกทรงที่ใหญ่ขึ้นเมื่อขนาดหน้าอกของคุณใหญ่ขึ้น โดยยกทรงที่สวมใส่นั้นควรมีขนาดพอดีโดยไม่ทำให้หัวนมเกิดการระคายเคือง
- ลองสวมยกทรงในช่วงเวลากลางคืน
- ใส่ผ้าเช็ดหน้าที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าก๊อซลงในด้านในของยกทรงเพื่อดูดซับของเหลวที่ไหลออกจากเต้านมของคุณ และให้เปลี่ยนแผ่นรองเหล่านี้ตามต้องการเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวระคายเคือง
- ล้างหน้าอกด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อนจะไม่ทำให้ผิวแห้ง
อาการอ่อนเพลีย
รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียหรือไม่ ซึ่งอาการเหนื่อย อ่อนเพลียนี้อาจเกิดจากทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโตต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ในบางครั้งอาจเป็นอาการของโรคโลหิตจาง (ธาตุเหล็กในเลือดมีปริมาณต่ำ) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์
คำแนะนำ:
- พักผ่อนให้เต็มที่ เข้านอนให้เร็วขึ้น และมีการพักหลับระหว่างวัน
- ทำตามแผนการในแต่ละวันให้คล้ายๆ กัน หากเป็นไปได้
- พยายามรักษาสมดุลระหว่างกิจกรรมและการพักผ่อน
- การออกกำลังระดับปานกลางจะช่วยเพิ่มระดับพลังงานของคุณได้
- สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อคัดกรองโรคโลหิตจาง
อาการแพ้ท้อง (คลื่นไส้ อาเจียน)
เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่จะพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ขณะตั้งครรภ์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังมีระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น
ข่าวดี: อาการคลื่นไส้อาเจียน หรืออาการแพ้ท้องมักจะดีขึ้นและหายไปในเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ (แต่ในผู้หญิงบางรายอาจมีอาการแพ้ท้องไปตลอดการตั้งครรภ์) ผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้องได้ตลอดทั้งวัน แต่มักมีอาการแย่ลงในช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ท้องว่าง เราเรียกว่า อาการแพ้ท้อง หรือ morning sickness หรือเกิดในขณะที่คุณรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
คำแนะนำ:
- ถ้าอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดขึ้นในช่วงเช้า แนะนำให้รับประทานอาหารแห้ง เช่น ซีเรียล ขนมปังปิ้ง หรือแครกเกอร์ ก่อนลุกจากเตียงนอน และให้ลองรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือชีส ก่อนเข้านอน (เพราะโปรตีนจะใช้เวลาในการย่อยนานกว่าอาหารอื่นๆ)
- ถ้าคุณรู้สึกหิว แต่ก็รู้สึกคลื่นไส้มากเช่นกัน แนะนำให้ลองรับประทาน กล้วย ข้าว และน้ำชา รวมทั้งอาหารอ่อนอื่นๆ
- น้ำขิงอาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้
- รับประทานอาหารอาหารมื้อเล็กๆ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อต่อวันเหมือนก่อนตั้งครรภ์ และให้รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
- จิบเครื่องดื่มตลอดทั้งวัน หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจำนวนมากในครั้งเดียว ลองรับประทานน้ำผลไม้ใสแช่เย็น เช่น น้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำองุ่น
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด อาหารทอด หรืออาหารมัน
- หากคุณรู้สึกเหม็นกลิ่นอาหารบางชนิด แนะนำให้รับประทานอาหารที่เย็นแล้ว หรืออาหารที่มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้องเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงการรู้สึกเหม็นกลิ่นอาหาร
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานวิตามินบี 6 รวมถึงการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ และการรักษาด้วยยาอื่นๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้
- ให้ปรึกษาแพทย์ทันที หากคุณมีอาการอาเจียนบ่อยครั้งมากหรือมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถที่จะเก็บกักอาหารหรือของเหลวไว้ในกระเพาะอาหารได้เลย ซึ่งจะทำให้คุณเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ และควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ปัสสาวะบ่อย
ในระหว่างการตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัวขึ้นและทารกที่มีขนาดตัวใหญ่ขึ้น จะสร้างแรงกดเบียดไปที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยครั้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) และจะพบอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารกกลับหัวลงมาอยู่ในตำแหน่งของอุ้งเชิงกรานเพื่อรอการคลอด
คำแนะนำ:
- อย่าสวมใส่ชุดชั้นใน กางเกง ที่รัดรูปมากเกินไป
- ถ้ามีอาการปัสสาวะแสบขัด คัน อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ กรณีนี้ให้พบแพทย์เพื่อรักษาทันที
ปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะสามารถพบได้ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ท้องผูก หรือในบางกรณี อาจเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ (ตรวจพบได้หลังจากตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์)
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คำแนะนำ:
- นำถุงเจลความเย็นประคบที่หน้าผากหรือที่บริเวณด้านหลังของลำคอ
- นั่งพักผ่อน หรือนอนพักผ่อนในห้องที่มีแสงน้อย ปิดตาและพยายามผ่อนคลายหลัง ลำคอ และหัวไหล่
- ยาแก้ปวดได้แก่ ยาพาราเซตามอล อาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าอาการปวดศีรษะของคุณไม่หายไป เป็นรุนแรง ทำให้คลื่นไส้อาเจียน หรือส่งผลต่อการมองเห็น ให้ไปพบแพทย์
เหงือกบวมและมีเลือดออก
คุณอาจคาดไม่ถึงว่าการตั้งครรภ์จะส่งผลต่อสุขภาพปากด้วย แต่การไหลเวียนเลือดและระดับฮอร์โมนในร่างกายจะส่งผลให้เหงือกปวดและบวมได้ และคุณอาจรู้สึกว่าเหงือกมีเลือดออกง่ายขึ้น และอาจพบเลือกกำเดาไหลทางจมูกด้วย
คำแนะนำ:
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากในช่วงแรกของการตั้งครรภ์เพื่อให้มั่นใจว่าปากและฟันมีสุขภาพแข็งแรง และถ้าพบความผิดปกติใดๆ ในช่องปากระหว่างตั้งครรภ์ ให้ไปพบทันตแพทย์
- แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อทุกวัน
ท้องผูก
คุณมีอาการท้องผูกหรือไม่? อาการท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน
ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป, วิตามินและธาตุเหล็กที่รับประทานขณะตั้งครรภ์สามารถทำให้มีอาการท้องผูกได้ (คือมีอาการถ่ายอุจจาระลำบาก รู้สึกถ่ายไม่สุด อุจจาระแข็ง ถ่ายอุจจาระน้อยครั้ง) และแรงกดจากมดลูกไปที่ลำไส้ใหญ่ก็สามารถทำให้มีอาการท้องผูกได้
คำแนะนำ:
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ขัดสี ผักและผลไม้
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และน้ำผลไม้หรือน้ำลูกพรุนวันละ 1-2 แก้ว
- ดื่มน้ำอุ่น โดยเฉพาะในช่วงเช้าของวัน
- ออกกำลังกายทุกวัน
- ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาระบายขณะตั้งครรภ์
เวียนศีรษะ
อาการเวียนศีรษะสามารถพบได้ในช่วงกลางและช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ อันมีสาเหตุมาจาก:
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) จะไปขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไปคั่งอยู่ที่บริเวณขา
- จะมีเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนท่าทาง ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำด้วย ก็จะมีอาการเวียนศีรษะด้วยเช่นกัน
คำแนะนำ:
- เดินไปเดินมาบ้าง ถ้าต้องยืนเป็นเวลานาน
- นอนตะแคงซ้าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างกะทันหัน หากต้องเปลี่ยนจากท่านั่งมาเป็นท่ายืน ให้ค่อยๆ ทำอย่างช้าๆ
- รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ดื่มน้ำมากๆ ตลอดทั้งวัน
นอนหลับยาก
เป็นเรื่องยากที่จะค้นหาท่านอนที่รู้สึกสบายในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์
คำแนะนำ:
- อย่ารับประทานยานอนหลับ
- ให้ลองดื่มนมอุ่นก่อนนอน
- ให้ลองอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำอุ่นก่อนนอน
- ใช้หมอนเสริมเพื่อรองรับขณะนอนหลับ นอนตะแคงข้าง วางหมอนไว้ใต้ศีรษะ ใต้ท้อง ด้านหลัง และระหว่างเข่า เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ซึ่งจะช่วยให้คุณพักผ่อนได้ตามที่คุณต้องการ
- คุณอาจรู้สึกดีขึ้นเมื่อนอนตะแคงซ้าย เพราะจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
แสบร้อนกลางอกหรืออาหารไม่ย่อย
อาการแสบร้อนกลางอก เป็นอาการที่จะเริ่มรู้สึกจากกระเพาะอาหารลามขึ้นมาจนถึงลำคอ ระหว่างการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ทำให้หูรูดกระเพาะอาหารหย่อนตัว มดลูกสร้างแรงกดเบียดกระเพาะอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหาร จึงมีอาการแสบร้อนกลางอกเกิดขึ้น
คำแนะนำ:
- รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อต่อวัน แทนที่จะรับประทาน 3 มื้อใหญ่
- รับประทานอาหารช้าๆ
- ดื่มเครื่องดื่มอุ่น
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด เผ็ด หรือรับประทานอาหารเยอะเกินไป หรืออาหารที่มีโอกาสทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
- ไม่นอนราบลงทันทีภายหลังรับประทานอาหาร
- นอนยกหัวสูงกว่าเท้า หรือเสริมหมอนไว้ใต้หัวไหล่ เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอ
- ไม่รับประทานอาหารทั้งมันและหวานในมื้อเดียวกัน และให้ลองแยกอาหารระหว่างอาหารเหลวและอาหารแข็งออกจากกัน
- หากมีอาการแสบร้อนกลางอก ให้ลองรับประทานยาบรรเทาอาหาร ได้แก่ ยาลดกรดที่มีขายตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ
ริดสีดวงทวารหนัก
ริดสีดวงทวารหนัก คือ เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักบวม มีอาการปวด และมีติ่งยื่นที่บริเวณทวารหนัก ระหว่างการตั้งครรภ์ ริดสีดวงอาจเกิดจากการไหลเวียนเลือดที่เพิ่มขึ้น และแรงเบียดจากทารกที่ตัวโตขึ้นมาเบียดที่ลำไส้ใหญ่และช่องคลอด
คำแนะนำ:
- พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอาการท้องผูก เพราะท้องผูกจะทำให้อุจจาระแข็งและทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก และทำให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน แนะนำให้เปลี่ยนท่าทางให้บ่อยครั้ง
- ไม่เกร็งระหว่างที่รู้สึกว่าลำไส้กำลังเคลื่อนไหว
- ประคบเย็น หรือประคบด้วยถุงน้ำแข็งที่บริเวณที่ปวด หรือแช่น้ำอุ่น เพื่อบรรเทาอาการ
- หลีกเลี่ยงการสวมชุดชั้นใน หรือกางเกงที่รัดรูปมากเกินไป
- หากอาการไม่ดีขึ้น และต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
เส้นเลือดขอด
การตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือด ทำให้เส้นเลือดที่ขาบวมหรือขยายขนาดขึ้น
คำแนะนำ:
แม้ว่าอาการเส้นเลือดขอดมักมาจากกรรมพันธุ์ แต่ก็มีเคล็ดลับบางอย่างในการป้องกันไม่ให้เกิดได้:
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานาน สิ่งสำคัญคือต้องลุกขึ้นและเดินบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในตำแหน่งใดๆ ที่จำกัดการไหลเวียนเลือดที่ขา เช่น นั่งขัดสมาธิ
- ยกขาและเท้าขึ้นขณะนั่ง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- สวมถุงเท้ายาวที่กระชับ แต่ไม่แน่น หรือคับเกินไป
ตะคริวที่ขา
แรงกดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นสามารถทำให้เกิดตะคริวที่ขาหรือปวดร้าวมาที่ขา
คำแนะนำ:
- รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม ผักบล็อกโคลี่ หรือชีส
- สวมรองเท้าที่สบาย และส้นเตี้ย
- สวมถุงเท้ายาวที่กระชับ แต่ไม่แน่นเกินไป
- ยกขาสูงหากเป็นไปได้ หลีกเลี่ยงการนั่งขัดสมาธิ (รวมถึงท่าอื่นๆ ที่ขาขัดกัน)
- ออกกำลังกายทุกวัน
- ยืดเหยียดขาก่อนเข้านอน
- อย่านอนราบให้น้ำหนักตัวทิ้งไปที่หลัง เพราะน้ำหนักของร่างกายและแรงกดเบียดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะลดการไหลเวียนเลือดที่ขา ทำให้เกิดตะคริวได้
- ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว โดยค่อยๆ ยืดขา งอเท้า และดึงปลายนิ้วเท้าเข้าหาตัวเอง
- นวดบริเวณที่เป็นตะคริว หรือประคบร้อนในบริเวณที่มีอาการ
คัดจมูก
คุณอาจมีอาการคัดจมูกหรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์บางครั้งทำให้จมูกแห้ง ทำให้มีอาการอักเสบหรือบวม
คำแนะนำ:
- ประคบด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่บริเวณแก้ม ตา และจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูก
- หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์พ่นจมูก เว้นแต่แพทย์สั่ง เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ทำให้น้ำมูกเหนียวน้อยลง
- นอนยกศีรษะสูง โดยหนุนหมอนเพิ่มขณะนอนหลับ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมูกไปอุดกั้นลำคอ
- ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นและสร้างไอน้ำ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ
- อาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่น
หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
อาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก สามารถเกิดจากแรงกดเบียดจากมดลูกที่ดันขึ้นมา และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปอด
คำแนะนำ:
- ขณะเดิน ให้เดินให้ช้าลง และมีการพักระหว่างเดินเล็กน้อย
- ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ (เป็นการยกซี่โครงขึ้น ทำให้คุณหายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากขึ้น)
- หลีกเลี่ยงการนอนราบ และให้พยายามนอนศีรษะสูง
- ถ้าอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบากไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกเจ็บขณะหายใจ ให้ไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด (pulmonary embolism)
รอยแตกลายบนผิวหนัง
รอยแตกลายบนผิวหนังเกิดจากความยืดหยุ่นของผิวหนังไม่เพียงพอต่อการขยายตัวระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะเกิดที่หน้าท้อง และยังพบได้ที่หน้าอก ก้น หรือ ต้นขา
แม้ว่ารอยแตกลายจะไม่หายไปอย่างสมบูรณ์ แต่ก็จะค่อยๆ หายไปหลังคลอดลูกแล้ว รอยแตกลายจะมีผลต่อผิวใต้ผิวหนังและไม่สามารถป้องกันได้
คำแนะนำ:
- รับประทานอาหารที่มีแหล่งของสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผิวหนังเพียงพอ (โดยเฉพาะ วิตามินซี และวิตามินอี)
- ทาโลชั่นบำรุงผิวให้อ่อนนุ่มและลดความแห้งกร้าน
- ออกกำลังกายทุกวัน
เท้าบวม ขาบวม
แรงกดเบียดหลอดเลือดที่นำเลือดกลับจากส่วนล่างของร่างกายอันเนื่องมาจากมดลูกที่ขยายตัวขึ้น จะทำให้มีเลือดคั่งที่ขา ทำให้เกิดอาการบวมที่ขาและเท้า
คำแนะนำ:
- พยายามอย่ายืนเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการยืนโดยไม่เปลี่ยนท่าทางเป็นเวลานานๆ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ (อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน)
- หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม (โซเดียมสูง)
- ยกขาและเท้าขณะนั่ง หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หรือนั่งขาขัดกัน
- สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ใส่สบาย เพราะเสื้อผ้าที่รัดแน่นไปจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี และทำให้มีเลือดคั่งได้
- ไม่สวมรองเท้าที่คับเกินไป เลือกรองเท้าส้นเตี้ย และฐานกว้าง และรองรับน้ำหนักได้ดี
- รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หากรับประทานโปรตีนน้อยเกินไปจะทำให้มีของเหลวคั่งได้
- แจ้งแพทย์ทราบหากมือและใบหน้าบวม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะครรภ์เป็นพิษ
- นอนตะแคงระหว่างวันเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่ไต
ตกขาว
ระหว่างตั้งครรภ์สามารถพบตกขาวได้เพิ่มขึ้นกว่าปกติอันเนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ตกขาวธรรมดาที่พบได้จะมีสีขาวหรือใส ไม่มีอาการระคายเคือง ไม่มีกลิ่น และเมื่อแห้งบนกางเกงในอาจเห็นเป็นสีเหลืองได้
คำแนะนำ:
- สวมใส่ชุดชั้นในทำจากผ้าฝ้าย หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ
- หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงยีนส์ หรือกางเกงที่กระชับแน่นเกินไป
- ห้ามสวนล้างช่องคลอด การสวนล้างช่องคลอดจะทำให้มีอากาศเข้าไปในระบบไหลเวียนโลหิตได้ หรืออาจทำให้ถุงน้ำรั่วได้ในระยะหลังของการตั้งครรภ์
- ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยสบู่และน้ำสะอาด
- เช็ดช่องคลอดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- หากมีอาการแสบ คัน ระคายเคือง บวม มีตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน ตกขาวมีสีเหลือง เขียว ให้ไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
ปวดหลัง
อาการปวดหลังมักเกิดจากแรงตึง หรือแรงกดที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อหลัง, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, หรือการเปลี่ยนแปลงท่าทางของร่างกาย
คำแนะนำ:
- สวมรองเท้าส้นเตี้ย (แต่ไม่แบน)
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- เมื่อต้องหยิบสิ่งของที่พื้น ให้ย่อเข่าลงก่อนหยิบ แทนที่จะก้มหลังลงไปหยิบ
- ไม่ยืนเป็นเวลานาน ถ้าคุณจำเป็นต้องยืนเป็นเวลานาน ให้วางเท้าข้างหนึ่งไว้บนกล่องหรือบนที่วางเท้า
- นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักผิงหลังที่ดี หรือวางหมอนขนาดเล็กไว้ที่ด้านหลัง และวางเท้าไว้บนที่วางเท้าหรือบนเก้าอี้ขนาดเล็ก
- ตรวจสอบให้แน่ใจวาเตียงคุณสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี
- นอนตะแคงซ้ายและมีหมอนรองระหว่างขาเพื่อช่วยรองรับ
- ประคบร้อนที่บริเวณหลังส่วนล่าง, อาบน้ำอุ่น, แช่น้ำอุ่น หรือให้ลองนวด
- ออกกำลังกายตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง และช่วยบรรเทาอาการปวด
- ปรับท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม การยืนตรงจะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
- ให้ไปพบแพทย์ หากอาการปวดหลังส่วนล่างลามไปที่กระเพาะอาหารและอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงภายหลังการเปลี่ยนท่าทางหรือพักผ่อนแล้ว เพราะอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดได้
ปวดท้อง หรือไม่สบายท้อง
ปวดท้องที่ข้างใดข้างหนึ่งของกระเพาะอาหารอาจเกิดจากการยืดของเนื้อเยื่อเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก และอาการปวดอาจลามไปที่ต้นขาและขาได้
คำแนะนำ:
- เปลี่ยนท่าทาง หรือกิจกรรม จนกว่าจะรู้สึกสบาย หลีกเลี่ยงการบิดตัวหรือเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเกินไป
- ถ้ามีอาการปวดท้องกะทันหัน ให้งอตัวไปด้านหน้าเข้าหาจุดที่ปวดเพื่อลดอาการปวดตึงและคลายเนื้อเยื่อ
- ประคบร้อนที่บริเวณหลัง หรืออาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่น
- ให้ลองนวด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- รับประทานยาพาราเซตามอล แก้ปวดเป็นครั้งคราว
- ให้ไปพบแพทย์ถ้าอาการปวดรุนแรง และไม่หายไป หรือถ้าอายุครรภ์ของคุณน้อยกว่า 36 สัปดาห์ แต่มีสัญญาณของการคลอด ได้แก่ รู้สึกเกร็งถี่ๆ คล้ายๆ มีการหดตัว
เจ็บครรภ์หลอก หรือ Braxton-Hicks Contractions
กล้ามเนื้อมดลูกจะหดตัว โดยเริ่มพบได้ในช่วงแรกๆ ของไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ การหดตัวไม่สม่ำเสมอ และไม่บ่อย เราเรียกว่า การเจ็บครรภ์หลอก หรือ Braxton-Hicks Contractions ซึ่งเป็นอาการเจ็บที่พบได้ตามปกติขณะตั้งครรภ์
คำแนะนำ:
- พยายามผ่อนคลาย
- เปลี่ยนท่าทาง บางครั้งอาจทำให้การหดตัวลดลง
- ปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น
https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-discomforts-causes#1