กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Lactobacillus Acidophilus (แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส)

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

Lactobacillus Acidophilus เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เป็นโพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย

Probiotic หรือ โพรไบโอติก หมายถึง แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ จัดเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติก (lactic acid bacteria, LAB) เช่น Lactobacillus และ Bifidobacterium

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แบคทีเรียกลุ่มนี้ พบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก เช่น นมเปรี้ยว แหนม กิมจิ โดยจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด และช่วยในการดูดซึมสารอาหาร คอเลสเตอรอล และสร้างวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารที่แบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติกนำไปใช้ได้ เรียกว่า พรีไบโอติก (prebiotic) เช่น ใยอาหารประเภท soluble fiber ไม่ว่าจะเป็น เพกทิน กัม และโอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide)

The National Institutes of Health Center for Complementary and Alternative Medicine (NCCAM) ให้คำจำกัดความว่าเป็นจุลินทรีย์ "ที่เป็นมิตร" ซึ่งโดยปกติจะเป็นแบคทีเรียที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติในลำไส้ของมนุษย์และช่วยป้องกันแบคทีเรียที่ไม่ดีซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคได้ Lactobacillus acidophilus มีจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าว่า Acidophilus, Bacid, Flora-Q และ Novaflor

กลไกทำงานของโพรไบโอติกคือ จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรกับแบคทีเรียไม่ดี ทำให้แบคทีเรียไม่ดีเจริญเติบโตไม่ได้  มักแนะนำให้ใช้เป็นยากินเสริมสำหรับยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียที่ดีและไม่ดี ส่งผลให้รบกวนภาวะสมดุลของลำไส้ โพรไบโอติก เช่น lactobacillus acidophilus จะช่วยทำให้สภาวะของระบบทางเดินอาหารสมดุลขึ้น

ข้อควรระวังสำหรับ Acidophilus

Acidophilus ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่มีการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration - FDA)  โรคที่มักใช้โพรไบโอติกรักษา ได้แก่

  • การติดเชื้อยีสต์
  •  อาการท้องร่วง ลำไส้แปรปรวน
  • ภาวะแพ้แลคโตส (ขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส ในนมวัว)
  • ปัญหาของลำไส้ชนิดต่าง ๆ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ข้อควรระวังในการใช้ยานี้

  • Acidophilus ก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง  และมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยาไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในการใช้ระยะยาว (ความเห็นจาก NCCAM)
  • เนื่องจาก FDA ไม่ได้มีมาตรการควบคุมสินค้ากลุ่มโพรไบโอติก (probiotic) จึงมีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้  พบว่าผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกบางชนิดมีปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิตน้อยกว่าที่ระบุไว้ หรือมีสายพันธุ์แบคทีเรียที่แตกต่างจากที่ระบุไว้บนฉลาก หรืออาจพบสารเคมีเป็นพิษหรือยาอื่น ๆ ปนเปื้อน(ความเห็นจากNCCAM)
  • ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา acidophilus หากมีโรคประจำตัวบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันหรือเป็นโรคภูมิแพ้  กำลังรับเคมีบำบัดหรือการรักษาอื่น ๆ ที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
  • อาการไวต่อแลคโตส อาจพบอาการปวดท้องจากผลิตภัณฑ์ที่มี Lactobacillus acidophilus
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ lactobacillus acidophilus ในกรณีที่มีภาวะบาดเจ็บที่ลำไส้หรือมีแบคทีเรียในลำไส้จำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงที่เชื้อแบคทีเรียจะออกจากระบบทางเดินอาหารและอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในร่างกาย (sepsis)
  • ไม่ควรใช้ Lactobacillus acidophilus ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ลิ้นหัวใจเทียม (artificial heart valves) เพราะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย

ข้อควรระวังในการใช้ Acidophilus ในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา acidophilus มีการศึกษาเรื่องการใช้ Lactobacillus acidophilus ชนิดสอดในช่องคลอด และอาหารที่มี Lactobacillus acidophilus จากการเพาะเชื้อ ในหญิงตั้งครรภ์ พบอาการข้างเคียงที่อันตราย

อาการข้างเคียงของ Acidophilus

  • อาการที่พบกันทั่วไป เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ท้องเสีย
  • อาการแบบรุนแรงและควรรีบพบแพทย์ เพราะเป็นสัญญาณแพ้ชัดเจน ได้แก่
    • เป็นผื่นลมพิษ
    • หายใจขัด 
    • หน้า ปาก คอ ลิ้น บวม

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัว  ยา วิตามิน สมุนไพร และอาหารเสริมที่กินประจำ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยากับ acidophilus เช่น Sulfasalazine (ใช้รักษาภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบและเป็นแผล) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะ และจะทำลายแบคทีเรีย acidophilus ด้วย ดังนั้นควรกินโพรไบโอติก ก่อนหรือหลังกินยา Sulfasalazine อย่างน้อย 2 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขนาดยาของ Acidophilus

อาหารที่มีปริมาณของ lactobacillus acidophilus จำนวนมาก เช่น

  • โยเกิร์ต
  • นมเปรี้ยว
  • ถั่วเหลืองหมัก (เช่น มิโซะ, เทมเป้)

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

  • แคปซูลที่บรรจุผงแห้งหรือเม็ดแห้งของ acidophilus
  • ยาชนิดน้ำ
  • ยาเหน็บช่องคลอด

การเลือกใช้ชนิดของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาวะของแต่ละคน มีหลักเกณฑ์การเลือกใช้ชนิดผลิตภัณฑ์จาก University of Maryland Medical System ดังนี้

  • ป้องกันหรือรักษาโรคอุจจาระร่วง: ใช้ 1,000-2,000 ล้านหน่วยต่อวัน (colony forming units (CFUs)) มีแพทย์บางคนจะแนะนำให้ใช้ 10,000-15,000 พันล้านหน่วยต่อวัน ใช้ติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมงหลังใช้ยาปฏิชีวนะ
  • รักษาการติดเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอด: ใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเหน็บช่องคลอด
  • รักษาการทำงานของระบบลำไส้: ใช้ประมาณ 1-15 พันล้าน CFU ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี

ควรตรวจสอบกับกุมารแพทย์ก่อนที่จะให้โพรไบโอติกหรืออาหารเสริมใด ๆ แก่ทารกหรือเด็กเล็ก

มีข้อแนะนำว่าการให้ lactobacillus acidophilus แก่ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัวได้ Lactobacillus acidophilus ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการจุกเสียดในทารก แต่ไม่มีหลักฐานมากพอด้านความปลอดภัย

การใช้ Acidophilus เกินขนาด

ปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาทันที หากคุณใช้ Acidophilus เกินขนาด

เมื่อลืมกินยา Acidophilus 

ควรปรึกษาแพทย์


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ruairi Robertson, PhD, 9 Ways Lactobacillus Acidophilus Can Benefit Your Health (https://www.healthline.com/nutrition/lactobacillus-acidophilus), June 14, 2017
drugs.com, Lactobacillus acidophilus (https://www.drugs.com/mtm/lactobacillus-acidophilus.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)