กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี (Laminectomy)

การผ่าตัดเพื่อลดแรงกดบนไขสันหลังหรือเส้นประสาทไขสันหลัง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี (Laminectomy)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดเอาแผ่นกระดูกลามินา (Lamina) ในกระดูกสันหลังออกทั้งหมด โดยกระดูกลามินา เป็นส่วนนอกของกระดูกที่อยู่บนข้อกระดูกแต่ละส่วนในกระดูกสันหลัง การตัดแผ่นกระดูกลามินาออกจากกระดูกสันหลังจะทำให้เกิดช่องว่าง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดบนไขสันหลังหรือเส้นประสาทไขสันหลัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาและตรวจกระดูกสันหลัง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 72%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การผ่าตัดแบบลามิเนกโตมี ยังเรียกได้อีกชื่อ คือการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับไขสันหลัง มักใช้เพื่อบรรเทาอาการโพรงกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ (Spinal stenosis) ซึ่งเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังแคบลงและทำให้เกิดความดันในไขสันหลังหรือเส้นประสาทไขสันหลัง ที่มีสาเหตุจาก

  • ข้อกระดูกสันหลังอักเสบ
  • อายุเยอะ
  • ความบกพร่องที่เป็นมาแต่กำเนิด
  • โรคกระดูก Paget's disease (ภาวะที่กระดูกเจริญเติบโตอย่างไม่ปกติ)
  • ร่างกายเตี้ยแคระ (Dwarfism)
  • เนื้องอกในกระดูกสันหลัง
  • บาดแผลมีอาการบาดเจ็บ
  • หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated disc หรือ Slipped disc)

แพทย์จะเลือกวิธีการผ่าตัดแบบลามิเนกโตมี ก็ต่อเมื่อการรักษาอื่นๆ เช่น การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาหรือการฉีดยาเพื่อรักษาไม่เป็นผล

ขั้นตอนของการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี

ผู้ป่วยจะถูกวางยาสลบหรือให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลัง (Spinal block) ระหว่างการผ่าตัด โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดแบบนี้จะใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องนอนคว่ำหน้าอยู่บนเตียงผ่าตัดตลอด จากนั้นศัลยแพทย์จะผ่าที่กลางหลังหรือคอ เพื่อเปิดผิวหนัง กล้ามเนื้อและเอ็นไปด้านข้าง ก่อนจะเอาชิ้นส่วนของกระดูกลามินาทั้งหมดในกระดูกสันหลังที่ได้รับผลกระทบออก บางกรณีแพทย์อาจเอากระดูกงอก (Bone spurs) หมอนรองกระดูกที่แตกเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเนื้อเยื่อที่เป็นปัญหาอื่นๆออกด้วย 

บางครั้ง แพทย์อาจทำการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (spinal fusion) ซึ่งจะเชื่อมเอากระดูกสันหลังหนึ่งหรือสองส่วนเข้าไว้ด้วยกัน หรืออาจทำการผ่าตัดขยายรูรากประสาท (Foraminotomy) ซึ่งจะขยายช่องเปิดที่หลังให้กว้างขึ้น ช่องนี้จะเป็นส่วนของรากประสาทที่ทำให้เกิดโพรงกระดูกสันหลัง

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น แพทย์จะเอากล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ที่เปิดออกกลับเข้าที่เดิม และเย็บแผลผ่าตัดด้วยวัสดุเย็บแผลแบบสำเร็จรูป (Staples) หรือใช้เข็มเย็บ (Stitches) แพทย์อาจใช้วิธีการแบบ Invasive technique ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดที่สร้างรอยแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเอง

ก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี

ก่อนจะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยวิธีลามิเนกโตมี แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทำ CT scan หรือ MRI เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยมีปัญหาโพรงกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ (Spinal stenosis) จริงๆ ซึ่งผู้ป่วยต้องให้ข้อมูลแพทย์เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่ได้รับประทานไปก่อนจะเข้ารับการผ่าตัด เพราะบางครั้งแพทย์อาจสั่งให้หยุดรับประทานยาต่างๆ เช่น Advil (ไอบูโพรเฟนAleve (นาพรอกเซน) และยาแอสไพริน เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบในกรณีที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก รวมถึงโรคประจำตัว โดยเฉพาะ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เริม หรือไข้หวัด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดแพทย์จะสั่งห้ามไม่ให้กินหรือดื่มอะไรเลยเป็นเวลา 6–12 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 

หลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี

หลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 1–2 วัน แต่อาจขอกลับไปพักฟื้นที่บ้านหลังจากผ่าตัดเสร็จได้ ระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจต้องพักกิจกรรมบางอย่าง เช่น การก้ม การยกของ หรือปีนขึ้นบันไดเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากผ่าตัด และต้องทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดเพื่อปรับร่างกายให้ยืดหยุ่นและแข็งแรงด้วย ช่วงของการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับอาการและประเภทของการผ่าตัดที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับมาทำงานได้ภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์หลังการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยรายอื่นๆ อาจต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือนจึงจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

หากพบอาการผิดปกติหลังผ่าตัดดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีหนองไหล บวม หรือแดงที่แผลผ่าตัดหรือบริเวณใกล้ๆ แผล ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ
  • เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก
  • เป็นไข้
  • ขาบวมหรือตึง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป