August 01, 2019 12:47
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการตามที่เล่ามานี้อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมอแนะนำให้ลองไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมยืนยันสาเหตุให้แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
และถ้าหากต้องการคำปรึกษาในเบื้องต้นเพิ่มเติมก่อนไปพบจิตแพทย์ก็สามารถโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิตเบอร์ 1323 ได้อีก 1 ช่องทางครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การมีความเครียดสะสมเป็นเวลาอาจส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจได้
ในกรณีที่คนเรามีความเครียดต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ โดยไม่สามารถปรับตัวกับความเครียดนั้นได้ อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ง่ายค่ะ
เบื้องต้นอยากให้ลองทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกครั้งนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
แนะนำเพิ่มเติมเรื่องซึมเศร้า อยากให้หาเวลาออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค, ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, ระบายผ่อนคลายความเครียดบ้าง เช่น ร้องไห้ ตะโกน เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ จะทำให้ลดความเครียด ความกังวลได้ครับ และสุดท้ายคือ มองโลกในแง่ดี คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ครับ ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในช่วงนี้มีเรื่องอะไรให้เครียดบ้างหรือเปล่าครับ เพราะอาการที่เล่ามามีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะเกิดจากความเครียด ความกดดันที่คุณได้รับจนส่งผลต่อความคิด สมาธิ และอารมณ์ของคุณทำให้คุณจมอยู่ในความคิดด้านลบและความรู้สึกที่หมดพลัง และไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่างได้เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นเหมือนที่พี่นักจิตวิทยาและคุณหมอแนะนำในเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้าด้วยก็ได้ครับ ดังนั้นการเข้ารับการประเมินจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ เพื่อรับการพูดคุยและการช่วยเหลืออื่นๆเช่นการทานยา เป็นต้น
นอกจากการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดหรือความเศร้าลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ซึ่งอาจจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอืนๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะคุณหมอ ตอนนี้ฉันรู้สึกว่า ตัวเองเครียดมาก ทั้งที่ก็พยายามที่จะไม่สนใจหรือคิดอะไรแล้ว รู้สึกหดหู่เวลาที่ได้รับรู้เรื่องเดิมๆทำให้ไม่อยากทำอะไรเลย หงุดหงิดง่ายขึ้นจนบางครั้งกลายเป็นคนก้าวร้าวโดยไม่รู้ตัว ร่างกายอ่อนแอปวดหัวบ่อยเหมือนมันอยากแต่จะนอนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีสมาธิในกรทำงานหัวสมองมันตื้อไปหมด ติดงานอะไรไม่ออก ทั้งที่เป็นเรื่องง่ายไ ที่ตัวเองเคยทำได้และจัดการได้มาตลอด ฉันควรทำยังไงกับตัวเอง ต้องแก้ไขมันยังไงดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)