กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง? จำเป็นหรือไม่ อย่างไร?

ตรวจสุขภาพประจำปี ทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพซึ่งจะช่วยให้คุณรู้จัก "ร่างกาย" ตนเองได้อย่างละเอียด
เผยแพร่ครั้งแรก 17 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง? จำเป็นหรือไม่ อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นในผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรืออาจมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย เพื่อประเมินว่า คุณมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน 
  • สามารถตรวจสุขภาพประจำปีได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะจัดโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงอายุ
  • ก่อนไปตรวจสุขภาพ คุณควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ งดรับประทานอาหาร และน้ำเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการตรวจสุขภาพ และไม่ทำให้ค่าการตรวจต่างๆ ออกมาผิดเพี้ยนไปจากเดิม
  • การตรวจสุขภาพของคนแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันไปตามวัย เช่น การตรวจสุขภาพในวัยเด็กจะเน้นไปที่การดูพัฒนการ และการเจริญเติบโต การตรวจสุขภาพผู้ใหญ่ จะเน้นไปที่การดูโรคซึ่งเสี่ยงจะเกิดขึ้น การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ จะเน้นไปที่ความเสื่อม และความสมบูรณ์ของอวัยวะ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันโรคร้าย และความผิดปกติต่างๆ เราทุกคนจึงต้องมีการไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ทุกๆ ปีเพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมถึงการทำงานของอวัยต่างๆ

แล้วการตรวจสุขภาพของคนแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร มาดูกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของการตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพ (Health checks หรือ Medical Checkup) หมายถึง การเข้าตรวจความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของอวัยวะ รวมถึงระบบการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย

นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังเป็นการตรวจดูความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ กับร่างกาย ซึ่งคุณอาจไม่เคยรู้สัญญาณการเกิดโรคมาก่อนก็ได้ และยังทำให้คุณรู้ด้วยว่า ร่างกายตนเองควรรับการฉีดวัคซีนกระตุ้นตัวใดเพิ่มเติมบ้าง

อายุที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่าไหร่ แต่ความจริงทุกคนสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี

แต่หากคุณมีร่างกายแข็งแรง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคใดๆ หรือมีภาวะที่ง่ายต่อการเจ็บป่วย เช่น โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคร้ายแรงซึ่งส่งต่อได้ทางพันธุกรรม ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 15 ปีก็ได้

วิธีเตรียมตัวก่อนไปตรวจสุขภาพ

ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ คุณควรมีการเตรียมร่างกายให้พร้อมเสียก่อน โดยสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย สภาวะจิตใจไม่เครียด พรอมสำหรับการตรวจสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า และเพื่อให้จังหวะการเต้นของหัวใจปกติ
  • ตรวจในช่วงที่ประจำเดือนยังไม่มา เพราะเลือดประจำเดือนสามารถส่งผลต่อการตรวจปัสสาวะได้ และทำให้ค่าการตรวจแปลผลออกมาผิดเพี้ยน
  • งดน้ำ และอาหาร ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ 8-12 ชั่วโมง เพื่อให้ค่าน้ำตาล และไขมันในเลือดที่วัดออกมาแม่นยำ แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
  • งดรับประทานอาหารเค็มขัด และมีไขมันสูง เพื่อไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตสูงขึ้น
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ค่าความดันโลหิตแปลผลได้แม่นยำ
  • รับประทานยาประจำตัวมาให้เรียบร้อย และนำยาติดตัวมาด้วย หากไม่ได้ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลเดียวกับที่กำลังรักษาโรคประจำตัว เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่า ยาดังกล่าวมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่คับแน่น เพื่อให้ง่ายต่อการเจาะเลือด หรือเปลี่ยนชุดเพื่อรับการตรวจวิธีอื่นๆ
  • ไม่ใส่เครื่องประดับ ทั้งต่างหู สร้อยคอ แหวน เพราะโลหะ หรือวัสดุเครื่องประดับอาจทำให้ค่าการตรวจต่างๆ ผิดเพี้ยนได้

อ่านเพิ่มเติม: รวมขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนไปตรวจสุขภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นตอนการตรวจสุขภาพ

ลำดับขั้นตอนการในการตรวจสุขภาพมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ

  1. การซักประวัติกับแพทย์ โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วย ยาที่กำลังรับประทานอยู่ ประวัติโรคประจำตัวของคนในครอบครัว อาการเจ็บป่วยที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน
  2. ตรวจร่างกายตามระบบ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า โดยเริ่มจากการตรวจสภาพทั่วๆ ไปอย่างตรวจสัญญาณชีพ ศีรษะ ใบหน้า ลงมาจนถึงแขนขา และค่อยตรงระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยอาจเริ่มจากระบบประสาท หัวใจ ทางเดินอาหาร ผิวหนัง อวัยวะสืบพันธุ์
  3. ตรวจร่างกายทางห้องปฏิบัติการ เป็นการตรวจกับเจ้าหน้าที่เทคนิคทางการแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด ตรวจดีเอ็นเอ ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจมะเร็งเต้านม

การตรวจสุขภาพแต่ละช่วงวัย

การตรวจร่างกายสำหรับบุคคลทั่วไป แบ่งตามอายุ
18-34 ปี 35-59 ปี 60 ปีขึ้นไป
- วัดความดันโลหิต
- วัดส่วนสูงและน้ำหนักเพื่อค้นหาภาวะโภชนาการ (ดรรชนีมวลกาย หรือ BMI)
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยทำ PAP Smear (ในหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว)
- วัดความดันโลหิต
- วัดส่วนสูงและน้ำหนักตัว เพื่อค้นหาภาวะโภชนาการ (ดรรชนีมวลกาย หรือ BMI)
- ตรวจไขมันในเลือด (ชายอายุ 35 ปี หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป)
- ตรวจน้ำตาลในเลือด (อายุ 40 ปีขึ้นไป)
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยทำ PAP Smear (หญิง)
- ตรวจมะเร็งเต้านม (หญิง) โดยแพทย์คลำก้อนที่เต้านม
- วัดความดันโลหิต- วัดส่วนสูงและน้ำหนักตัว เพื่อค้นหาภาวะโภชนาการ (ดรรชนีมวลกาย หรือ BMI)
- ตรวจการได้ยินโดยการซักประวัติ
- ตรวจการมองเห็นโดย Snellen test
- ตรวจไขมันในเลือด
- ตรวจน้ำตาลในเลือด
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยทำ PAP Smear (หญิงอายุต่ำกว่า 65 ปี)
- ตรวจมะเร็งเต้านม (หญิงอายุต่ำกว่า 70 ปี) โดยแพทย์คลำก้อนที่เต้านม
- ตรวจมะเร็งลำไส้ โดยตรวจเลือดในอุจาาระ

รายการตรวจสุขภาพของคนแต่ละช่วงวัยจำเป็นจะต้องมีการตรวจต่อไปนี้เป็นการตรวจพื้นฐานในทุกๆ วัย

ส่วนรายการตรวจสุขภาพอื่นๆ จะมีความแตกต่างกันไปตามช่วงวัยของผู้เข้ารับการตรวจ ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้

1. ตรวจสุขภาพเด็ก

รายการตรวจสุขภาพเด็กอายุประมาณ 1-10 ขวบจะเน้นไปที่ตรวจพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของระบบต่างๆ ในร่างกายเด็กว่า แข็งแรงตามวัยหรือไม่ รวมถึงดูบุคลิกภาพ และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ซึ่งโดยหลักๆ ได้แก่

  • ตรวจหากรุ๊ปเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด
  • ตรวจความเสี่ยงโรคธาลัสซีเมีย
  • ตรวจความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
  • ตรวจความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • ตรวจหาพยาธิในอุจจาระ
  • ตรวจความสามารถในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
  • ตรวจความสามารถในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • ตรวจความสามารถในการเข้าใจภาษา
  • ตรวจความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่น
  • ตรวจความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และสังคมโดยรวม

นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำวัคซีนที่เด็กทุกคนจำเป็นต้องฉีดให้กับผู้ปกครองด้วย เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม: รวมรายการตรวจสุขภาพสำหรับเด็กที่ควรตรวจ และมีการเตรียมตัวอย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น

การตรวจสุขภาพวัยรุ่น หรือเด็กช่วงอายุ 13-18 ปีจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ การใช้ยาเสพติด การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาด้วย เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มอยากรู้อยากลอง ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม รวมถึงมีการตรวจสุขภาพจิต เพื่อให้แน่ใจว่า เด็กอยู่ภาวะจิตใจที่มั่นคง แจ่มใส ไม่เครียดจนเกินไป

รายการตรวจสุขภาพวัยรุ่นโดยหลักๆ นอกจากรายการตรวจพื้นฐาน จะมีดังต่อไปนี้

  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • ตรวจความแข็งแรงของกระดูก
  • ตรวจคัดกรองภาวะซีด
  • ตรวจคัดกรองภาวะขาดธาตุเหล็ก
  • ตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้
  • ตรวจความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • ตรวจความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจระดับสารแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
  • ตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า และโรคเครียด

สำหรับความรู้ ความเข้าใจที่แพทย์ หรือผู้ปกครองจำเป็นต้องถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค และทำให้เด็กดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ โดยหลักๆ คือ

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด รวมถึงการสูบบุหรี่
  • การขับขี่ยานพาหนะอย่างปลอดภัย ความสำคัญของสวมหมวกกันน็อค
  • วิธีจัดการกับความโกรธ ภาวะอารมณ์เมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน หรือขัดแย้ง
  • ความสำคัญของการออกกำลังกาย

อ่านเพิ่มเติม: รายการตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น พร้อมรายการความรู้ที่ควรให้กับเด็ก

3. การตรวจสุขภาพผู้ใหญ่ช่วงอายุ 18-39 ปี

การสุขภาพในช่วงอายุนี้จะเริ่มมีการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคต่างๆ เข้ามามากขึ้น ร่วมกับการตรวจสุขภาพทั่วไป ซึ่งโดยหลักๆ จะได้แก่

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจระดับคอเลสเตอรอลเพื่อหาความเสี่ยงโรคหัวใจ
  • ตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน หรือภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์
  • ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และตรวจคัดกรองโดยแพทย์
  • ตรวจภายในเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
  • ส่องกล้องตรวจดูความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ตรวจประเมินสุขภาพจิต ความเสี่ยงโรคซึมเศร้า โรคเครียด หรือโรควิตกกังวล

วัคซีนที่แพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้าตรวจรับเพิ่มเติม ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี วัคซีนป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือวัคซีน HPV วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพผู้ใหญ่เพศหญิง อายุ 18-39 ปี ควรตรวจอะไร
อ่านเพิ่มเติม:
ตรวจสุขภาพผู้ใหญ่เพศชาย อายุ 18-39 ปี ควรตรวจอะไร

4. การตรวจสุขภาพผู้ใหญ่ช่วงอายุ 40-64 ปี

เมื่ออายุมากขึ้น คุณก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในวัยใกล้สูงอายุ เมื่อวัยของคุณใกล้เข้าสู่อายุ 50-70 รายการตรวจสุขภาพก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยรายการตรวจที่กลุ่มคนช่วงอายุ 40-64 ปีควรตรวจ ได้แก่

  • ตรวจความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหัวใจ รวมถึงโรคในระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน
  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจโรคเบาหวาน
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ตรวจภายในเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ตรวจความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
  • ตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกาย
  • ตรวจความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจระดับสารแอลกอฮอล์
  • ตรวจประเมินสุขภาพจิต ความเสี่ยงโรคซึมเศร้า โรคเครียด หรือโรควิตกกังวล

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพผู้ใหญ่เพศหญิง อายุ 40-64 ปี ควรตรวจอะไร
อ่านเพิ่มเติม:
ตรวจสุขภาพผู้ใหญ่เพศชาย อายุ 40-64 ปี ควรตรวจอะไร

5. ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม โรคมะเร็งชนิดต่างๆ ปัญหาการได้ยิน และมองเห็นที่เสื่อมลงตามอายุ

รายการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีความคล้ายกับการตรวจสุขภาพเด็ก เพียงแต่จะเป็นการตรวจเพื่อดูระดับความเสื่อม และความคงสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ว่า ยังปกติดีหรือไม่ ไม่ใช่ดูการเจริญเติบโต และพัฒนาการเหมือนเด็ก โดยจะมีดังต่อไปนี้

  • ทดสอบความจำ เพื่อหาโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออาการหลงลืม
  • การตรวจตา เพื่อหาความเสี่ยงโรคต้อหิน ต้อกระจก อาการจอประสาทตาเสื่อม
  • การตรวจหู เพื่อหาความเสี่ยงภาวะหูตึง หูหนวก หูชั้นนอกอุดตัน
  • การตรวจช่องปาก เพื่อหาความเสี่ยงโรคมะเร็งในช่องปาก ปัญหาการบดเคี้ยวอาหารจากฟันแท้ที่หลุดไป
  • ตรวจสมรรถภาพของหัวใจ
  • ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม
  • ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน และส่วนล่าง
  • การตรวจภายใน หาความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การตรวจกระดูก หาความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน
  • ตรวจสุขภาพจิต หาความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า หรือภาวะทางจิตเวชอื่นๆ
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจอุจจาระ

นอกจากนี้แพทย์อาจขอดูยาประจำตัวที่ผู้สูงอายุกำลังรับประทานอยู่ เพื่อจะได้ประเมินว่า ยาดังกล่าวมีส่วนทำให้สุขภาพแย่ลงหรือไม่ และควรปรับยาอย่างไรโดยไม่กระทบกับโรคประจำตัว

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุควรมีรายการอะไรบ้าง หากไม่ยอมไป ควรพูดโน้มน้าวอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม:
วิธีเตรียมตัวไปตรวจสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ รายการที่ควรตรวจ และค่าใช้จ่ายโดยประมาณ

สำหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต่อการเกิดโรค ควรมีการตรวจเพิ่มเติมดังนี้

การตรวจร่างกายสำหรับบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค

โรค

ประวัติที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

การตรวจที่แนะนำ

โรคโลหิตจางจากธาตุเหล็ก

- ผู้ที่มีฐานะยากจน
- มีภาวะทุพโภชนาการ
- มีพยาธิปากขอ
- ผู้ที่ตรวจพบว่า มีภาวะซีด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Hematocrit / Hemoglobin)

โลหิตจางธาลัสซีเมีย

- ผู้ป่วยเป็น หรือมีผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดเป็นโรคธาลัสซีเมีย การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin typing)
ภาวะไขมันในเลือดสูง - มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
- มีภาวะความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
- การตรวจคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- การตรวจสารไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride)
- การตรวจไขมันในเลือด (HDL-C)
โรคเบาหวาน - มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar)
โรคโทรอยด์บกพร่อง - เคยผ่าไทรอยด์
- เคยรับประทานไอโอดีนกัมมันตรังสี
- การตรวจระดับฮอร์โมน (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือตรวจT4
โรคซิฟิลิส และโรคหนองใน - ผู้ขายบริการทางเพศ
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิเชื้อโรคซิฟิลิส (Venereal Disease Research Laboratory: VDRL หรือ Rapid Plasma Reagent: RPR)
- การย้อมสีเชื้อแบคทีเรีย Gram Stain for GC
โรคเอดส์ - ผู้ที่ขายบริการทางเพศ
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- มีประวัติติดยาเสพติด
- มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
- การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี (Anti HIV)
วัณโรค - ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคเกินกว่า 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์
- การทดสอบทูเบอร์คูลินเพื่อหาเชื้อวัณโรค (Tuberculin test)
พยาธิ - อาศัยในแหล่งที่มีพยาธิระบาด ได้แก่ ภาคอีสาน ภาคใต้
- ชอบรับประทานของสุกๆ ดิบๆ
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นพยาธิ หรือเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี
- การตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อปรสิตStool for parasite
โรคมะเร็งลำไส้ - มีญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ และมะเร็งทวารหนัก
- มีติ่งเนื้อในลำไส้
- การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Stool occult blood) 
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscope)


การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม หลายคนมักคิดว่า หากไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก็ได้ แต่ความจริงต่อให้ไม่มีสัญญาณของโรคใดๆ คุณก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อความมั่นใจว่า ระบบภายในร่างกายยังทำงานสมบูรณ์แข็งแรงอยู่

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โปรแกรมตรวจสุขภาพ มะเร็งทั่วไป ตรวจอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/cancer-screen).
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/pre-employment-medical-screening).
Raffle, Angela E.; Muir Gray, J. A. (2007). Screening: Evidence and practice. Oxford University Press. doi:10.1093/acprof:oso/9780199214495.001.0001. ISBN 978-0-19-921449-5.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวมแพ็คเกจ ตรวจสุขภาพของโรงพยาบาล
รวมแพ็คเกจ ตรวจสุขภาพของโรงพยาบาล

แพ็คเกจตรวจสุขภาพจาก 4 โรงพยาบาลชื่อดังมาให้ได้ศึกษาและลองเปรียบเทียบกัน

อ่านเพิ่ม
คู่มือการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ควรตรวจอะไรบ้าง เตรียมตัวอย่างไร?
คู่มือการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ควรตรวจอะไรบ้าง เตรียมตัวอย่างไร?

การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุมีความจำเป็น แต่แค่ตรวจอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลสุขภาพควบคู่ไปด้วย

อ่านเพิ่ม