เนื้องอกคาร์ซินอยด์ (carcinoid tumours) คือ มะเร็งชนิดที่พบได้ในระบบต่อมไร้ท่อประสาทที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการของกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ (carcinoid syndrome) ได้เมื่อเนื้องอกแพร่กระจายไปที่ตับ โดยทั่วไปจะพบเนื้องอกนี้ได้บ่อยที่ลำไส้ และไส้ติ่ง แต่ก็สามารถพบที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน
บทนำ
เนื้องอกคาร์ซินอยด์ (carcinoid tumour) เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อยของระบบต่อมไร้ท่อประสาท (neuroendocrine system) ซึ่งเป็นระบบของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ก้อนเนื้องอกชนิดนี้มักพบที่ลำไส้ หรือไส้ติ่ง แต่สามารถพบได้ที่กระเพาะอาหาร, ตับอ่อน, ปอด, เต้านม, ไต, รังไข่ หรือัณฑะ ได้เช่นกัน และก้อนเนื้องอกนี้มีแนวโน้มเจริญเติบโตช้ามาก
กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ (Carcinoid syndrome) คือกลุ่มของอาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเป็นเนื้องอกคาร์ซินอยด์และมีการแพร่กระจายของเนื้องอกไปที่ตับ ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) เข้าสู่กระแสเลือด
ในประเทศสหราชอาณาจักรมีผู้ได้รับการวินิจฉัยเป็นเนื้องอกคาร์ซินอยด์ประมาณ 1,200 คนต่อปี แต่คาดว่ามีผู้ป่วยน้อยกว่า 1 ใน 10 ที่จะมีอาการกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์
อาการและอาการแสดง
ในระยะแรกของโรคที่ผู้ป่วยมีก้อนเนื้องอกคาร์ซินอยด์ อาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย คุณอาจไม่มีอาการใดๆ ถ้าก้อนเนื้องอกอยู่เฉพาะในระบบย่อยอาหารเท่านั้น เพราะฮอร์โมนที่สร้างออกมาจากก้อนเนื้องอกนี้จะถูกทำลายโดยตับ
เมื่อเริ่มมีอาการของโรคขึ้น มักมีแนวโน้มเป็นอาการทั่วๆ ไปไม่จำเพาะ ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่นได้ง่าย
อาการของโรคอาจเกิดจากทั้งตัวก้อนเนื้องอกเอง และเกิดจากฮอร์โมนใดๆ ก็ตามที่ถูกสร้างและปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการที่เกิดจากก้อนเนื้องอก
อาการจะขึ้นกับว่าก้อนเนื้องอกนั้นเกิดขึ้นที่ใด
- เนื้องอกคาร์ซินอยด์ที่ลำไส้ (bowel carcinoid tumour) อาจทำให้มีอาการปวดท้อง, ทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ (มีอาการท้องเสีย, ท้องผูก, รู้สึกคลื่นไส้ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน) และมีเลือดออกจากทวารหนัก (rectal bleeding)
- เนื้องอกคาร์ซินอยด์ที่ปอด (lung carcinoid tumour) อาจทำให้เกิดอาการไอ อาจทำให้คุณไอเป็นเลือด และทำให้หายใจมีเสียงวี๊ด, หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก และอ่อนเพลีย
- เนื้องอกคาร์ซินอยด์ที่กระเพาะอาหาร (stomach carcinoid tumour) อาจทำให้มีอาการปวด, น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย อ่อนแรง
เนื้องอกคาร์ซินอยด์บางชนิดไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และถูกพบโดยบังเอิญ เช่น เนื้องอกคาร์ซินอยด์เกิดขึ้นที่ไส้ติ่ง อาจพบได้เมื่อมีการผ่าตัดไส้ติ่งออกด้วยสาเหตุอื่น
อาการที่เกิดจากฮอร์โมนที่สร้าง (กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ carcinoid syndrome)
อาการทั่วไปของกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ ได้แก่:
- ท้องเสีย, ปวดท้อง และเบื่ออาหาร
- ผิวหนังแดง โดยเฉพาะที่ใบหน้า
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจหอบเหนื่อย และหายใจมีเสียงวี๊ด
อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้องอกนี้สามารถสร้างที่เวลาไหนก็ได้
ผู้ป่วยบางรายจะเป็นโรคหัวใจคาร์ซินอยด์ (carcinoid heart disease) เนื่องจากลิ้นหัวใจหนาตัวและทำให้เกิดการทำงานผิดปกติ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาร้ายแรงที่พบได้น้อย คือ carcinoid crisis ซึ่งจะมีอาการหน้าแดง ตัวแดง อย่างรุนแรง, หายใจหอบเหนื่อย และความดันโลหิตตก
สาเหตุของเนื้องอกคาร์ซินอยด์คืออะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของเนื้องอกคาร์ซินอยด์ แต่คิดว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โอกาสที่จะเกิดโรคก้อนเนื้องอกคาร์ซินอยด์อาจเพิ่มขึ้น ถ้าคุณเป็น:
- เป็นโรคกลุ่มอาการที่พบได้น้อยชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า multiple endocrine neoplasia type 1 (MEN1)
- พ่อแม่ หรือ พี่น้อง เป็นเนื้องอกคาร์ซินอยด์
- พ่อแม่เป็นมะเร็งผิวหนังชนิด squamous cell skin cancer, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin's lymphoma, มะเร็งสมอง, มะเร็งเต้านม, มะเร็งมดลูก, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือมะเร็งที่ไต
- เป็นโรคท้าวแสนปม (neurofibromatosis) หรือ tuberous sclerosis
การวินิจฉัยเนื้องอกคาร์ซินอยด์
เนื้องอกคาร์ซินอยด์อาจถูกพบโดยบังเอิญ ตัวอย่างเช่น ระหว่างที่ศัลยแพทย์ผ่าตัดไส้ติ่งออก ในกรณีนี้เนื้องอกมักถูกพบเจอได้เร็วและถูกตัดออกไปพร้อมกับไส้ติ่ง ทำให้ไม่เกิดปัญหาตามมาในอนาคต
สำหรับผู้ป่วยอื่นๆ มักไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว และเนื้องอกคาร์ซินอยด์อาจได้รับการวินิจฉัยเมื่อมีการตรวจสแกน และการตรวจอื่นๆ ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจวัดปริมาณซีโรโทนิน (serotonin) ที่ปัสสาวะ และการตรวจโดยใช้กล้องส่อง (endoscopy)
การรักษาเนื้องอกคาร์ซินอยด์ และ กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์
หากตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีความเป็นไปได้ที่จะผ่าตัดออกไปพร้อมกับการรักษาให้หายขาด แต่ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำได้ ศัลยแพทย์จะผ่าเนื้องอกออกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หากก้อนเนื้องอกไม่สามารถผ่าออกได้ แต่ก้อนไม่ขยายขนาดขึ้นหรือไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ คุณอาจไม่จำเป็นต้องรักษาทันที แต่ต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
หากก้อนเนื้องอกนั้นทำให้มีอาการ คุณอาจได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้:
- ได้รับยาฉีดที่ชื่อว่า somatostatin analogues เช่น octreotide และ lanreotide ซึ่งจะชะลอการเติบโตของก้อนเนื้องอกได้
- ได้รับรังสีรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งบางส่วน ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือกหลัก: targeted radiotherapy และ external beam radiotherapy
- ยับยั้งเลือดไม่ให้ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก (สำหรับเนื้องอกที่ตับ) ซึ่งเรียกว่า hepatic artery embolization
- การจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Ablation) เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง (สำหรับเนื้องอกในตับ)
- ยาเคมีบำบัดเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอกและควบคุมอาการของผู้ป่วย
อาการของกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา octreotide และ lanreotide คุณอาจได้รับยาขยายหลอดลม (เพื่อบรรเทาอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด) และยาแก้ท้องเสีย
ฉันควรปฏิบัติตนอย่างไร?
คุณสามารถปฏิบัติตนได้หลายวิธีเพื่อช่วยควบคุมอาการบางอย่างของกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์
โดยทั่วไป คุณควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหน้าแดง ตัวแดง เช่น:
- แอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารมื้อใหญ่
- อาหารเผ็ด
- อาหารที่ประกอบไปด้วยสารไทรามีน (tyramine) เช่น เนื้อสัตว์ที่ผ่านการหมักดอง
- ความเครียด
ยาบางอย่างเช่น ยารักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) อาจทำให้อาการแย่ลงได้ เพราะยามีฤทธิ์เพิ่มปริมาณสารซีโรโทนิน (serotonin) แต่อย่าหยุดรับประทานยาเองจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ถ้าคุณมีอาการท้องเสีย สิ่งสำคัญคือต้องจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
อนาคตของผู้ป่วย
หากก้อนเนื้องอกสามารถผ่าตัดออกได้ทั้งหมด อาจรักษามะเร็งและอาการได้หายขาดไปพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตามหากศัลยแพทย์ไม่สามารถผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของก้อนเนื้องอกและควบคุมได้ด้วยการใช้ยา
ภาพรวมของโรคนี้ ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกคาร์ซินอยด์จะมีอายุยืนยาวเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยมีอายุอยู่ได้อีกอย่างน้อย 5 ปีหลังการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยจำนวนมากยังมีชีวิตที่ดี มีความกระฉับกระเฉง และมีอาการเป็นครั้งคราวเท่านั้น
แต่ถ้าก้อนเนื้องอกโตมากขึ้นหรือมีการแพร่กระจาย จะทำให้มีการสร้างฮอร์โมนออกมาปริมาณมาก และอาจทำให้ควบคุมอาการได้ยากด้วยการใช้ยา คุณอาจจำเป็นต้องผ่าตัดหรือได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
แต่โชคไม่ดีที่อายุขัยของผู้ป่วยจะไม่ค่อยดีในกรณีที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เพราะโดยปกติแล้วจะไม่สามารถกำจัดมะเร็งออกได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามการรักษาที่มีในปัจจุบันสามารถควบคุมอาการและชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งได้