วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

รวมคำแนะนำ การตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตรวจสุขภาพสำคัญยังไง เตรียมตัวอย่างไรให้ผลตรวจออกมาแม่นยำ
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมคำแนะนำ การตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของร่างกายว่า มีความผิดปกติ หรือมีสัญญาณของโรคใดๆ หรือไม่ 
  • ปัจจุบันในโรงพยาบาลและคลินิกมีแพ็กเกจตรวจสุขภาพหลากหลายมาก ตัวอย่างรายการตรวจสุขภาพที่ทุกคนควรเข้ารับการตรวจ ได้แก่ ตรวจความดันโลหิต ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 
  • นอกจากรายการตรวจสุขภาพพื้นฐานแล้วยังมีรายการตรวจอื่นๆ ซึ่งสามารถเลือกตรวจเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์เชิงลึกมากขึ้น เช่น อัลตราซาวด์ช่องท้อง ตรวจภายใน ตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ก่อนตรวจสุขภาพ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อให้ร่างกาย ความสดชื่น ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ และต้องนำยาประจำตัวกับประวัติสุขภาพ ติดมาให้แพทย์ประเมินเพิ่มเติมด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติเป็นประจำ หรือทุกๆ ปี เพื่อให้มั่นใจว่า สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ว่าจะเป็นระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันชนิดต่างๆ รวมถึงการทำงานโดยรวมของร่างกาย

ปัจจุบันโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมีแพ็กเกจการตรวจสุขภาพหลากหลายแบบ ทั้งนี้การตรวจสุขภาพแต่ละแบบ ผู้เข้ารับการตรวจควรมีการเตรียมตัวเพื่อให้ผลตรวจออกมาแม่นยำและทำให้ขั้นตอนการตรวจสุขภาพครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของการตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพ (Health checks หรือ Medical Chcekup) คือ การตรวจความสมบูรณ์ของการทำงานของระบบในร่างกาย รวมถึงตรวจสอบหาสัญญาณความผิดปกติเกี่ยวกับโรคภัยต่างๆ ในร่างกายซึ่งอาจเกิดขึ้นแต่เราไม่รู้ตัว

ทุกครั้งที่ตรวจสุขภาพ ผู้ตรวจยังจะได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพต่างๆ จากแพทย์ เช่น วิธีปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ตลอดจนแนะนำแนวทางการรักษาความผิดปกติของร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

นอกจากนี้แพทย์ยังอาจช่วยตรวจสอบด้วยว่า วัคซีนที่คุณเคยได้รับไปก่อนหน้านี้ ถึงเวลาต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นแล้วหรือยัง

รายการตรวจสุขภาพที่ควรตรวจ

รายการต่อไปนี้ คือ รายการตรวจสุขภาพที่คุณควรได้รับจากการตรวจสุขภาพในแต่ละครั้ง หรือควรตรวจตามรายการต่อไปนี้เพื่อหาความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนที่สุด ได้แก่

  • การตรวจค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)
  • การตรวจความดันโลหิต (Blood Pressure)
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)
  • การตรวจตา (Eye Examination)
  • การตรวจหูเพื่อคัดกรองการได้ยิน (Audiogram)
  • การตรวจฟัน (Oral Health)
  • การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG)
  • การตรวจเลือดเพื่อดูระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol) เพื่อหาความเสี่ยงโรคเบาหวาน (Diabetes)
  • การตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood sugar) เพื่อหาความเสี่ยงโรคเบาหวาน (Diabetes)
  • การตรวจเลือด (Blood test) เพื่อตรวจการทำงานของตับ (Liver function test) และการทำงานของไต (Renal function test)
  • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)

นอกจากรายการต่อไปนี้ ทางโรงพยาบาลอาจมีรายการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมสำหรับให้ผู้เข้าตรวจเลือกตรวจตามความต้องการ เช่น

  • การตรวจแมมโมแกรมเพื่อหาความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม (Mammogram)
  • การตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid function test)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
  • การตรวจภายในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (Gynecological Examination)
  • การตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear)
  • การตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA)
  • การตรวจหาความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease: STD)

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสิวอักเสบ สิวอุดตัน ผื่นแพ้ ไมเกรน ซึ่งเป็นอาการเรื้อรังแก้ไม่หาย สาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากปัญหาแพ้อาหาร ปัจจุบันโรงพยาบาล และคลินิกสุขภาพชั้นนำหลายแห่งจึงมีบริการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงให้บริการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลตรวจที่ได้สามารถนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อให้อาการเรื้อรังต่างๆ ที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

เพื่อให้ผลตรวจออกมาแม่นยำตรงกับภาวะสุขภาพของคุณที่สุด ก่อนไปตรวจสุขภาพควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการตรวจวัดระดับความดันโลหิต และเพื่อให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย มีความพร้อมขณะตรวจสุขภาพมากขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ หรือกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ามาก ทั้งในช่วงเย็น และกลางคืนก่อนวันไปตรวจสุขภาพ รวมถึงตอนเช้าของวันไปตรวจสุขภาพด้วย เพราะการออกกำลังกายก่อนไปตรวจสุขภาพจะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติได้

  • เว้นช่วงมีประจำเดือน ในขณะมีประจำเดือนยังไม่ควรไปตรวจสุขภาพที่มีการตรวจปัสสาวะอยู่ในแพ็กเกจด้วย และรอให้เลือดประจำเดือนหมดไปเสียก่อน เพราะหากมีเลือดปนในปัสสาวะจะทำให้ผลการตรวจปัสสาวะมีโอกาสเพี้ยนไปจากเดิมได้

  • งดน้ำ และอาหาร ส่วนมากรายการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปจะมีการตรวจเลือดเพื่อหาค่าน้ำตาล และไขมันในเลือด คุณจึงควรงดน้ำ และอาหารประมาณ 8-12 ชั่วโมงเพื่อให้ผลการตรวจออกมาแม่นยำที่สุด แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และเค็มจัด เพราะอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตสูงขึ้น โดยคุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนไปตรวจสุขภาพ

    แต่หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารเหล่านี้จริงๆ ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานก่อนตรวจสุขภาพเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และงดสูบบุหรี่ สำหรับใครที่ดื่มกาแฟเป็นประจำในตอนเช้า หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรงดเว้นพฤติกรรมทั้ง 2 อย่างนี้อย่างน้อย 1 เดือนก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อให้ค่าความดันโลหิตเป็นไปตามความจริง และแปลผลได้ง่าย

  • รับประทานยาประจำตัวมาให้เรียบร้อย โดยปกติคุณสามารถรับประทานยาประจำตัวก่อนมาตรวจสุขภาพได้

    อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดมีผลต่อการแปลผลการตรวจสุขภาพ คุณควรปรึกษากับแพทย์เสียก่อนว่า ยาชนิดนั้นๆ มีผลต่อการตรวจสุขภาพหรือไม่ และควรงดรับประทานก่อนเข้ารับการตรวจหรือเปล่า

  • นำยา และประวัติการรักษาโรคต่างๆ มาให้แพทย์ประเมินด้วย หากคุณไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเดียวกับที่กำลังรักษาโรคประจำตัวอยู่ คุณต้องนำยารักษาโรค และประวัติการเจ็บป่วยมาที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ใช้สำหรับประเมินผลการตรวจสุขภาพด้วย

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่คับแน่น ควรเป็นเสื้อแขนสั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเจาะตรวจเลือด หากมีการตรวจภายในควรใส่กระโปรง หรือใส่เสื้อผ้าที่สามารถถอดเปลี่ยนเป็นชุดสำหรับเข้ารับการตรวจได้ง่าย 
  • หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับ เช่น ต่างหู สร้อยคอ เพราะหากต้องเข้าห้องตรวจเอกซเรย์จะต้องถอดสิ่งเหล่านี้ออกเพื่อความปลอดภัย และเพื่อไม่ให้ค่าตัวเลข ผลการตรวจบางอย่างผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง 

    อย่างไรก็ตาม การวางทรัพย์สินของมีค่าไว้ไกลตัวมีโอกาสสูญหายได้ระหว่างตรวจ ดังนั้นจึงอาจให้คนใกล้ชิดมาเป็นเพื่อนเพื่อเฝ้าทรัพย์สินให้

นอกจากนี้คุณยังควรนัดตรวจสุขภาพในตอนเช้าเพื่อให้ร่างกายที่เข้ารับการตรวจยังสดชื่น ผ่อนคลาย และกระปรี้กระเปร่า อีกทั้งส่วนมากตารางการตรวจสุขภาพมักจะมีระยะเวลายาวนานตลอดทั้งวัน

หากคุณจัดตารางการตรวจสุขภาพตั้งแต่ตอนเช้าถือว่า "คุ้มค่าที่สุด" เพราะนอกจากคุณจะไม่ต้องเป็นกังวลในการงดน้ำ หรืองดอาหาร ในระหว่างวันแล้ว การตรวจตอนเช้ายังอาจช่วยให้คุณได้รับผลตรวจสุขภาพบางรายการได้ในช่วงบ่าย หรือเย็น 

การตรวจสุขภาพในปัจจุบันเป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สามารถหาซื้อแพ็กเกจการตรวจได้ง่ายและมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ตรวจเฉพาะสิ่งที่ตนเอง หรือแพทย์สงสัย ตรวจตามความจำเป็น เช่น ตรวจก่อนเข้างานใหม่ ตรวจตามงบประมาณที่มี 

ทุกคนควรใส่ใจเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หรือตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อให้รู้เท่าทันความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ หากตรวจพบความผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thepapergown, How to Prepare for Your Annual Physical Exam (https://thepapergown.zocdoc.com/how-to-prepare-for-your-annual-physical-2/), 21 September 2020.
Reader’s Digest canada, 3 Ways to Prepare for a Medical Screening Test (https://www.readersdigest.ca/health/healthy-living/3-ways-prepare-check/), 21 September 2020.
Medical Exam, 8 Tips for a Successful Medical Exam (https://www.medicalexam.com/8-tips-for-a-successful-medical-exam/), 17 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม