August 22, 2019 16:48
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
การปวดประจำเดือน มีได้หลายแบบค่ะ
ทั้งการปวดแบบปกติ ที่ไม่ได้มีโรคอะไร (Primary dysmenorrhea)
และการปวดประจำเดือนแบบมีโรคแอบแฝง (Secondary dysmenorrhea)
ซึ่งลักษณะการปวดแบบที่อาจจะมีโรคแอบแฝง Secondary dysmenorrhea ที่พอสังเกตจากอาการได้ คือ จะมีการปวดที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกรอบเดือน ปีที่แล้วปวดเท่านี้ ปีนี้ปวดมากขึ้น ปีหน้าปวดมากขึ้นไปอีก อาการปวดจะเป็นนาน ไม่เหมือนการปวดแบบปกติ ที่มันจะปวดแค่วันแรกๆ ของประจำเดือน แล้วก็หายปวด
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการปวดประจำเดือน แล้วไม่แน่ใจว่าเป็นแบบไหน ควรไปปรึกษาแพทย์นะคะ การตรวจภายใน อัลตราซาวด์ จะช่วยหาสาเหตุได้ค่ะ ว่ามีโรคอะไรแอบแฝงรึเปล่า
โรคที่พบบ่อย ในผู้หญิงที่ปวดประจำเดือน คือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช๊อกโกแลตซิสต์ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
โดยปกติ รอบเดือนของเรา จะคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 21-35 วัน (บวกลบเจ็ดวันจากรอบก่อนๆ ) อยู่แล้วครับ ถ้ายังอยู่ในช่วงนี้ ก็ยังถือว่าปกติครับ แต่ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ก็อาจทำให้คลาดเคลื่อนไปได้อีกครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะคุณหมอ เนื่องจากประจำเดือนของดิฉันมาช้ากว่าปกติไปประมาณ9วัน และยังมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติมากๆ (กินยาพอนสแตน 500gไปแล้ว1เม็ดแต่ยังไม่หาย จึงกินพาราเซตามอลไปอีก1เม็ด ห่างจากเม็ดแรกประมาณ1ชั่วโมง ก็ยังไม่หายปวด) อีกทั้งยังมีอาการท้องเสียร่วมด้วย อยากทราบว่าอาการแบบนี้เป็นปกติมั้ยคะ ควรปล่อยไว้ให้หายเองมั้ย หรือควรไปพบคุณหมอที่คลินิกให้ตรวจดูอาการเลย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)