อาการท้องอืดนั้นเกิดจากการที่มีอากาศหรือแก๊ซในระบบทางเดินอาหาร คนส่วนใหญ่ที่มีอาการท้องอืดนั้นมักจะรู้สึกแน่นท้อง หรือท้องบวมขึ้น และอาจมีอาการปวดได้ในบางคน อาการท้องอืดมักเกิดร่วมกัน
- อาการปวด
- มีแก๊ซมาก
- เรอบ่อย
- ท้องร้อง
ท้องอืดอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานและเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมได้ งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการท้องอืดนั้นมีการใช้วันลาป่วย ไปพบแพทย์ และทานยามากกว่าคนอื่น และท้องอืดนั้นก็เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทำไมคุณถึงรู้สึกท้องอืด
1.แก๊ซและอากาศ
แก๊ซนั้นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดโดยเฉพาะหลังจากกินอาหาร แก๊ซจะมีการสะสมในทางเดินอาหารจากการที่อาหารที่ไม่ย่อยนั้นถูกย่อย หรือเวลาที่เรากลืนอากาศเข้าไป ทุกคนมีการกลืนอากาศเข้าไปเวลาที่กินข้าวหรือดื่มน้ำ แต่บางคนอาจจะมีการกลืนอากาศมากกว่าปกติ โดยเฉพาะหากพวกเขา
- กินหรืออิ่มเร็วเกินไป
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- สูบบุหรี่
- ใส่ฟันปลอมที่หลวม
- การเรอและการผายลมนั้นเป็น 2 วิธีที่อากาศที่ถูกกลืนเข้าไปนั้นจะออกจากร่างกายได้ การที่กระเพาะอาหารบีบไล่อาหารได้ช้ากว่าปกตินั้นก็จะทำให้เกิดการสะสมแก๊ซและท้องอืดได้เช่นกัน
2.สาเหตุทางการแพทย์
- สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดท้องอืดอาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์เช่น
- โรคลำไส้แปรปรวน
- โรคลำไส้อักเสบเช่น ulcerative colitis หรือ Crohn’s disease
- โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่นๆ
- อาการแสบร้อนกลางหน้าออก
- อาการแพ้อาหาร
- น้ำหนักเพิ่ม
- ฮอร์โมนแปรปรวน (โดยเฉพาะในผู้หญิง)
- การติดเชื้อปรสิตในลำไส้
- โรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเช่น anorexia nervosa หรือ bulimia nervosa
- ปัจจัยทางจิตเวช เช่นความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้าและอื่นๆ
- ยาบางชนิด
3.ภาวะต่อไปนี้สามารถทำให้เกิดแก๊ซและท้องอืดได้เช่น
- การที่มีแบคทีเรียภายในทางเดินอาหารมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
- มีการสะสมของแก๊ซ
- มีการเปลี่ยนแปลงการบีบตัวของทางเดินอาหาร
- แก๊ซไม่สามารถเคลื่อนที่ออกได้
- การตอบสนองของระบบประสาทในช่องท้องืที่ผิดปกติ
- มีความไวในช่องท้องมากกว่าปกติ (เช่นรู้สึกท้องอืดแม้ว่าร่างกายจะปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย)
- มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมอาหารและคาร์โบไฮเดรต
- ท้องอืด
4.สาเหตุที่รุนแรง
อาการท้องอืดนั้นอาจจะเป็ฯอาการของภาวะที่รุนแรงได้ เช่น
- การมีสารน้ำสะสมในช่องท้อง ที่เกิดจากโรคมะเร็ง (เช่นมะเร็งรังไข่) โรคตับ ไต่วาย หรือโรคหัวใจวาย
- โรคเซลิแอคหรือการแพ้กลูเตน
- ตับอ่อนผลิตเอนไซม์ได้ไม่เพียงพอซึ่งทำให้การย่อยอาหารทำได้ลดลง
- ระบบทางเดินอาหารมีแผลทะลุซึ่งทำให้แก๊ซ แบคทีเรีย และสารอื่นๆ รั่วเข้าไปในช่องท้อง
การรักษาเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการท้องอืด
1.การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต
ในผู้ป่วยหลายรายสามารถบรรเทาหรือป้องกันการเกิดอาการท้องอืดได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตเช่นการลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักเกิน
2.คุณสามารถลดการกลืนอากาศได้ด้วยการ
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งจะทำให้คุณกลืนอากาศส่วนเกินเข้าไปซึ่งทำให้ท้องอืดได้
- จำกัดการดื่มน้ำอัดลม
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ซ เช่นผักในตระกูลกะหล่ำปลี และถั่วตากแห้ง
- กินอาหารให้ช้าและหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำด้วยหลอด
- ใช้ผลิตภัณฑ์จากนมชนิดที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส (หากคุณไวต่อน้ำตาลแลคโตส)
- การรับประทานจุลินทรีย์ probiotic นั้นอาจจะช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่ดีในทางเดินอาหารได้ ผลจากงานวิจัยนั้นยังไม่สามารถสรุปประสิทธิภาพของการรับประทานจุลินทรีย์เหล่านี้ได้แน่ชัด งานวิจัยหนึ่งพบว่าจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพปานกลาง โดยผู้ใช้ประมาณ 70% รู้สึกว่าได้ผลในการบรรเทาอาการท้องอืด คุณสามารถพบจุลินทรีย์เหล่านี้ได้ในโยเกิร์ตแบบกรีก
3.การนวด
การนวดท้องนั้นอาจจะช่วยลดอาการท้องอืดได้ งานวิจัยหนึ่งทำการศึกษาผลของการนวดท้องในผู้ป่วยที่มีน้ำในท้อง วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วันและพบว่าการนวดนั้นจะช่วยทำให้อาการซึมเศร้า วิตกกังวล และความรู้สึกเกี่ยวกับอาการท้องอืดดีขึ้น
4.การใช้ยา
ควรปรึกษาแพทย์หากคุณลองเปลี่ยนการใช้ชีวิตและอาหารที่รับประทานแล้วยังคงมีอาการท้องอืด หากพบว่าเกิดจากสาเหตุทางการแพทย์ อาจจะต้องมีการใช้ยาในการรักษา การรักษานั้นอาจจะประกอบด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาลดการบีบตัว หรือยาต้านเศร้าขึ้นกับภาวะของคุณ
เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์
คุณควรไปพบแพทย์หากมีอาการท้องอืดร่วมกันอาการต่อไปนี้