August 24, 2019 19:43
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
โดยปกติประจำเดือนสามารถมาเร็วมาช้าได้บวกลบ7วันครับ ถ้ายังไม่เกิน7วันหมอว่ายังรอไปก่อนได้ครับ
ปกติจะมาประมาณ2-6วัน ปริมาณประมาณ 20-60ml
.............
การที่ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือขาด อาจเกิดได้จากความเครียด ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ,การตั้งครรภ์ ,การฉีดยาคุมกำเนิดชนิดสามเดือน ,ยาฝังคุมกำเนิด หรือ ห่วงคุมเนิดชนิดฮอร์โมน ครับ
หรือเกิดได้จากโรคอื่นๆ กรณีที่ประจำเดือนขาดนานๆ หรือมาไม่สม่ำเสมอครับ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่อาการคือ ประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับพบลักษณะของฮอรโมนเพศชาย(มีสิว มีขนเยอะ) หรือ บางครั้งความผิดปกติของต่อมใต้สมองซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ครับหากประจำเดือนขาดนานๆ ร่วมกับบีบหัวนมเเล้วมีน้ำนมไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการตกไข่ผิดปกติจากสาเหตุของรังไข่เอง
อื่นๆ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) อาการคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้นครับ
.............
หากเดิมประจำเดือนมาปกติ เเล้วประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ หรือตรวจเเล้วไม่ท้อง (ปกติประจำเดือนขาดก็ตรวจได้เเล้วครับว่าท้องหรือไม่) หรือ ไม่ได้มีความเครียดอื่นๆ ควรไปพบสูตินรีเเพทย์ครับ อาจพิจารณารับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ร่วมกับหาสาเหตุด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้าหากประจำเดือนขาดมา 2 เดือนแล้วแต่ตรวจการตั้งครรภ์ขึ้นเพียง 1 ขีดก็ไม่น่ามีการตั้งครรภ์แล้วครับ
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้าโดยไม่ได้มีการตั้งครรภ์นั้รเกิดได้จาดหลายสาเหตุ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุของการขาดประจำเดือนให้แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จำเป็นมั้ยคะ ว่าต้องตรวจตอนเช้า
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาจลองทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย2-3วัน หรือ1สัปดาห์ครับ (อาจเปลี่ยนยี่ห้อการตรวจครับ)
นอกจากนี้การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ฮอร์โมนในเลือดผิดปกติ
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
เป็นต้นครับ
แนะนำจดบันทึกรอบประจำเดือนให้ชัดเจน และไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอบคุณคะ
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
โดยปกติ รอบเดือนของเรา จะคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 21-35 วัน (บวกลบเจ็ดวันจากรอบก่อนๆ ) อยู่แล้วครับ ถ้ายังอยู่ในช่วงนี้ ก็ยังถือว่าปกติครับ แต่ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ก็อาจทำให้คลาดเคลื่อนไปได้อีกครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่วซึม หรือ การหลั่งนอก ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณคะ
สวัสดีคะหมอ พอดีประจำเดือนไม่มา2เดือนแล้ว ลองตัวขึ้นขีดเดียวคะ ตรวจตอนช่วงเย็นๆแต่ตอนปัสสาวะมีลิ่มเลือดเล็กๆออกมาด้วยคะ จะตั้งครรภ์มั้ยคะ แล้วร่าวกายผิดปกติมั้ยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)