August 22, 2019 12:34
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ สาเหตุ ต่างๆที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาเช่น
1.ความผิดปกติที่ธาลามัส เช่น มีการทำงานของฮอร์โมนบางอย่างทำงานผิดปกติ หรือ เนื้องอก ซึ่งธาลามัสเป็นตัวควรคุม การทำงานของฮอร์โมนต่างๆครับ ถ้าทำงานผิดปกติจะส่งผลต่อต่อมใต้สมองได้ครับ
2.ความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง เช่น ผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ prolactin มากไป จะทำให้มีน้ำนม เวลามีน้ำนม จะไม่มีประจำเดือน ครับ ซึ่งโรคนี้ต้องไปตรวจกับอายุรแพทย์เพื่อทำการ x ray คอมพิวเตอร์ สมองครับ
3.ความผิดปกติที่รังไข่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ จะมีประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างไม่มาบ้าง เพราะว่าในบ้างเดือนไข่ก็จะไม่ตก กลายเป็นถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งพบได้บ่อยในเพศหญิงโรคนี้จะตรวจต้องไปตรวจกับ สูตินารีแพทย์ ครับ
4.ความผิดปกติที่ฮอร์โมนจากร่างกายตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ต่ำ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ ต่ำไป สูงไป ก็จะทำให้ ประจำเดือนไม่มาได้ครับ เป็นต้นครับ
5.ความเครียด และ น้ำหนักตัวที่มากอาจจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้ครับ
6.ผลข้างเคียงหลังจากการคุมกพเนิดด้วนการ ฉีดยาคุม ฝั่งยาคุม จะทำให้ประจำเดือนไม่ได้เช่นกัน อาจจะส่งผลได้นานหลายเดือน
เพราะฉะนั้นแนะนำให้ไปโรงพยาบาลตรวจหาโรคเพิ่มเติมดีกว่าครับ การที่ประจำเดือนไม่มามีหลายสาเหตุมากครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
โดยปกติ รอบเดือนของเรา จะคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 21-35 วัน (บวกลบเจ็ดวันจากรอบก่อนๆ ) อยู่แล้วครับ ถ้ายังอยู่ในช่วงนี้ ก็ยังถือว่าปกติครับ แต่ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ก็อาจทำให้คลาดเคลื่อนไปได้อีกครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่วซึม หรือ การหลั่งนอก ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ประจำเดือนมาไม่ปกติ แล้วมีตกขาวบ้างบางทีก่อนที่จะมีประจำเดือน แล้วมีอาการคันร่วมด้วย แล้วหนูเป๋นคนที่มีขนเยอะมาก ขนหน้าแข้งเหมือนผู้ชายเลย หนูผิดปกติไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)