August 27, 2019 20:51
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- ตั้งครรภ์
เป็นต้นครับ
ถ้าตรวจการตั้งครรภ์อย่างถูกวิธี หลายครั้งแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ แนะนำให้จดบันทึกรอบประจำเดือนให้ชัดเจน และไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณค่ะ
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ก่อนอื่นต้องเช็คเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนค่ะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์
โดยทั่วไป จะถือว่าเป็น ภาวะไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ต่อเนื่องกัน 3 เดือนค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ถ้าประจำเดือนขาดไปเพียงเดือนเดียว อาจเกิดจาก ความแปรปรวนของฮอร์โมน ไข่ไม่ตกในเดือนนั้น อาจสังเกตต่อไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าเดือนถัดๆไป ประจำเดือนยังไม่มาอีก ควรไปพบแพทย์
ถ้าสาเหตุของการไม่มีประจำเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1. มดลูก ปากมดลูก ผิดปกติ
2. รังไข่ผิดปกติ หรือ ไข่ไม่ตก
3. สาเหตุทางสมอง ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมอง มาควบคุมรังไข่ ผิดปกติไป เช่น การที่น้ำหนักลดลงมาก ออกกำลัยการหนักๆ หรือมีความเครียด ก็ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติได้ค่ะ ทำให้เมนส์ไม่มา
อย่างไรก็ตาม การจะทราบแน่ชัด ว่าเมนส์ไม่มาจากสาเหตุใดนั้น ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ เพราะต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ อาจต้องเจาะเลือดเพื่อดูฮอร์โมนเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอบคุณค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งนอกนั้นมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 4-27% ครับ เนื่องจากในขณะที่มีการสอดใส่นั้นอาจมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้
.
ซึ่งถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปก็ควรลองตรวจการตั้งครรภ์ดูให้ถูกต้องก่อน โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ เพื่อให้ได้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ถ้าหากยังตรวจการตั้งครรภ์ได้ไม่ถูกต้อง หมอก็แนะนำให้รอตรวจใหม่ในเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง แต่ถ้าหากตรวจอย่างถูกต้องแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ประจำเดือนก็อาจมาช้าได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้อีกระยะหนึ่ง แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือน ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณค่ะ
หมอคะ หนูเป็นคนที่ประจำเดือนมาตรงทุกครั้งคือวันที่17ของทุกเดือน หนูมีอะไรกับแฟนอต่ไม่ได้ป้องกัน (แต่ไม่ได้หลั่งนะคะเพราะไม่เสร็จ) มาเดือนนี้ประจำเดือนหนูยังไม่มาเลยค่ะ ตรวจแล้วขึ้น1ขีด ตรวจ2รอบก็ขึ้น1ขีด แต่ไม่มีอาการอื่นใดเลยนอกจากหงุดหงิด หนูควรไปพบแพทย์ไหมคะ เครียดมากเลยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)