August 26, 2019 09:36
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
ลักษณะอาการของผู้ถามอาจจะมาจากสาเหตุของโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหารครับ ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
...
สาเหตุที่ทำให้มีอาการจุกแน่นที่คอมีหลายสาเหตุครับ ทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย ได้แก่สาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้
➢ การแพ้ (Allergic reaction) อาการแพ้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อาหาร ยา และการถูกแมลงกัด/ต่อย ทำให้มีผื่นคันขึ้นตามลำตัวและส่วนต่างๆของร่างกายได้ นอกจากการมีผื่นแพ้แล้ว การแพ้ยังสามารถมีอาการได้ 4 ระบบของร่างกาย ประกอบด้วย 1.ระบบผิวหนังทำให้มีผื่นแพ้ 2.ระบบหายใจทำให้ทางเดินหายใจบวม หายใจติดขัด รู้สึกจุกแน่นภายในคอ 3.ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำให้มีอาการหน้ามืดหมดสติได้ และ 4.ระบบทางเดินอาหารทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลวได้ หากมีอาการแพ้ในระบบต่างๆของร่างกายตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ถือเป็นการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรจะรีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
➢ กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux; GERD) เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารไม่แข็งแรงทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนกลับจากกระเพาะอาหารขึ้นมายังบริเวณหลอดอาหารได้ ทำให้มีอาการจุกแน่นที่คอ แสบร้อนกลางอกและบริเวณคอ มีอาการเรอเปรี้ยว นอกจากนี้อาจพบมีอาการไอเรื้อรัง และเสียงแหบได้จากการที่กรดไปทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณหลอดลม และบริเวณกล่องเสียง
➢ การติดเชื้อ (Infection) เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) และการติดเชื้อภายในลำคออื่นๆ ทำให้มีอาการเจ็บแน่นภายในลำคอ กลืนเจ็บ มีไข้ได้
➢ ต่อมไทรอยด์โต (Goiter) ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณลำคอด้านหน้ากล่องเสียง หากต่อมนี้มีขนาดใหญ่จะทำให้คอบวม และรู้สึกแน่นบริเวณคอได้
➢ ความวิตกกังวล (Anxiety) ถึงแม้ความวิตกกังวลจะเป็นอาการทางจิต แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอาการทางกายได้ ตัวอย่างเช่น การเกิดอาการแพนิค (Panic attack) ทำให้รู้สึกจุกแน่น หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยหอบได้
สาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวไปเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นถ้าสงสัยหรือกังวลแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
จุกแน่นลิ้นปี่ เกิดได้จากหลายอย่างครับ เช่น
-กรดไหลย้อน
-กระเพาะอาหารอักเสบ/แผลในกระเพาะอาหาร
-ตับอ่อนอักเสบ
-นิ่วในถุงน้ำดี
-โรคทางตับ
-หัวใจขาดเลือด
เป็นต้น
ถ้ามี อาการแสบยอดอก ขย้อนหรือสำรอก เจ็บหน้าอก อาจจะเป็นกรดไหลย้อนได้ครับ ซึ่งโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารครับ
การรักษาจะมี การปรับพฤติกรรม เช่น นอนศีรษะสูงขึ้นประมาณ15ซม. นอนในท่าตะแคงซ้าย รับประทานอาการให้ตรงเวลา งดรับประทานอาหารมื้อดึก หลีกเลี่ยงอาหารมัน เปรี้ยวจัด กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ๆ หยุดสูบบุหรี่(ถ้าสูบ) ลดความอ้วน(ถ้ามีภาวะอ้วน) ครับ และการรักษาด้วยยาครับ
แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย อย่างละเอียด จะได้แยกจากโรคอื่นๆ และติดตามอาการด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่/แสบท้องเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ แต่ในคนอายุน้อยสาเหตุหลักๆคือ
1.โรคกระเพาะอาหารอักเสบแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน **พบบ่อยที่สุดครับ
2.นิ่วในถุงน้ำดี
3.ตับอ่อนอักเสบ
ส่วนในผู้สูงอายุต้องระวังโรคหัวใจขาดเลือดด้วยครับ
4.การติดเชื้อในทางเดินอาหารครับ
>>>โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อนครับ
>>ปัจจัยในการเกิดโรคกระเพาะอาหาร เช่น
1.ภาวะเครียด
2.กินข้าวไม่ตรงเวลา
3.ชอบกินของเผ็ดของเปรี้ยว
4.ชากาแฟน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
5.ยาแก้ปวด ยาสมุนไพร
ดังนั้น เนื่องจาก กรดไหลย้อน และแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด หมอแนะนำให้ลองปฎิบัติการรักษาโรคนี้ก่อนได้ครับ
>>>การรักษาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน ประกอบไปด้วยสองอย่างคือ
1.การปรับการใช้ชัวิตประจำวัน
2.การใช้ยา
******************************************
1. การปรับชีวิตประจำวัน ควรปรับเรื่อง อาหาร และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกินครับ
-อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน ไม่หวานจัดเผ็ดจัดเค็มจัด
-ลดของหวานของมัน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และ คาเฟอีน
-รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-หลังกินควรยกหัวสูง อย่างน้อย 1-3 ชม คือไม่นอนทันทีครับ
-หากมียาที่มีผลข้างเคียงที่รับประทานเป็นประจำ ทำให้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์
>>ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ อาจจะเป็นโรคกระเพาะไม่มีสาเหตุ การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ก้อน นิ่ว เป็นต้น หลังจากตรวจ อาจจะได้นามารับประทาน ให้รับประทานต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับชีวิตประจำวันครับและไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอครับ
2. การใช้ยา โดยทั่วไป ยาสามัญประจำบ้านที่คนไข้สามารถซื้อเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยา alum milk , ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน , simeticone เป็นต้นค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มีอาการปวดท้องแบบแสบๆ มีลม เจ็บคอ เหมือนมีอะไรที่คอ ระคายคอ กินยา Galviscon แล้วไม่หาย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)