January 12, 2019 21:31
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการปวดท้องน้อย จำเป็นต้องได้รับประวัติเพิ่มเติมค่ะ เช่น ปวดที่ไหน ข้างไหน ปวดอย่างไร ปวดตอนไหน ปวดมานานเท่าไหร่ มีอาการร่วมไรบ้างค่ะ
ตัวอย่าง เช่น
- การติดเชื้อในลำไส้ หรือท้องเสียถ่ายเหลว อาหารเป็นพิษ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด ถ้าติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงมาก ก็สามารถหายเองได้ค่ะ
- กรวยไตอักเสบ /กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจมีอาหารร่วมเช่น เป็นไข้สูง ปวดหลัง บางคนมีปัสสาวะแสบขัดได้ค่ะ
- สาเหตุจากกล้ามเนื้อ คนไข้อาจมีประวัติยกของหนัก ออกกำลังกาย โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณท้องมาก การปวด อาจสัมพันธ์กับการขยับตัว สวัสดีค่ะ ถ้าอาการปวดเป็นหลังจากการออกกำลังกาย โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณท้องมาก การเกร็งหน้าท้องเป็นเวลานาน หรือการบิดอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานค่ะ มีจุดกดเจ็บชัดเจน โดยมากหายได้เองค่ะ ถ้าไม่หาย สามารถทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ไดโคฟิแนคได้ (โปรดปรึกษาแพืย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยานะคะ)
- สำหรับผู้หญิง อาจเป็นความผิดปกติของระบบสืบพันธฺสตรีได้ เช่น เนื้องอกของมดลูก รังไข่ เป็นต้นค่ะ หรือการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือ ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงที่จะตั้งครภ์ แล้วมีอาการปวดท้องด้านใดด้านหนึ่งมากๆ บวกกับประจำเดือนขาด ผลตรวจครรภ์เป็นบวก อาจเกิดจากการท้องนอกมดลูกได้ค่ะ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นค่ะ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดท้องน้อยไปถึงทวาร เวลาปวดขยับก็ไม่ค่อยได้ปวดมาก เป็นแบบนี้มาหลายครั้งแล้วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)