เวลาที่ดูรายการแพ็คเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี หรือดูรายงาน ผลการตรวจสุขภาพประจำปี อาจสงสัยว่า ตัวย่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น "CBC" "FBS" หรือ "SGOT" นั้น หมายความว่าอะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับสุขภาพของเรา มีวิธีการตรวจอย่างไร เราจะอธิบายโดยละเอียด
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
รายการพื้นฐานที่แทบทุกโปรแกรมการตรวจสุขภาพต้องมี โดยการตรวจร่างกายนั้น แพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยในเบื้องต้น ของทั้งตัวคุณเอง และสมาชิกในครอบครัว ประวัติอาการต่างๆ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอกจากนี้ยังมีการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถแยกโรคได้ในระดับหนึ่ง
1. การ Chest x-ray
เอกซเรย์ปอด (Chest x-ray) คือ การตรวจทางรังสีวิทยา โดยถ่ายภาพทรวงอกด้วยลงบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งแพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะต่างๆ เกี่ยวกับทรวงอก โดยผลการเอกซ์เรย์นี้สามารถบอกข้อมูลเกี่ยวกับทรวงอกว่า มีความรอยผิดปกติหรือไม่ เช่น
- มีน้ำในเยื้อหุ้มปอดหรือน้ำท่วมปอดหรือไม่
- หัวใจมีขนาด หรือรูปร่างปกติ
- หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำในช่องอกปกติหรือไม่
- กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกไหปลาร้า กระบังลมปกติหรือไม่
2. การตรวจ CBC (Complete Blood Count)
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) คือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โดยการเจาะเลือดตรวจเพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่
- จำนวนเม็ดเลือดแดง/เม็ดเลือดขาว
- เกล็ดเลือด
- รูปร่างของเลือด
- ประเมินความเข้มข้นของเลือด
ส่วนประกอบของเลือดอาจบอกถึงสภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำนวนเกล็ดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งค่าแต่ละชนิดสามารถแปลผลได้ดังนี้
- ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb / HGB ) คือ ค่าระดับโปรตีน หรือสารสีแดงในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่จับกับออกซิเจน เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งค่าปกติของผู้ชาย และผู้หญิงจะมีค่าแตกต่างกัน
ค่าฮีโมโกลบินมาตรฐานสำหรับผู้ชาย = 13.5-17.5 g/dLค่าฮีโมโกลบินมาตรฐานสำหรับผู้หญิง = 12.0-15.5 g/dL - ฮีมาโทคริต (Hematocrit: HCT) คือ ค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรของเลือดทั้งหมด ซึ่งค่านี้จะแสดงโดยการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ ค่าปกติสำหรับเพศชาย และเพศหญิงคือ 40-50% และ 35-47% ตามลำดับ
- การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell Count: WBC) คือ จำนวนของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดที่มีทั้งหมดในเลือดในขณะที่ทำการตรวจ ซึ่งสภาวะปกติจะมีเม็ดเลือดขาวประมาณ 4,500-10,000 cell/ml
หากจำนวนเซลล์เม็กเลือดขาวมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานนั่นอาจแปลว่าร่างกายอาจมีภาวะติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ความผิดปกติของไขกระดูก ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง แต่หากมีค่าสูงอาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบ หรือติดเชื้อภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อมาจัดการกับเชื้อโรค
3. การตรวจ FBS
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fast Blood Sugar: FBS ) เรียกอีกชื่อว่า Fasting Plasma Glucose (FPG) หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่า "เป็นค่าเบาหวาน" คือ การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด หลังการงดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดเป็นการตรวจเพื่อใช้เป็นข้อมูลว่า ปริมาณของกลูโคสในกระแสเลือด ณ ขณะนั้นอยู่ในระดับปกติหรือไม่ โดยค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของคนทั่วไปจะแตกต่างกันตามเกณฑ์ของแต่ละโรงพยาบาล แต่ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 70 -99 mg/dl
4. การตรวจ EKG (Elektrokardiogram หรือ Electrocardiography)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG) เป็นการตรวจทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้น ซึ่งจะช่วยในการประเมิน และวินิจฉัยเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจในเบื้องต้น โดยข้อมูลที่ได้อาจช่วยบ่งชี้โรคหรืออาการสำคัญได้ เช่น
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
5. การตรวจ SGOT / SGPT (Serum glutamic oxaloacetic transaminase / Serum Glutamic Pyruvate Transaminase)
การตรวจการทำงานของตับ (Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase: SGOT) หรือ "Aspartate transaminase: AST" เป็น 2 คำที่มีความหมายเดียวกัน คือ เอนไซม์ที่ตรวจพบได้ในกระแสเลือด ซึ่งจะสร้างขึ้นตับ เม็ดเลือดแดง หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับอ่อน หรือไตเกิดความเสียหาย
โดยส่วนมากค่านี้จะใช้ตรวจวัดว่า ตับมีความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่จะเห็นได้ว่า ค่า SGOT ไม่ได้บ่งบอกแค่ความเสียหายของตับเท่านั้น แต่เป็นค่าที่สะท้อนความเสียหายจากอวัยวะอื่นๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม เพราะตับเป็นอวัยวะที่ไวต่อโรค หรือปัจจัยที่มากระทบ เช่น สารเคมี สารพิษ จึงมักเป็นสาเหตุแรกๆ ที่ทำให้ SGOT สูงขึ้นกว่าปกติ แต่ผลก็ยังไม่แม่นยำเท่าที่ควร
ดังนั้นหากต้องการตรวจวัดความเสียหายของตับจึงต้องดูควบคู่ไปกับค่าอื่นๆ นั่นคือ การตรวจ SGPT หรือ Alanine Transaminase (ALT) ซึ่งเป็นการตรวจสอบความเสียหายของตับเช่นกัน และจะให้ผลได้แม่นยำมากกว่าค่าอื่นๆ เช่น SGOT
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตามปกติค่า SGOT / SGPT จะอยู่ที่ไม่เกิน 40 U/L (ค่าปกติอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับชนิดน้ำยาตรวจของแต่ละโรงพยาบาล ดังนั้นแม้ว่าในรายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปี จะระบุว่าค่า SGOT / SGPT เกินกว่า 40 U/L ก็อย่าเพิ่งกังวล ควรตรวจดูค่าปกติของโรงพยาบาลนั้นๆ ควบคู่กันด้วย)
6. การตรวจค่า Cholesterol / Triglyceride
- คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ สารคล้ายไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยมีหน้าที่หลายประการ เช่น เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อผนังห่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ เป็นวัตถุดิบให้ร่างกายผลิตน้ำดี เป็นฉนวนปกป้องห่อหุ้มเส้นใยประสาทเพื่อให้การสื่อประสาทเป็นไปอย่างฉับไว และถูกต้อง
หากปริมาณคอเลสเตอรอลมีมากเกินไป ก็อาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน หรือทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ โดยปัจจัยที่ทำให้คอเลสเตอรอลมีมากเกินไป มักมาจากการรับประทานอาหารจำพวกน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว โดยค่าคอเลสเตอรอลในเลือด ไม่ควรเกิน 200 mg/dl - ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ร่างกายได้รับจากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน แอลกอฮอล์ และสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับ และเนื้อเยื่อไขมัน
เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารดังที่กล่าวไป จะสะสมไว้ในรูปไตรกลีเซอไรด์ โดยปริมาณไตกลีเซอไรด์ที่สูงเกินไปอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โดยปกติควรมีค่าน้อยกว่า 150 mg/dl
7. การตรวจหาไขมัน HDL และ LDL
- HDL (High-density lipoprotein cholesterol) เป็น "ไขมันดี" ที่มีหน้าที่จับสารคอเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือด นำไปทำลายที่ตับ โดยผู้ที่มีระดับ HDL สูง จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ โดยระดับ HDL ในหลอดเลือดไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/d
- LDL (Low-density lipoprotein cholesterol) เป็น "ไขมันไม่ดี" มีบทบาทช่วยกันขนส่งคอเลสเตอรอลจากตับออกไปทั่วร่างกาย
หากไขมันไม่ดีมีปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) และส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง โดยระดับ LDL ในหลอดเลือดไม่ควรสูงกว่า 130 mg/dl
8. การตรวจ Urine Examination
การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine Examination) หรือ Urinalysis (UA) คือ การตรวจดูความผิดปกติของร่างกาย เช่น สี ภาวะกรดด่าง โปรตีน น้ำตาล เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ผ่านปัสสาวะซึ่งจะให้ผู้เข้าตรวจปัสสาวะใส่กระบอก แล้วนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
9. การตรวจ BUN / Creatinine
การตรวจสารยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือด (Blood Urea Nitrogen: BUN) คือ การตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณสารยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือด ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย เพื่อตรวจดูการทำงานของไต
ค่า BUN ที่สูงอาจหมายถึงไตเริ่มทำหน้าที่บกพร่อง ในการกำจัดของเสียโดยทั่วไปค่า BUN จะอยู่ระหว่าง 10-20 mg/dl แต่ก็ไม่สามารถให้ผลชี้ชัดได้ ต้องอาศัยค่าอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ค่า Creatinine
การตรวจสมรรถภาพของไต (Creatinine) คือ ของเสียที่เกิดจากการสลายกล้ามเนื้อซึ่งไตจะขับทิ้งออกทางปัสสาวะ โดยอาจเหลือค้างในกระแสเลือดเล็กน้อย
แต่ถ้าการทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง ไตจะขับ Creatinine ออกทิ้งไม่ทัน ทำให้ค่านี้สูงขึ้น ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า ผู้ป่วยอาจเป็นโรคไต โดยค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในผู้ชาย คือ 0.6-1.2 mg/dL ในผู้หญิง คือ 0.5-1.1 mg/dL
10. ตรวจ Uric Acid
ตรวจกรดยูริก (Uric Acid) คือ การตรวจวัดปริมาณกรดยูริกในเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัย และติดตามอาการโรคเกาต์ รวมทั้งผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี และยังเป็นการตรวจที่อาจใช้เป็นสัญญาณบ่งชี้สุขภาพของไตอย่างหนึ่งได้ด้วย
หากปริมาณกรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน จะตกผลึกจับตัวกันเป็นของแข็ง แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างข้อต่อและกระดูก ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดร้าวตามข้อกระดูกต่างๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "โรคเกาต์ (Gout)"
11. HBs Ag / Anti-HBs
- Hepatitis B surface (HBs Ag) คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นไวรัสสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบ และอาจลุกลามไปเป็นมะเร็งตับได้ หากพบว่า มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที
- Hepatitis B surface antibody (Anti-HBs) คือ การตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งผู้ที่จะมีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบีได้นั้น ต้องเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน หรือเคยได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
12. ตรวจ Pap Smear
การตรวจ Pap Smear คือ การตรวจภายในสำหรับผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจดูความผิดปกติหรือแผลในช่องคลอด และปากมดลูก
การตรวจ Pap Smear เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านช่องคลอด จากนั้นจะป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้
13. การตรวจ Mammogram and Ultrasound
คือ การตรวจเต้านมเพื่อทดสอบว่า มีโอกาสเปิดก้อนเนื้อ หรือมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยมีการตรวจ 2 ลักษณะคือ
- การตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสี คล้ายกับการเอกซเรย์ แต่เครื่องตรวจแมมโมแกรม จะใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป แต่มีความสามารถในการตรวจที่ละเอียดกว่ามาก
โดยทั่วไป เครื่องแมมโมแกรมจะฉายรูปเต้านมด้านละ 2 รูป โดยการบีบเนื้อเข้าหากัน และถ่ายรูปจากด้านบน และด้านข้างอย่างละหนึ่งรูป รวมการตรวจแมมโมแกรมในระบบมาตรฐาน 4 รูป - การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูง เข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจ ซึ่งจะตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ ทำให้สามารถแยกเนื้อเยื่อเต้านมปกติ กับก้อนในเต้านมได้
นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์ยังสามารถบอกได้ว่า ก้อนที่พบในเนื้อเต้านมนั้น มีองค์ประกอบเป็นน้ำ หรือ เป็นก้อนเนื้อ
การตรวจด้วยแมมโมแกรม และ อัลตราซาวด์ มีข้อดีต่างกัน บางครั้งการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่งจะได้ประโยชน์มากกว่า แต่บางครั้ง การตรวจทั้ง 2 อย่างก็จะช่วยเสริมให้การวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้น
14. สารบ่งชี้มะเร็ง
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้ทุกวันนี้สามารถตรวจเลือดเพื่อหาสารที่บ่งชี้ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ได้ด้วย โดยค่าที่ผลการตรวจสุขภาพประจำปีมักแสดงเพื่อชี้วัดมะเร็งมีดังนี้
- PSA (Prostate-Specific Antigen) สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก
- AFP (Alpha-Fetoprotien) สารที่บ่งชี้สภาวะของโรคมะเร็งตับ
- CA125 (Cancer antigen 125) สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
- CA15-3 (Cancer antigen 15-3) สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม
- CA19-9 (Cancer antigen 19-9) สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน และท่อน้ำดี
- CEA (Carcinoembryonic Antigen) สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ผลการตรวจสุขภาพประจำปี อาจมีค่าเหล่านี้ผิดปกติ ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน เพราะค่าต่างๆ เหล่านี้อาจคลาดเคลื่อนได้จากหลายปัจจัย จึงต้องมีการวินิจฉัยเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอนเพื่อยืนยันผลการตรวจ
15. การตรวจ TSH (Thyroid stimulating Hormone)
TSH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมน
หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติ ค่า TSH จะต่ำ หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไป จะ ทำให้ค่า TSH สูง โดยค่าปกติอยู่ที่ 0.5-5.0 mU/L หมายถึง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง
16. CRP (C-reactive protein)
CRP เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ ดังนั้นการตรวจหาระดับ CRP จึงเป็นการตรวจหาว่ามีการอักเสบในร่างกายหรือไม่ แต่การตรวจนี้บอกเพียงว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุหรืออวัยวะที่อักเสบ และไม่สามารถบอกว่าภาวะนั้นเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง
17. การตรวจ Homocysteine
การตรวจสารโฮโมซีสทีน เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของอาหารประเภทโปรตีน ถ้าร่างกายมีสารชนิดนี้สูงเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็น สารก็จะเข้าไปทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง
โดยทำให้หลอดเลือดมีโอกาสตีบและอุดตันได้ง่ายขึ้น
18. การตรวจ EST (Exercise Stress Test) หรือ ETT (Exercise Tolerance Test)
การตรวจ EST คือ "การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ" โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดินบนสายพานเลื่อนหรือปั่นจักรยาน เพื่อทดสอบว่า เมื่อหัวใจมีความต้องการในการใช้ออกซิเจนจากเลือดเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ออกกำลังกายแล้วจะเกิดภาวะการขาดเลือดขึ้นหรือไม่
19. การตรวจ Echo (Echocardiogram หรือ Echocardiography)
การตรวจ Echo หรือ "การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง" คือ การตรวจโรคหัวใจที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย และติดตามอาการโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
ทั้งนี้แม้ว่าการตรวจสุขภาพประจำมีจะมีรายการมากมาย แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีทุกประการ หรือไม่มีความเสี่ยงของโรคต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจให้ครบทุกรายการ
เพียงเลือกตรวจเฉพาะรายการหลักๆ ที่จำเป็น ตามช่วงอายุ เพราะการตรวจที่มากเกินไป นอกจากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากแล้ว ยังไม่เกิดประโยชน์ใดๆ อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี โปรแกรม All You Can Check ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพ ที่ โรงพยาบาลพระราม 9 กว่า 22 รายการ | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี ที่ RSU Healthcare | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพกระดูก ตรวจสุขภาพข้อ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพ Advanced Program ที่ โรงพยาบาลแพทย์รังสิต | HDmall
- รีวิวตรวจสุขภาพ All You Can Check ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้หญิง ที่ Bangkok Anti-Aging Center | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพ 5 โรค ที่ รพ.สินแพทย์ รามอินทรา | HDmall
- รีวิว ตรวจสุขภาพโปรแกรม Long COVID-19 ติดตามอาการหลังหายจากโควิด ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android