August 05, 2019 18:47
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ตุ่มบริเวณอวัยวะเพศอาจเกิดจากได้หลายอย่าง เช่น
1) เริม ลักษณะจะเป็นตุ่มน้ำใส อาจมีตุ่มเดียวหรือหลายตุ่ม อาจจะมีแสบร้อนหรือเจ็บปวดร่วมด้วย
2) รูขุมขนอักเสบ อาจจะเป็นตุ่มหนอง เป็นหลายๆตุ่ม
3) หูดข้าวสุก ลักษณะจะเป็นตุ่มสีเนื้อ มีรอยบุ๋มตรงกลาง
4) ผื่นแพ้สัมผัส เช่น สารเคมี สบู่ แป้ง เป็นต้น
เบื้องต้นแนะนำไม่ควรบีบหรือแกะตุ่ม เพราะอาจทำให้เป็นแผล เกิดแผลเป็น และติดเชื้อแทรกซ้อนได้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ และไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการอย่างละเอียด เพราะแต่ละโรคมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ ก้อนเนื้อหรือตุ่มที่บริเวณ อวัยวะเพศ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ คือ
1. พวกหูดต่างๆ จะมีก้อนเล็กๆ ลักษณะผิวไม่เรียบ อาจจะเจ็บๆคันๆ ได้ หรืออาจะไม่มีอากานเจ็บ คันก็ได้ครับ การรักษาคือ การจี้ออกด้วยความเย็นหรือไฟฟ้า หรือการทายาแก้หูดได้ครับ แต่ยาจะเป็นยาอันตรายครับ
2.เริม จะมีอาการเป็นตุ่มน้ำใส เจ็บปวด แสบ จะขึ้นกันเป็นกลุ่ม การรักษาคือจะสามารถหายเองได้ ร่วมกับการกินยาต้านเริมครับ
3.สิว จะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายไขมัน เหมือนสิวที่ใบหน้า เป็นต้น การรักษาคือ ดูแลความสะอาด
4.ติดเชื้อรา candida จะมีตุ่ม แดงๆ ขึ้นและคัน การรักษาคือการทายาฆ่าเชื้อราอย่างน้อยสอง อาทิตย์ครับ
5.มะเร็ง บางอย่าง จะมีก้อน ผิวไม่เรียบ เจ็บปวด ต้องอาศัยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจครับ
เนื่องจากสามารถเป็นได้หลายอย่าง แนะนำว่าควรไปตรวจที่โรงพยาบาลครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีตุ่มเล็กๆที่อวัยเพศและคัน มีแผลเล็กน้อยเวลาฉี่แล้วโดนแผลแสบมาก ตุ่มก็คันหนูควรใช้ยาอะไร รักษาแบบไหนค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)