เวลาการให้ยา (เรวดี ธรรมอุปกรณ์, 2546: 6-12)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เวลาการให้ยา (เรวดี ธรรมอุปกรณ์, 2546: 6-12)

การให้ยาที่จะได้ผลดีจะต้องให้ถูกเวลาและตรงเวลาเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการออกฤทธิ์และการดูดซึมของยาอย่างเต็มที่ ดังนี้

ยาก่อนอาหาร อาจรับประทานก่อนอาหาร 1/2 – 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดี หากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งให้รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อให้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานอาหารลงไปได้ทัน เช่น Periactin, Peritrate, Moseger เป็นต้น
  1. ยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง หรือรับประทานขณะท้องว่าง มักใช้กับยาปฏิชีวนะที่ถูกทำลายได้ง่ายโดยกรดในกระเพาะอาหาร หรือรวมตัวกับอาหารแล้วทำให้การดูดซึมยาลดลง เช่น Ampicillin, Erythromycin, Penicillin V, Inderal, Peritrate, Tetracyclines, Lincocin, Dicixacillin sodium เป็นต้น
  2. ยาก่อนหรือหลังอาหารทันที หรือพร้อมอาหาร หรือพร้อมนม ยานี้ประเภทมักเป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมาก มักทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลกระเพาะอาหารทะลุ ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้กรดในกระเพาะอาหารเจือจาง ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เช่น Aminophylline, Aspirin, Metronidazole (Flagyl), Nitrofurantoin, Brufen, Phenytoin (Dilantin), Prednisolone, Ferrous sulphate (Fersolate), Reserpine (Serpasil), Indomethacin (Indocid), Mefenamic acid (Ponstan), Voltaren, Dexamethason (Decadron), Theophylline (TheoDur), Isoniazic (INH), Phenylbutazone, Quinidine sulfate, P-aminosalicylic acid (PAS) เป็นต้น
  3. ยารับประทานครั้งเดียวตอนเช้า อาจเป็นหลังตื่นนอน หรือก่อนอาหารเช้า หรือในช่วงอาหารเช้า ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับยาในเลือดให้สูงพอที่จะออกฤทธิ์รักษาได้อย่างดี เช่น Dapsone, Digokin, Rifampinic เป็นต้น
  4. ยารับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที มักใช้กับยาทั่วไปที่ให้รับประทานหลังอาหาร วันละ 2-3 ครั้ง เช่น Adalat, Expectorants, Carminatives, Fersolate, Fluimucil, Ellxir KCI, Minipress เป็นต้น ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนใหญ่เป็นยาทั่วๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิด หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่างแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
  5. ยาก่อนนอน หมายถึงยาที่ให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืน วันละ 1 ครั้งเท่านั้น มักเป็นยาที่รับประทานแล้วทำให้ง่วงนอน หรือต้องการให้หมดฤทธิ์ในตอนเช้าพอดี เช่น Diazepam, Piriton เป็นต้น
  6. ยารับประทานที่ควรดื่มน้ำตามมากๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้จากผลึกยูเรียและตะกอนของกรดยูริก เช่น Sulfacetamide, Sulfadiazine (SDZ), Colchicine เป็นต้น
  7. ยาบางชนิดเมื่อรับประทานแล้วทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนสี ดังนี้
    ชนิดของยา ผลของยา
    Chloroquine ทำให้ปัสสาวะเป็นสีเหลืองสนิม หรือน้ำตาล
    Ibuprofen ทำให้ปัสสาวะเป็นสีชมพู แดง ม่วงแดง หรือน้ำตาลอ่อน
    Rifampicin ทำให้ปัสสาวะเป็นสีส้มแดง
  8. ยาบางชนิดเมื่อรับประทานแล้วทำให้อุจจาระเปลี่ยนสี ดังนี้
    ชนิดของยา ผลของยา
    Aspirin ทำให้อุจจาระเป็นสีดำ
    Chloramphenicol ทำให้อุจจาระเป็นสีน้ำเงิน
    Dexamethasone ทำให้อุจจาระเป็นสีน้ำตาลเข้ม
    Colchocine ทำให้อุจจาระเป็นสีเทา
    Indomethacin ทำให้อุจจาระเป็นสีเขียว
    Phenylbutazone ทำให้อุจจาระเป็นสีเทาเขียว
    Digitalis ทำให้อุจจาระเป็นสีน้ำตาลอ่อน
    Rifampicin ทำให้อุจจาระเป็นสีแดงส้ม
    Herapin ทำให้อุจจาระเป็นสีชมพู-แดง

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ปราณี ทู้ไพเราะ  ได้โดยการซื้อหนังสือ “คู่มือยา (Handbook of Drugs)”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Ways to Get Kids to Take Medicine - Kids' Health Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/kids-health/10-ways-to-get-kids-to-take-medicine.aspx)
How to give medicine to your child safely and effectively. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/0_how-to-give-medicine-to-your-child-safely-and-effectively_11401.bc)
Micardis (telmisartan) Uses, Dosage, Side Effects. Drugs.com. (https://www.drugs.com/micardis.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)