June 29, 2019 11:03
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการหงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ยากนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- การขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ที่ดีพอ
- อารมณ์ที่แปรปรวนตามรอบเดือน
- โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์
- โรคซึมเศร้า
- โรคสมาธิสั้น
- โรคระเบิดอารมณ์เป็นครั้งคราว (Intermittent explosive disorder)
- ความผิดปกติของบุคลิกภาพบางอย่าง
ในกรณีที่มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์มากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หมอก็แนะนำว่าควรลองไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การมีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมไม่ได้ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. จากปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด
2. วิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ขาดทักษะในการจัดการอารมณ์ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพและการปรับตัว
3. จากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการของโรคทางด้านอารมณ์ หรือโรคอื่นๆในสาขาจิตเวช ได้แก่ ซึมเศร้า ไบโพลาร์ เครียด วิตกกังวล เป็นต้น
ในกรณีที่มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย แนะนำให้ลองปรับหรือฝึกทักษะจัดการอารมณ์ด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ ได้แก่
เมื่อรู้สึกโกรธ หรือหงุดหงิด ควรออกจากสถานการณ์ตรงนั้นไปก่อน นับเลขในใจไปเรื่อยๆ หมั่นออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้พลังเยอะๆ จะได้ปลดปล่อยแรงขับภายในออกมาทำให้รู้สึกผ่อนคลาย การฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า ออกช้าๆ ลึกๆ
แต่หากปรับแล้ว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อคนรอบข้าง แบบนี้ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ผมคิด่าอาการโมโหที่บอกมานี้ ต้องดูว่าพื้นฐานการระบายอารมณ์โกรธ หรืออารมณ์หงุดหงิดของเราเป็นอย่างไร และมีพฤติกรรมแบบนี้มาตั้งแต่เด็กๆเลยหรือไม่ เพราะสาเหตุของการที่เกิดอารมณ์โมโหร้ายขึ้นและไม่สามารถควบคุมตนเองได้ อาจจะเกิดจากความเครียดสะสมและความรู้สึกที่ว่าตนเองยังไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสมมากพอ และเลือกที่จะใช้วิธีการที่รุนแรงเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการหรืออย่างน้อยก็ให้อารมณ์ที่มีอยู่ในตัวได้มีการระบายออกไป
ซึ่งตรงนี้การโมโหมากๆจนทำลายข้าวของก็เป็นสิ่งที่คุณคงต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง โดยผมแนะนำว่าการเปลี่ยนแปลงตรงนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนและการเรียนรู้ที่จะอยู่กับอารมณ์ พร้อมทั้งลองค่อยๆหาต้นตอของความเครียด ความกดดัน หรือตัวกระตุ้นที่จะทำให้โมโห และพยายามฝึกที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น
การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมตรงนี้สามารถใช้นักจิตวิทยาเป็นตัวช่วยในการฝึกได้นะครับ ดังนั้นการเข้าพบเพื่อเรียนรู้ในเรื่องการบริหารอารมณ์โกรธ จะเป็นทางเลือกที่ผมคิดว่าน่าจะเหมาะสมสำหรับคุณครับ ในส่วนของสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตนเองก็อาจจะเป็นเรื่องของการทำสมาธิและพยายามฝึกแนวคิดการปล่อยวาง และเรียนรู้ที่จะอยู่กับอารมณ์โกรธและหงุดหงิดของตนเองครับ สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เราเป็นคนที่โมโหง่าย โกรธง่ายมากเวลาโมโหจะควบคุมอารมณ์ของตัวเองไม่ได้เลยทำลายข้าวของบ้างเผลอไปทำร้ายคนอื่น(บางทีจะคิดในใจว่าอยากจะทำร้ายร่างกายคนๆนั้น)ทำร้ายตัวเอง มือสั่นใจสั่น โมโหเสร็จจะร้องไห้ ไปทำร้ายตัวเอง(จิกแขนจิกผม ทุบตีตัวเอง)เป็นอยู่แบบนี้บ่อยมากๆ มีอาการไม่อยากอาหาร เหม่อลอย ไม่ค่อยมีสมาธิเลยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)