August 30, 2019 00:06
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาจเป็นจากอารมณ์แปรปรวน ควบคุมตัวเองไม่ได้ครับ
ซึ่งเกิดได้จากหลายอย่างครับ เช่น
-โรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้ว
-โรคซึมเศร้า
-โรคทางพฤติกรรม
-โรคทางสมอง
-โรคทางต่อมไร้ท่อ
เป็นต้นครับ
แนะนำ หลีกเลี่ยงความเครียด เช่น ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, ระบายผ่อนคลายความเครียดบ้าง เช่น ร้องไห้ ตะโกน เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกสมาธิ มองโลกในแง่ดี และแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ จะได้ได้รับการตรวจวินิจฉัยแยกโรค และติดตามอาการครับ ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ปัญหาการควบคุมอารมณ์ที่ไม่ดีและทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ตามมานั้นอาจเกิดจากโรคทางจิตใจได้หลายอย่างครับ เช่น
- โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์
- โรคระเบิดอารมณ์เป็นครั้งคราว (Intermittent explosive disorder)
- โรคสมาธิสั้น
- ความผิดปกติของบุคลิกภาพบางอย่าง
- ผลจากการใช้ยาบางอย่าง
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรพาแฟนไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้าเขาไม่ยอมไปเราจะบอกเขายังไงดีคาะพี่ ที่บ้านก้อพยายามเกลียกลอมเขา ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
อาจเกี่ยวข้องกับสุขภาพทางจิตหรือไม่ก็ได้ครับ
ถ้ากังวลหรือสงสัยแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อซักประวัติเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
อาจเกิดได้ทั้งจากความเครียด ความกดดัน โรคอารมณ์สองขั้ว รวมทั้งภาวะซึมเศร้าก้อาจทำให้เกิดอารมณ์แปปรวนได้ครับ เบื้องต้น ควรพูดคุยทำความเข้าใจถึงสาเหตุและอธิบายเหตุผล โดยควรพูดคุยเทมื่อคนไข้อารมณ์เย็นลงแล้วครับ นอกจากนี้การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ พบปะเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว จะช่วยเสริมสร้างอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ครับ
หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
อาจจะต้องดูด้วยนะครับว่าเจ้าตัวเขารู้ตัวหรือไม่ที่ตนเองเป็นแบบนี้ หากว่ารู้ตัวก็อาจจะเป็นปัญหาในเรื่องของการจัดการกับอารมณ์ หรือเป็นลักษณะนิสัยที่ไม่ดีที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะสามารถพูดคุยกับเจ้าตัวได้ว่าอยากให้เปลี่ยนแปลงเพราะพฤติกรรมของเขาแบบนี้ส่งผลเสียต่อตัวคุณ และคุณก็เป็นห่วงว่าพฤติกรรมของเขาตรงนี้จะส่งผลเสียต่อคนรอบข้างด้วยใช่ไหมครับ
ถ้าหากว่าไม่รู้ตัวว่าตนเองมีพฤติกรรมในแบบที่กล่าวมาเมื่อเวลาโกรธ อันนี้อาจจะยากซักเล็กน้อย แต่สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือลองให้เจ้าตัวได้ตระหนักถึงพฤติกรรมของตนเองก่อน เจ้าตัวจึงจะสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงนิสัยและพฤติกรรมของตนเองตรงนี้ได้นะครับ สำหรับวิธีการอาจจะจำเป็นต้องคุยกับเจ้าตัวดูในตอนที่เขาอารมณ์ดี อาจจะใช้คนที่เขาเชื่อถือเข้ามาพูดร่วมด้วยก็ได้ครับ
หากเจ้าตัวมีความรู้สึกว่าต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองแล้ว คุณเองก็สามารถเป็นกำลังใจให้เขา และสามารถเป็นเพื่อนเขาพาไปพบกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อช่วยให้เขาได้รับบริการในเรื่องของการบริหารจัดการกับความโกรธ ซึ่งหากว่าเป็นที่บุคลิกภาพของเขาแล้วก็อาจจะต้องใช้เวลาซักพักในการที่จะช่วยลดระดับอารมณ์และพัฒนาแนวทางในการจัดการกับความโกรธของตัวเขาเองให้คุณรู้สึกพอใจได้นะครับ
สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ลักษณะอารมณ์ร้อน ควบคุมไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน อาจเป็นอาการที่บ่งถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่
1. ไบโพลาร์
2.ซึมเศร้า
3. เครียด วิตกกังวล
4.ความผิดปกติทางบุคลิกภาพและการปรับตัว
5.สมาธิสั้น เป็ฯต้น
สาเหตุ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่
- จากความผิดปกติทางสมอง เช่น สมองบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
- จากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดได้จาก กรรมพันธ์ หรือ ผลจากการใช้สารเสพติด
- จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการฟอร์มบุคลิกภาพ หรือ ขาดทักษะในการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม
ในกรณที่มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรมผิดปกติอย่างชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และกระทบต่อคนรอบข้าง ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
หากเขาไม่ยอมไปรักษา ให้ญาติประเมินอาการดูว่า พฤติกรรมและอารมณ์ของเขาเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างหรือไม่ หากมีความเสี่ยง สามารถดำเนินการ ดังนี้นะคะ
1. ขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครชุมชน หรือ ตำรวจ ช่วยนำตัวส่ง รพ.
2. ญาติสามารถไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ เช่น ญาติรับยาแทน หรือ ทีมสหวิชาชีพลงเยี่ยมบ้าน เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะ พอดีอยากทราบว่า แฟนหนูเค้ามีอาการอารมณ์ร้อน แบบร้อนสุดๆไม่ฟังใคร เอาตัวเองเปนศูนย์กลาง ไม่ฟังใครแล้วพูดอะไรนิดหน่อยไม่ได้ต้องโมโหเหมือนคนควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ แม่เขาๆก็ด่า แต่พออารมณ์ดีก็เหมือนเป็นคนละคนเลยค่ะ อย่างงี้เกี่ยวกับอาการทางจิตไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)