August 28, 2019 07:22
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
สาเหตุของอาการปวดศีรษะนั้นมีได้จากหลายอย่างครับ เช่น
- อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อบีบเกร็ง อาการปวดมักมีลักษณะปวดบีบที่ศีรษะ 2 ข้าง อาการปวดมักสัมพันธ์กับความเครียดหรือการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
- ไมเกรน อาการปวดศีรษะมักปวดแค่ข้างเดียว แต่อาจปวดสลับข้างได้ในแต่ละครั้ง จะปวดในลักษณะปวดตุ้บๆอย่างรุนแรง มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการมักเป็นมากขึ้นถ้าเห็นแสงสว่างจ้าๆหรือได้ยินเสียงดังๆ
- อาการปวดศีรษะแบบเป็นชุด (Cluster headache) อาการปวดศีรษะมักเป็นแบบปวดรุนแรงเฉียบพลันขึ้นมาแล้วหายไปเป็นพักๆ ร่วมกับมีอาการตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
.
และในการวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดศีรษะนั้นก็ยังมีความจำเป็นต้องตรวจประเมินอาการทางระบบประสาทโดยละเอียดด้วยเพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าอาการปวดศีรษะไม่ได้เกิดจากความผิดปกติในสมองครับ
ถ้าหากอาการปวดศีรษะไม่ได้รุนแรงมากในเบื้องต้นก็สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการดูก่อนได้ครับ แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นหรืออาการปวดศีรษะรุนแรงมากก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุและให้การรักษาเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการเวียนหัวและปวดหัว ต้องได้รับการซักประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับลักษณะการปวดเพิ่มเติม อาการร่วมกับปวดหัว เช่น ตามัว อาเจียน แขนขาอ่อนแรง การเห็นแสงสิบวับ เป็นต้น รวมถึงต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียดด้วยครับ จึงตะสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อยาางเหมาะสมครับ
ตัวอย่างโรคเกี่ยวกับการปวดหัว ที่สามารถเป็นได้ ได้แก่
-โรคไมเกรน (migrain) คือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้
โดยลักษณะอาการปวดศรีษะจะมีลักษณะ ปวดบริเวณขมับโดยอาจจะปวดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ บางกรณีอาจมีการปวดวนกันไป และมักจะปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำ ๆ
ส่วนอีกบริเวณหนึ่งที่พบมาก ได้แก่ บริเวณเบ้าตา ลักษณะของการปวด ก็มักจะปวดตุ้บๆ ตามจังหวะของชีพจร ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การรักษาโดยการกินยาลดอาการปวด การกินยาป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหดและขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้น
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคกำเริบซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล เช่นความเครียด บางคนเจออาการร้อนหรือที่ๆแสงสว่างมากๆก็กระตุ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดืมที่มีคาเฟอีนครับ
—อย่างที่สองที่นึกถึงได้ คือ การติดเชื้อโดยเฉพาะ การติดเชื้อที่ระบบทางดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีอาการปวดศรีษะ บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณใบหน้า ปวดรอบเบ้าตา อาจมีน้ำมุกสีเขียวผิดปกติ คัดจมูก มาก หรือบางคนอาจมีการได้กลิ่นลดลงได้ครับ เป็นต้น
การรักษาคือ การให้ยาฆ่าเชื้อ และการล้างจมูกบ่อยๆ
-Tension headache เป็นการปวดศรีษะชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยที่สุด วินิจฉัยโดยอาศัยลักษณะ อาการปวดโดยมักจะปวดตื้อๆ บีบๆเริ่มจากบริเวณท้ายทอยร้าวไปขมับ สองข้าง
บางครั้งอาจจะกดเจ็บบริเวณหนังศรีษะร่วมด้วย มักมีสาเหตุเกิดจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอครับ
-cluster headache เป็นการปวดหัวอีกแบบหนึ่ง ที่คนไข้ จะมีอาการปวดหัวมากๆ จะข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ ลักษณะคือ จะปวดรอบตาก่อน และอาจกระจายไปปวดที่อื่นๆของใบหน้าและศรีษะ คนไข้บางคนอาจปวดมากจนน้ำตาไหล เหงื่อไหล บางคนอาจปวดจนตื่นมากลางคืนครับ ระยะเวลาของช่วงที่ปวดแตกต่างกัน อาจปวดได้นานเป็นช่วงๆ ช่วงละ 30-90 นาที ยาวนาน6-12 สัปดาห์ครับ
สาเหตุของการปวดหัวชนิดนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดครับ
การรักษาเบื้องต้น ได้แก่ การทานยาแก้ปวด งดดื่มแอลกอฮอล์ ( เพราะบางตำราเชื่อว่า แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของอาการปวดได้) การให้ยาโดยแพทย์ มักเป็นยากลุ่ม triptans หรือ การให้ออกซิเจน จะช่วยบรรเทาอาการได้ครับ
อย่างไรก็ตาม โรคปวดศรีษะ มีมากมายหลากหลาย ต้องอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายทางระบบระสาทอย่างละเอียดครับ
ซึ่งการรักษาก็ขึ้นกับว่าวินิจฉัยเป็นโรคอะไรครับ หากไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นนั้นเข้าได้กับอาการที่กล่าวทางด้านต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้องครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการเหล่านี้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษครับ
1.ปวดมาก ปวดตลอดเวลาไม่มีช่วงที่หายสนิทเลย
2.ปวดจนสะดุ้งตื่น ขึ้นมากลางดึก หลังจากที่หลับไปแล้ว
3.มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่นชักเกร็งกระตุก คลื่นไส้ มีอาเจียนพุ่ง หนังตาตก แขนขาอ่อนแรงหรือชาเป็นต้น
4.มีไข้
5.มีอุบัติเหตุกระทบกระแทกศรีษะ
5.มีโรคประจำตัวบางอย่างเช่น มะเร็งชนิดต่างๆ โรคเลือด โรคติดเชื้อ HIV เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ปวดศีรษะเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
ปวดศีรษะจากความเครียด โดยลักษณะการปวดจะเป็นบีบรัดรอบศีรษะ อาจมีปวดท้ายทอย ร้าวมาที่ขมับ เบ้าตาได้ครับ, ปวดศีรษะจากไมเกรน โดยลักษณะการปวดจะปวดข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ แบบตุบๆ มักปวด เป็นๆหายๆ แต่ละครั้งนานประมาณ 4-72 ชม. คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้ ไม่ชอบอยู่ในที่มีแสงสว่างและเสียงดัง และอาจมีอาการเตือน เช่น แสงกระพริบ/ซิกแซก ตาพร่ามัว เป็นต้นครับ
ถ้าอาการเหมือนปวดศีรษะจากความเครียด เบื้องต้นลองผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ อาจลองรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล(ถ้าไม่ได้เป็นโรคตับ)
ถ้าไม่ดีขึ้น อาการเหมือนโรคไมเกรน หรือมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดศีรษะมากแบบไม่เคยปวดมาก่อน มีอาเจียนพุ่ง แขนขาอ่อนแรง ชัก สับสน มีไข้ เบื่ออาหารน้ำหนักลด มีประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะและคอก่อนปวด อาการปวดรบกวนการนอนจนต้องตื่นขึ้นมาเพราะปวดศีรษะ อายุมากกว่า50ปี มีโรคประจำตัวเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง มะเร็ง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันอยู่ แนะนำไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย อย่างละเอียดจะดีกว่าครับ เพื่อแยกโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรงอื่นๆครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มีอาการปวดหัวอยู่ๆก็ปวดไม่มีอาการไข้ ตื่นนอนมาแล้วเมื่อยล้า และนอนน้อย เรียน ทำงานไม่มีเวลาพักผ่อนจะมีภาวะเครียดไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)