August 02, 2019 14:22
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
หลังหยุดรับประทานยาคุมประจำเดือนก็ควรจะยังมาตามปกติอยู่ครับ
การมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งนอกนั้นมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 4-27% ครับ เนื่องจากในขณะที่มีการสอดใส่นั้นอาจมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้
ถ้าหากมีการขาดประจำเดือนไปก็ต้องสงสัยว่าอาจมีการตั้งครรภ์ได้เอาไว้ก่อนครับ
หมอแนะนำว่าในเบื้องต้นนั้นควรลองตรวจการตั้งครรภ์ดูก่อน โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ถ้าหากตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ประจำเดือนก็อาจมาช้าได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้อีกรัยะหนึ่ง แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือน ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้ากินมานานก็มีโอกาสเลื่อนนะครับ ถ้ากินยาคุมเเบบเเผงมานานเช่นเป็นปีๆ เเล้วหยุด ประจำเดือนจะมาช้าได้ครับ เนื่องจาก ต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนให้ตกไข่โดนฤทธิ์ยากดมานาน ต้องรอให้กลับมาทำงาน เข้าสู่สมดุลย์รอบเดือนเดิมอีกครั้ง โดยทั่วไปไม่เกิน6เดือน (ภาวะ Postpill Amennorrhea)
เเต่ตามที่เล่าก็มีโอกาสท้องครับ การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ใส่ถุงยางเเม้ไม่ได้หลั่ง/หลั่งนอก แต่ถ้ามีการสอดใส่อวัยวะเพศ มีโอกาสท้องครับ เนื่องจากขณะสอดใส่อาจมีอสุจิปนออกมากับน้ำหล่อลื่นฝ่ายชายได้ครับ
......
เเนะนำตรวจการตั้งครรภ์ครับถ้าประจำเดือนขาด
โดยทั่วไปก็จะถือว่าตรวจพบว่าท้องได้ เมื่อประจำเดือนขาดครับ
...........
ถ้าจำประจำเดือนแม่น รู้รอบประจำเดือนตัวเองดี ก็จะง่ายครับ
เช่นถ้าเมนส์มาวันที่ 1 กพ. ปกติมาตรง 30 วัน
ถ้า 3 มีนา เมนส์ไม่มา ก็สามารถตรวจได้ครับ
............
แต่ถ้าจำไม่ได้ว่าเดือนก่อนเมนส์มาวันไหน
แนะนำว่าให้ตรวจถ้าเมนส์ไม่มาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ กันไปแล้ว 2 สัปดาห์
เพราะว่าถ้าจะท้องได้ ก็คือต้องไข่ตกช่วงที่มีเพศสัมพันธ์กันพอดี ถ้านอกเหนือไปจากนั้น โอกาสท้องก็น้อยครับ
...........
ถ้าตรวจแล้วผลว่าไม่ท้อง แต่ยังสงสัย แนะนำให้รอ เพราะบางครั้งค่าของฮอร์โมนอาจจะยังไม่มากพอที่จะให้ผล positive ถ้ารอแล้วเมนส์ยังไม่มา อีกซักสัปดาห์ค่อยตรวจซ้ำ ไม่ควรรีบไปกินพวกยาขับเลือด-ยาสตรี เพราะถ้าเกิดท้องขึ้นมาแล้วจริงๆ ยาพวกนี้อาจจะมีผลต่อเด็กได้ครับ
...........
- ชุดตรวจมีหลากหลายครับ ในรายละเอียดอาจจะต่างกันบ้าง ให้ดูตามคำเเนะนำในกล่องน่าจะดีที่สุดแต่โดยทั้วไปก็คือให้ปัสสาวะใส่ภาชนะ จุ่มที่ทดสอบลงไประยะเวลาหนึ่ง เอาขึ้นมาตั้ง รอเวลา แล้วจึงอ่านผล
- วิธีการเก็บปัสสาวะตรวจก็มีผลต่อการแปลผลมาก
ผลจะแม่นที่สุดควรจะต้องเป็นปัสสาวะครั้งแรกตอนเช้าที่เพิ่งตื่นนอนมาเพราะจะเป็นปัสสาวะที่เข้มข้น ถ้ามี hCG อยู่ก็จะตรวจพบได้ง่ายกว่า
- ชุดตรวจส่วนใหญ่จะแสดงผลเป็นขีดๆ โดยขีดแรกเป็นเส้น control จะต้องขึ้นเสมอไม่ว่าจะท้องหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นแปลว่าที่ตรวจนั้นเสีย ส่วนขีดที่สองถึงจะเป็นตัวบอกว่ามี hCG อยู่
...........
ดังนั้น สองขีดคือท้อง
...........
ขีดเดียวคือไม่ท้อง ถ้าไม่มีซักขีดคือชุดตรวจเสียครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ สำหรับการขาดระดู สิ่งสำคัญคือ การตั้งครรภ์ ครับ
การตั้งครรภ์ (Pregnancy) เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยของภาวะขาดระดู ดังนั้นในสตรีวัยเจริญพันธุ์ และมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรตรวจ หาการตั้งครรภ์ (Pregnancy test) ก่อนครับ โดยการตรวจ ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะตอนเช้า หลังตื่นนอนเพื่อยืนยันว่าไม่ตั้งครรภ์ครับ สาเหตุอื่นที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาเช่น
1.ความผิดปกติที่ธาลามัส เช่น มีการทำงานของฮอร์โมนบางอย่างทำงานผิดปกติ หรือ เนื้องอก ซึ่งธาลามัสเป็นตัวควรคุม การทำงานของฮอร์โมนต่างๆครับ ถ้าทำงานผิดปกติจะส่งผลต่อต่อมใต้สมองได้ครับ
2.ความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง เช่น ผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ prolactin มากไป จะทำให้มีน้ำนม เวลามีน้ำนม จะไม่มีประจำเดือน ครับ ซึ่งโรคนี้ต้องไปตรวจกับอายุรแพทย์เพื่อทำการ x ray คอมพิวเตอร์ สมองครับ
3.ความผิดปกติที่รังไข่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ จะมีประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างไม่มาบ้าง เพราะว่าในบ้างเดือนไข่ก็จะไม่ตก กลายเป็นถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งพบได้บ่อยในเพศหญิงโรคนี้จะตรวจต้องไปตรวจกับ สูตินารีแพทย์ ครับ
4.ความผิดปกติที่ฮอร์โมนจากร่างกายตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ต่ำ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ ต่ำไป สูงไป ก็จะทำให้ ประจำเดือนไม่มาได้ครับ เป็นต้นครับ
5.ความเครียด และ น้ำหนักตัวที่มากอาจจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้ครับ
เพราะฉะนั้นแนะนำให้ไปโรงพยาบาลตรวจหาโรคเพิ่มเติมดีกว่าครับ การที่ประจำเดือนไม่มามีหลายสาเหตุมากครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ก่อนอื่นต้องเช็คเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนค่ะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์
โดยทั่วไป จะถือว่าเป็น ภาวะไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ต่อเนื่องกัน 3 เดือนค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ถ้าประจำเดือนขาดไปเพียงเดือนเดียว อาจเกิดจาก ความแปรปรวนของฮอร์โมน ไข่ไม่ตกในเดือนนั้น อาจสังเกตต่อไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าเดือนถัดๆไป ประจำเดือนยังไม่มาอีก ควรไปพบแพทย์
ถ้าสาเหตุของการไม่มีประจำเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1. มดลูก ปากมดลูก ผิดปกติ
2. รังไข่ผิดปกติ หรือ ไข่ไม่ตก
3. สาเหตุทางสมอง ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมอง มาควบคุมรังไข่ ผิดปกติไป เช่น การที่น้ำหนักลดลงมาก ออกกำลัยการหนักๆ หรือมีความเครียด ก็ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติได้ค่ะ ทำให้เมนส์ไม่มา
อย่างไรก็ตาม การจะทราบแน่ชัด ว่าเมนส์ไม่มาจากสาเหตุใดนั้น ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ เพราะต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ อาจต้องเจาะเลือดเพื่อดูฮอร์โมนเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณมากค่ะหมอ ได้ทำการตรวจแล้วนะคะ ไม่พบการตั้งครรภ์ แบบนี้คือประจำเดือนอาจจะมาช้าได้ใช่ไหมค่ะ หรือในของเดือนนี้ไม่มีไข่ตก
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้าหากได้ตรวจการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาที่หมอแนะนำไปแล้ว คือ ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ แล้วไม่พบการตั้งครรภ์ ประจำเดือนก็มักขาดหายไปได้จากสาเหตุอื่นๆตามที่หมอได้แนะนำไปครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าอาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้อีกระยะหนึ่ง แต่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ค่ะตรวจตามช่วงเวลาที่หมอแนะนำไปเลยค่ะ ระหว่างที่รอแบบนี้สามาถกินพวกยาสตรีได้ไหมค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การรับประทานยาสตรีไม่ได้มีผลเร่งให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นครับ หมอไม่แนะนำให้รับประทานยาสตรีในกรณีนี้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
จะสอบถามหน่อยค่ะ ปกติเป็นคนกินยาคุมอยู่แล้วนะคะ แล้วรอบเดือนของมิถุนามาเมื่อวันที่2 กรกฎา ยาแผงใหม่ต้องเริ่มกินวันที่6กรกฎา แต่ไม่ได้กินต่อเพราะจะหยุดกินแ้วคะ แต่วันที่ 7กรกฎา ได้มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกัน หลั่งนอก ตอนนี้วันที่ 2 สิงหา แล้วประจำเดือนยังไม่มา คือ มีโอกาสท้องไหมค่ะ หรือพอหยุดกินยาแล้วประจำเดือนจะเลื่อน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)