January 24, 2017 19:42
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
หากคุณมีน้ำหนักเกินมาก กระดูกและข้อต่อต่างๆย่อมต้องรับน้ำหนักมากขึ้นค่ะ หากคุณไม่แก้ปัญหาที่สาเหตุคุณย่อมไม่สามารถหายจากอาการปวดได้ ในอนาคตจะยิ่งเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วจากการรับน้ำหนักมากด้วย การกินหรือฉีดยาแก้ปวดเป็นเพียงการบรรเทาอาการเป็นมื้อๆไปเท่านั้น คุณต้องเริ่มจากการเปลี่ยนทัศคติในการลดน้ำหนักเสียก่อน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าปกติแล้วร่างกายคนเราสามารถอ้วนได้ทุกส่วน หรืออ้วนเฉพาะส่วนได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับรูปร่างพื้นฐานและพันธุกรรมว่าไขมันของเราจะกระจายไปตามส่วนใดมากน้อยต่างกัน ดังนั้นเวลาต้องการลดไขมันลดหุ่น เราจึงไม่สามารถลดเฉพาะส่วนได้ค่ะ ต้องลดไปพร้อมๆกันทั้งร่างกาย โดยการออกกำลังแบบคาร์ดิโอเพื่อให้ร่างกายนำไขมันทั่วร่างมาใช้ คาร์ดิโอคือการออกกำลังให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นถึงค่าหนึ่งเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 30 นาทีขึ้นไป นอกจาดนี้ควรออกกำลังเวทเทรนนิ่งร่วมด้วยเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อค่ะ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อเป็นเหมือนการเพิ่มเตาเผาให้ร่างกายทำให้สามารถเผาผลาญดึงพลังงานส่วนเกินมาใช้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆบริเวณก้นและต้นขา ถ้าเล่นเวทเทรนนิ่งบริเวณนี้ได้มากจะทำให้ลดไขมันได้ผลเร็วกว่าออกแบบคาร์ดิโออย่างเดียวค่ะ นอกจากนี้อาหารการกินก็สำคัญ ควรลดแป้งและของหวานของทอดลงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการออกกำลังอีกค่ะ เพิ่มอาหารพวกโปรตีน และอาหารที่มีกากใยสูง เพิ่มการกินไขมันไม่อิ่มตัวจำพวกน้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคาโนล่าซึ่งเป็นไขมันดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ดิฉันเป็นผู้มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่พยายามทำทุกวิถีทางแล้วก็แก้ไขไม่ได้และนั่นคือปัญหาทำให้ดิฉันมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงอยู่เป็นประจำ และได้ไปปรึกษาแพทย์ ได้รับการคำตอบในการรักษาแค่ ให้ยาแก้ปวดและบอกให้ดิฉันลดน้ำหนัก ซึ่งมันเป็นไปได้ยาก มีวิธีในการแก้ปัญหาปวดหลังอย่างถาวร สำหรับผู้มีน้ำหนักเกินไหมคะ เพราะส่งผลเสียต่อการทำงาน และใช้ชีวิตประจำวันมาก
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)