August 21, 2019 11:53
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
อาการปวดท้องน้อย เป็นได้ตั้งเเต่
- ติดชื้อในอุ้งเชิงกราน คือ มีตกขาวกลิ่นเหม็น คันช่องคลอดมาก่อน เเล้วมีอาการปวดท้องน้อย ไข้
- ปวดท้องมากเวลาประจำเดือนมา ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจเป็น เนื้อเยื่อมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกแลตซีสต์)
- ภาวะปวดประจำเดือน
อาการปวดประจำเดือนมักเกิดจากเลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่ทัน หรือออกมาไม่สะดวกจึงทำให้เกิดเลือดคั่งในโพรงมดลูก
กล้ามเนื้อมดลูกจึงพยายามบีบรัดตัวเพื่อเป็นการขับเลือดออกมา ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังได้ครับ
โดยอาการอาจจะเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และในช่วงการมีประจำเดิอน ประมาณ 12-72 ชมแรกครับ
อาการปวด จะปวดแบบบีบๆ เหนือหัวหน่าวบริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปหลังได้ด้วย อาจมีอาการตามระบบร่วมด้วย เช่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ท้องเสียถ่ายเหลว เป็นต้นครับ
วิธีการรักษาเบื้องต้นคือ นอนพัก รับประทานยาเเก้ปวด เช่น Ponstan Naproxen ,วางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก หรือออกไปเดินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะพอช่วยได้ครับ
...
แต่หากอาการปวดเป็นมากจนทำงานไม่ไหว ร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจคิดถึงภาวะปวดประจำเดือนที่มีสาเหตุจำเพาะ(Secondary dysmenorrhea) เช่น เนื้องอกมดลูกจะมีประจำเดือนมามากได้ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) เป็นต้นครับ ซึ่งควรไปพบสูตินรีเเพทย์ เพื่อตรวจภายใน หรือ อัลตร้าซาวด์ เพิ่มเติมครับ
หรืออื่นๆ เช่น
ท้องนอกมดลูก ภาวะเเท้ง พวกนี้ต้องมีปวดท้องน้อย ร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอดครับ เเละก่อนหน้านี้มีประวัติสงสัยท้อง เช่น. มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกันแล้วประจำเดือนขาดครับ
- โรคซีสต์ในรังไข่บางชนิด ก็ปวดท้องน้อยได้ครับ
- ติดเชื้อทางเดินอาหารส่วนลำไส้ มักมีถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องได้
- ติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ คือมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะเเสบขัด ปัสสาวะบ่อย
- ปวดกล้ามเนื้อ คือ มีขยับเเล้วปวด สัมพันธ์กับท่าทาง ก่อนหน้ามีประวัติ ยกของหนัก ขยับผิดท่า หรือโดนกระเเทก ครับ
กรณีคนไข้ถ้าปวดมากเเนะนำหาเวลาพบเเพทย์ครับ เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไม่ได้ท้องอะไรใช่มั้ยคะ
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการปวดท้องน้อย ไม่ใช่อาการของการตั้งครรภ์ปกติครับ หากสงสัยมีการตั้งครรภ์ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนครับ
อาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายสามารถเป็นได้หลายอย่างครับ เช่น
- การติดเชื้อที่ลำไส้ เช่น แบคทีเรีย เป็นต้น อาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่สะอาด ดื่มน้ำไม่สะอาด ทำให้มีอาการท้องเสียถ่ายเหลวร่วมด้วย
- กรวยไตอักเสบ อาจมีอาหารร่วมเช่น เป็นไข้สูง ปวดหลัง บางคนมีปัสสาวะแสบขัดได้ครับ
- พยาธิต่างๆ อาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว บางคนอาจรู้สึกปวด อยากถาายบ่อยๆ ถ่ายไม่สุด ถ่ายแล้วอบากถ่ายอีก เป็นต้น บางคนอาจถ่ายมีพยาธิออกมาให้เห็นได้ครับ
- ยาบางอย่าง หรืออาหารบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ เป็นต้น
- สาเหตุจากกล้ามเนื้อ คนไข้อาจมีประวัติยกของหนัก ออกกำลังกาย โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณท้องมาก การปวด อาจสัมพันธ์กับการขยับตัว
- ถ้าอาการปวดเป็นหลังจากการออกกำลังกาย โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณท้องมาก การเกร็งหน้าท้องเป็นเวลานาน หรือการบิดอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานครับ มีจุดกดเจ็บชัดเจน โดยมากหายได้เองครับ ถ้าไม่หาย สามารถทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ไดโคฟิแนคได้ (โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยานะครับ)
หากอาการไม่ดีขึ้น ปวดมาก มีไข้ แนะนำให้ไปพบแพทย์ครับ
- สำหรับผู้หญิง อาจเป็นความผิดปกติของระบบสืบพันธฺสตรีได้ เช่น เนื้องอกของมดลูก รังไข่ เป็นต้นครับ หรือการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือ ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงที่จะตั้งครภ์ แล้วมีอาการปวดท้องด้านใดด้านหนึ่งมากๆ บวกกับประจำเดือนขาด ผลตรวจครรภ์เป็นบวก อาจเกิดจากการท้องนอกมดลูกได้ครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ การปวดท้องน้อย อาจจะเป็นไปได้คือ
1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะปวดท้องน้อย ปวดๆ ไม่มีไข้ก็ได้ มีก็ได้ ปัสสาสะแล้วปวด การรักษาคือ การกินยาฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม
2.นิ่วทางเดินปัสสาวะ จะปวดท้องน้อยขวาร้าวลงขาหนีบ หรือร้าวไปหลัง การรักษาคือการดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 3 ลิตรต่อวัน กินยาแกปวด
3..การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน อาจจะมีตกขาวผิดปกติร่วมก้วย ปวดท้อง มีหรือไม่มีไข้ก็ได้ การรักษาคือ การกินยาฆ่าเชื้อติดต่อกันอย่างเหมาะสม
4.รังไข่บิดขั้ว การรักษาคือการผ่า
5.การติดเชื้อทางเดินอาหารหรือ ลำไส้ คือการติดเชื้อโรค บางชนิดที่ทำให้ท้องเสีย จะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ครับ ซึ่งต้องได้รับการวินิจฉัย จากการเก็บอุจจาระส่งตรวจครับ ครับว่ามีการติดเชื่อหรือไม่
6.ลำไส้เป็นกระเปาะและเกิดการอักเสบ (diverticulitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแทรกซ้อนซ้ำเข้าไป ครับ จะมีอาการปวดบีบๆ ที่ท้องน้อย มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ได้ครับ
7. มะเร็งลำไส้ คืออาจจะไม่มีอาการเจ็บปวด ก็ได้ การถ่ายอุจจาระจะผิดปกติไป เช่น ท้องผูก สลับท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด การรักษาคือ การผ่าตัดออก และรักษาตามระยะของโรค เป็นต้นครับ
เนื่องจากสามารถเป็นไปได้หลายอย่าง แนะนำให้ไปโรงพยาบาลครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ปวดท้องน้อยเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ น่าจะมีปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วย
- กรวยไตอักเสบ อาจจะมีไข้ ปวดบั้นเอวร่วมด้วย
- ลำไส้อักเสบ/อาหารเป็นพิษ อาจมีท้องเสียถ่ายเหลว/คลื่นไส้อาเจียน ร่วมด้วย
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ อาจมีตกขาวผิดปกติร่วมด้วย
- ถ้ามีประวัติเคยมีประจำเดือน และประจำเดือนขาดไป อาจจะตั้งครรภ์หรือภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
- กล้ามเนื้ออักเสบ อาจมีประวัติออกแรง/ออกกำลังกายหนัก ปวดกล้ามเนื้อ เป็นมากตอนขยับตัว เป็นต้นครับ
แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เบื้องต้นการปฏิบัติตัว แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะครับ
การตั้งครรภ์ ในผู้หญิงจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการตกไข่ในผู้หญิง และมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีการตกไข่เท่านั้น (ส่วนใหญ่ในช่วงประมาณ14วันนับจากประจำเดือนวันแรกครับ) ถ้ามีการสอดใส่ โดยไม่ได้ป้องกัน ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ครับ
เบื้องต้นแนะนำให้ซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองมาทดสอบครับ โดยเก็บปัสสาวะหลังตื่นนอนซึ่งเป็นปัสสาวะใหม่ครับ
โดยตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2 สัปดาห์
และถ้าผลลบแนะนำให้ทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ครับ (อาจเปลี่ยนยี่ห้อการตรวจครับ)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปวดท้องน้อยข้างซ้าย หน่วงมากค่ะ แต่ประจำเดือนหมดไป 4-5 วันได้แล้วคะ เป็นอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)