August 25, 2019 14:31
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ปวดบั้นเอวด้านหลังเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ
อาจจะเกี่ยวกับ ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต/ท่อไต อาจจะมีอาการปวดหลังด้านนั้นเรื้อรัง ปัสสาวะแดง/เป็นก้อนกรวด, กรวยไตอักเสบติดเชื้อ อาจมีไข้หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นหรือแสบขัด ปวดบั้นเอวร่วมด้วย หรือถุงน้ำในไต เป็นต้นครับ
หรือจะเป็นเกี่ยวกับระบบกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ แต่ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับท่าทางครับ
ดีที่สุดอยากให้ไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด จะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องครับ
เบื้องต้นแนะนำ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เอี้ยวตัวแรงๆ ดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่เป็นได้จากหลายสาเหตุครับ แต่ในคนอายุน้อยสาเหตุหลักๆคือ
1.โรคกระเพาะอาหารอักเสบแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน **พบบ่อยที่สุดครับ
2.นิ่วในถุงน้ำดี
3.ตับอ่อนอักเสบ
ส่วนในผู้สูงอายุต้องระวังโรคหัวใจขาดเลือดด้วยครับ
4.การติดเชื้อในทางเดินอาหารครับ
>>>โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อนครับ
>>ปัจจัยในการเกิดโรคกระเพาะอาหาร เช่น
1.ภาวะเครียด
2.กินข้าวไม่ตรงเวลา
3.ชอบกินของเผ็ดของเปรี้ยว
4.ชากาแฟน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
5.ยาแก้ปวด ยาสมุนไพร
ดังนั้น เนื่องจาก กรดไหลย้อน และแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด หมอแนะนำให้ลองปฎิบัติการรักษาโรคนี้ก่อนได้ครับ
>>>การรักษาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน ประกอบไปด้วยสองอย่างคือ
1.การปรับการใช้ชัวิตประจำวัน
2.การใช้ยา
******************************************
1. การปรับชีวิตประจำวัน ควรปรับเรื่อง อาหาร และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกินครับ
-อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน ไม่หวานจัดเผ็ดจัดเค็มจัด
-ลดของหวานของมัน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และ คาเฟอีน
-รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-หลังกินควรยกหัวสูง อย่างน้อย 1-3 ชม คือไม่นอนทันทีครับ
-หากมียาที่มีผลข้างเคียงที่รับประทานเป็นประจำ ทำให้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์
>>ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ อาจจะเป็นโรคกระเพาะไม่มีสาเหตุ การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ก้อน นิ่ว เป็นต้น หลังจากตรวจ อาจจะได้นามารับประทาน ให้รับประทานต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับชีวิตประจำวันครับและไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอครับ
2. การใช้ยา โดยทั่วไป ยาสามัญประจำบ้านที่คนไข้สามารถซื้อเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยา alum milk , ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน , simeticone เป็นต้นค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
ส่วนอาการปวดช่วงเอว หรือสะโพก เป็นอาการที่ต้องซักประวัติเพิ่ทเติมอย่างละเอียด เช่น ตำแหน่งหรือบริเวณที่เกิดอาการปวดเอว, ช่วงที่เริ่มปวดเอว,ลักษณะของอาการปวด,ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการ,อาการอื่นที่เกิดขึ้นร่วมด้วย
นอกจากนี้ ควรได้รับการตรวจร่างกายละเอียด หรือ ต้องส่งตรวจทสงห้องปฏิบัติการหรือภาพรังสีวินิจฉัยเพิ่ทเติมค่ะ เนื่องจากสาเหตุ เป็นไปได้หลากหลาย
ตัวอย่างเช่น
-อาการที่เกิดกับไต ได้แก่ ไตอักเสบ หลอดไตอักเสบ การขาดเลือดมาเลี้ยงที่ไต เป็นต้น อาจพบร่วมกับการปวดหลัง และท้องน้อยได้ บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะร่วมด้วย
-นิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวด บางคนอาจจะมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะกระปริบกระปรอยร่วม
-อาการเส้นประสาทอักเสบ
-อาการกล้ามเนื้ออักเสบ
-อาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆภายในช่องท้องรวมไปภึงอวัยวะสืบพันธ์
-โรคเกี่ยวกับปอด เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด
เป็นต้น
แนะนำว่า คนไข้ สามารถไปพบอายุรแพทย์ เพื่อหาสาเหตุดังกล่าว และทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจปัสสาวะ หรือ ส่วภาพรังสีเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีอาการปวดแน่นท้องบริเวนใต้ชายโครงขวาและปวดหลังบริเวนเอวทั้งสองข้างครับตปวดอนนี้ทานยาลดควมดันโลหิตสูงกับยาลดไขมันอยู่ครับ อาการแบบนี้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)