โรคตับจากแอลกอฮอล์

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
โรคตับจากแอลกอฮอล์

โรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcohol-related liver disease - ARLD) เป็นคำเรียกความเสียหายที่ตับ ซึ่งเกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคนี้มีหลายระยะและมีขอบเขตของอาการมากมาย

ARLD มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ จนกว่าตับจะเสียหายอย่างรุนแรงแล้ว เมื่ออยู่ในระยะนี้ อาการที่ปรากฏจะมีดังนี้: รู้สึกคลื่นไส้ น้ำหนักลด ไม่อยากอาหาร ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง (ดีซ่าน) ข้อเท้าและท้องบวม สับสน หรือง่วงนอน อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายหนักปนเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ARLD มักจะถูกวินิจฉัยพบระหว่างการตรวจหาภาวะสุขภาพอื่น ๆ หรือตรวจพบเมื่อโรคนี้ก้าวไปสู่ระยะที่ตับเสียหายมากแล้ว

หากคุณเป็นผู้ที่ชื่นชอบการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาความเสียหายที่ตับของคุณ

แอลกอฮอล์กับตับ

นอกจากสมองแล้ว อวัยวะที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ก็คือตับ หน้าที่ของตับมีดังนี้: กรองสารพิษออกจากเลือด ช่วยในการย่อยอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยในการต่อสู้กับภาวะติดเชื้อและโรคภัย

ตับมีความคงทนอย่างมาก และสามารถฟื้นฟูตนเองได้ แต่ในแต่ละครั้งที่ตับกรองแอลกอฮอล์ เซลล์ของตับบางส่วนจะตายลง

แม้ตับจะสามารถผลิตเซลล์ใหม่ทดแทนได้ แต่การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นเวลานานหลายปีก็สามารถกดความสามารถในการฟื้นตัวของตับลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตัวตับอย่างร้ายแรงและถาวร

ระยะของ ARLD

ARLD มีอยู่สามระยะ แต่ก็มีบ่อยกรณีที่แต่ละระยะซ้อนทับกันอยู่ รายละเอียดของแต่ละระยะจะถูกอธิบายไว้ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ภาวะไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ แม้จะเป็นเพียงการดื่มภายในเวลาไม่กี่วันก็สามารถทำให้ไขมันสะสมอยู่ที่ตับได้ ภาวะเช่นนี้จะเรียกว่าภาวะไขมันพอกตับจากฤทธิ์แอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease) และนับเป็นระยะแรกของ ARLD

โรคไขมันพอกตับมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญว่าคุณกำลังดื่มเหล้ามากเกินไป

โรคไขมันพอกตับสามารถเยียวยาให้หายได้ด้วยการหยุดดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากช่วงเวลาหักดิบนี้ตับของคุณควรจะกลับไปสู่สภาพเดิม

ภาวะตับอักเสบจากแอลกอฮอล์

โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic hepatitis) ไม่เหมือนกับโรคตับอักเสบจากการติดเชื้อ (infectious hepatiti) ภาวะนี้เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์มาก ๆ เป็นเวลานาน เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นจะเป็นสัญญาณเตือนที่แจ้งผู้ติดสุราว่าพวกเขากำลังสร้างความเสียหายต่อตับของตนเองด้วยการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

ในบางกรณี โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์สามารถเกิดขึ้นได้แม้คุณจะดื่มสุราเป็นปริมาณมาก ๆ ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ อย่างการดื่มอย่างหนักรวดเดียว

ความเสียหายของตับที่เกิดจากโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ชนิดไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้หากคุณเลิกดื่มแอลกอฮอล์ถาวร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่สำหรับโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ชนิดรุนแรงนั้นจะนับเป็นภาวะสุขภาพที่อันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยมากมายเสียชีวิตจากภาวะนี้ และบางรายก็พบว่าตนเองป่วยเป็นโรคตับรุนแรงก็เมื่อมาถึงระยะนี้แล้ว

ภาวะตับแข็ง

ภาวะตับแข็ง (Cirrhosis) คือระยะหนึ่งของ ARLD ที่ซึ่งตับมีแผลค่อนข้างมาก กระนั้นระยะนี้ก็ยังคงไม่มีอาการปรากฏออกมาชัดเจนอยู่ดี

โดยปรกติแล้วภาวะนี้ไม่สามารถเยียวยาได้ แต่การเลิกดื่มสุราก็สามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้นได้อย่างทันตา อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มอายุคาดเฉลี่ยของผู้ป่วยอีกด้วย

ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งจากแอลกอฮอล์ที่ยังคงไม่ยอมเลิกดื่มเหล้าจะมีโอกาสรอดชีวิตต่อไปอีก 5 ปี (เป็นอย่างน้อย) ต่ำกว่า 50%

สามารถทำการรักษา ARLD ได้อย่างไร?

ยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษา ARLD ได้โดยเฉพาะ การรักษาหลัก ๆ จะมีเป้าหมายเพื่อให้คุณเลิกดื่มไปตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายเพิ่มเติมที่ตับ และมอบโอกาสให้ตับของคุณฟื้นตัว

หากผู้ป่วยเสพย์ติดแอลกอฮอล์อย่างรุนแรงจนทำให้การเลิกทำได้ยากมาก ทางแพทย์สามารถแนะนำผู้ป่วยไปรับความช่วยเหลือ คำแนะนำ และการรักษาต่าง ๆ ได้ตามศูนย์ช่วยเหลือสำหรับผู้ติดสุรา

หัตถกรรมปลูกถ่ายตับอาจจะดำเนินการกับผู้ป่วยโรคตับรุนแรงที่ซึ่งตับหยุดทำงานและอาการไม่ดีขึ้นแม้จะเลิกดื่มแอลกอฮอล์ไปแล้ว

แพทย์พิจารณาการปลูกถ่ายตับกับคุณก็ต่อเมื่อคุณประสบกับภาวะแทรกซ้อนจากภาวะตับแข็งเท่านั้น อีกทั้งแพทย์ต้องมั่นใจว่าคุณจะไม่หวนกลับไปดื่มอีกหลังการปลูกถ่ายเนื่องจากการผ่าตัดนี้ต้องให้ผู้ป่วยเลิกดื่มทั้งระหว่างช่วงรอรับการปลูกถ่ายและหลังจากปลูกถ่ายตับตลอดชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนจาก ARLD

อัตราการเสียชีวิตจาก ARLD เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยมีแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเทียบเคียงกับการสูบบุหรี่และภาวะความดันโลหิตสูง

ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตของ ARLD มีดังนี้: เลือดออกภายใน สารพิษสะสมในสมอง (encephalopathy) ของเหลวสะสมในช่องท้อง (ascites) และเกี่ยวพันกับภาวะไตวาย (kidney failure) มะเร็งตับ

ภาวะความดันโลหิตในระบบเลือดพอร์ทัลสูง และภาวะหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร

ภาวะความดันโลหิตในระบบเลือดพอร์ทัลสูง (Portal hypertension) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับแข็งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด และไม่ค่อยพบกับผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อความดันโลหิตภายในตับพุ่งสูงขึ้นจนถึงระดับที่เป็นอันตราย

เมื่อตับเกิดความเสียหายรุนแรง เลือดภายในตับจะเคลื่อนตัวได้ยากขึ้นจนทำให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดรอบลำไส้สูงขึ้น

เลือดที่คั่งอยู่ต้องหาทางออกไปสู่หัวใจใหม่ด้วยการเปิดเส้นทางหลอดเลือดใหม่ซึ่งก็คือตามเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร หลอดเลือดใหม่เหล่านี้เองที่เรียกว่าหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร (varices)

หากความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ความดันภายในจะมากเกินกว่าที่หลอดเลือดรอบหลอดอาหารจะรับไหวจนทำให้ผนังเยื่อบุของหลอดเลือดขอดระเบิดและมีเลือดไหลออกมา

ภาวะนี้ทำให้เกิดภาวะเลือดออกภายในระยะยาวที่นำไปสู่ภาวะโลหิตจาง (anaemia) ได้ และในบางกรณีภาวะเลือดออกนี้ก็อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงจนทำให้คุณอาเจียนเป็นเลือดหรืออุจจาระออกมามีสีดำคล้ายก้อนถ่านก็ได้

การระเบิดออกของเส้นเลือดขอดรอบกระเพาะอาหารสามารถรักษาได้ด้วยการสอดกล้องเพื่อมองหาตำแหน่งที่เสียงหายก่อนจะมีการใช้ยางขนาดจิ๋วผนึกเส้นเลือดนั้น ๆ ที่ปลายฐานของเส้นเลือด

ภาวะท้องมาน

ผู้ที่ประสบกับภาวะความดันโลหิตในระบบเลือดพอร์ทัลสูงอาจจะประสบกับภาวะสะสมของของเหลวภายในช่องท้องและรอบลำไส้ตามมาได้อีกด้วย ภาวะคั่งของของเหลวนี่จะเรียกว่าภาวะท้องมาน (Ascites)

ในตอนแรกภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาขับน้ำ/ปัสสาวะ แต่หากยังคงมีปัญหานี้อยู่ต่อเนื่องจนทำให้มีของเหลวเป็นลิตร ๆ สะสมอยู่ภายใน แพทย์ต้องทำการเจาะดูดของเหลวภายในออกด้วยกระบวนการที่เรียกว่าการเจาะสารน้ำจากช่องท้อง (paracentesis) ที่เป็นการให้ยาชาแก่คนไข้ก่อนใช้ท่อยาว ๆ สอดเข้าผิวหนังไปยังตำแหน่งที่มีการคั่งของของเหลวและทำการดูดของเหลวนั้น ๆ ออก

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะท้องมานคือความเสี่ยงต่อการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องที่มาจากแบคทีเรียที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous bacterial peritonitis) ซึ่งนับเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอย่างมากที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อภาวะตับวายและการเสียชีวิต

โรคสมองจากโรคตับ

หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของตับคือการกำจัดสารพิษออกจากเลือด หากตับของคุณไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้เนื่องจากภาวะตับอักเสบหรือตับแข็ง ระดับสารพิษในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ระดับสารพิษที่มากขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเสียหายที่ตับที่เรียกว่าโรคสมองจากโรคตับ (Hepatic encephalopathy)

อาการของโรคสมองจากโรคตับมีดังนี้: กระสับกระส่าย สับสน งุนงง กล้ามเนื้อตึง กล้ามเนื้อสั่น พูดจาติดขัด สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงอาจเข้าสู่ภาวะโคม่าได้

โรคสมองจากโรคตับเป็นภาวะที่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อทำการประคับประคองการทำงานของร่างกายและเพื่อใช้ยากำจัดสารพิษออกจากเลือด

โรคมะเร็งตับ

ความเสียหายที่ตับจากการดื่มสุราอย่างหนักนานแรมปีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับเช่นกัน

ทั่วโลกมีจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนมากเป็นผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปนั่นเอง คาดกันว่าทุก ๆ ปีจะมีผู้ป่วยโรคตับแข็ง 3-5% กลายเป็นมะเร็งตับ

การป้องกัน ARLD

วิธีป้องกันการเป็น ARLD ที่ดีที่สุดคือการหยุดดื่มสุราหรือพยายามดื่มให้ไม่เกินปริมาณที่จำกัดไว้: ผู้ชาและผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์ หากดื่มประมาณ 14 หน่วย พยายามกระจายการดื่มให้มากกว่า 3 วันขึ้นไป

แม้ว่าคุณจะเป็นคนดื่มหนักมานานหลายปี การลดหรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์จะให้ผลดีทั้งระยะสั้นและระยะยาวทั้งต่อตับและสุขภาพโดยรวม

อาการของ ARLD

ผู้ป่วยโรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcohol-related liver disease - ARLD) หลาย ๆ กรณีจะไม่สังเกตเห็นอาการใด ๆ จนกระทั่งตับเสียหายอย่างรุนแรงไปแล้ว

อาการแรกเริ่ม

หากคุณประสบกับอาการแรกเริ่มของ ARLD อาการเหล่านั้นมักจะมีความกำกวมมากเช่น: ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร เหนื่อยล้า รู้สึกคลื่นไส้ ท้องร่วง รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว

อาการลุกลาม

เมื่อตับเกิดความเสียหายรุนแรงมากขึ้น อาการจะมีความเด่นชัดและร้ายแรงขึ้นมา เช่น: ดีซ่าน ขา ข้อเท้า และเท้าบวมเนื่องจากภาวะบวมน้ำ (oedema) ท้องบวมเนื่องจากของเหลวสะสมภายใน (ascites) มีไข้สูงและตัวสั่น คันผิวหนังอย่างมาก ผมร่วง ปลายนิ้วและเล็บบวม ฝ่ามือแดงบวม น้ำหนักลดลงอย่างมาก กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง สับสนและประสบปัญหาด้านความจำ นอนไม่หลับ และลักษณะนิสัยเปลี่ยนเนื่องจากมีสารพิษสะสมในสมอง อาเจียนเป็นเลือด และอุจจาระปนเลือดหรือมีสีดำเนื่องจากมีเลือดออกภายในร่างกาย เลือดออกและฟกช้ำง่ายขึ้น เช่นมีภาวะเลือดกำเดาออก และเลือดออกตามไรฟันบ่อยครั้ง ความอ่อนไหวต่อยาและแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น (เนื่องจากตับไม่สามารถกรองออกได้)

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ARLD อาจไม่ก่อให้เกิดอาการในช่วงระยะเริ่มต้นเสมอไป กระนั้นหากคุณยังคงดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป คุณก็สามารถสร้างความเสียหายแก่ตับได้แม้จะไม่มีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น

คุณสามารถติดต่อแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในกรณีที่คุณเคยมีประวัติบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไปได้ตลอดเวลา

วิธีที่ดีที่สุดในการประเมินประวัติและรูปแบบการดื่มของคุณคือการทดสอบสั้น ๆ ที่เรียกว่า CAGE ที่ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อ: คุณควรคิดอยากจะงดดื่มสุราหรือไม่? คุณรำคาญเวลาผู้อื่นวิจารณ์นิสัยการดื่มของคุณหรือไม่? คุณรู้สึกผิดเวลาที่ดื่มสุราหรือไม่? คุณควรดื่มตั้งแต่เช้าเพื่อลดอาการเมาค้างและปรับประสาทของคุณหรือไม่?

หากคุณตอบ “ใช่” มากกว่าหนึ่งข้อขึ้นไป คุณอาจจะมีปัญหาด้านการดื่มแอลกอฮอล์และควรไปปรึกษาแพทย์

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการลุกลามของ ARLD

สาเหตุของ ARLD

โรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcohol-related liver disease - ARLD) เกิดจากการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ยิ่งคุณดื่มมากกว่าปริมาณที่กำหนด ความเสี่ยงต่อ ARLD จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิด ARLD มีอยู่สองกลุ่มดังนี้:

  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ และโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ (พบได้ไม่บ่อย)
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากกว่าที่จำกัดไว้เป็นเวลานานหลายปี ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบและตับแข็ง และนับเป็น ARLD ชนิดร้ายแรงกว่ากลุ่มแรก
  • มีหลักฐานอ้างว่าผู้ที่ดื่มบ่อย ๆ ด้วยปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่าที่กำหนดจะเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อ ARLD มากที่สุด

ปัจจัยเพิ่มเติม

เช่นเดียวกับการดื่มสุรามากเกินไป ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด ARLD ดังต่อไปนี้: ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักร่างกายที่มากเกิน เป็นผู้หญิง: ผู้หญิงจะอ่อนไหวต่อผลกระทบจากแอลกอฮอล์มากกว่าผู้ชาย เป็นภาวะที่ตับอยู่ก่อน เช่นโรคตับอักเสบชนิด C พันธุกรรม: ภาวะติดเหล้ากับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์มักจะอยู่ในสายโลหิต

การวินิจฉัย ARLD

โรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcohol-related liver disease - ARLD) มักจะสังเกตพบครั้งแรกขณะที่กำลังทดสอบภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายกับตับเหมือนกัน เนื่องจากว่าภาวะนี้ ARLD นี้จะก่อให้เกิดอาการที่ไม่เด่นชัดระหว่างช่วงระยะเริ่มต้นของโรค

หากแพทย์สันนิษฐานว่าคุณเป็น ARLD พวกเขาจะจัดการตรวจเลือดเพื่อดูว่าตับของคุณทำงานได้ดีเท่าใด อีกทั้งจะสอบถามพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคุณไปพร้อมกัน

สิ่งสำคัญคือคุณต้องให้ข้อมูลที่เถรตรงที่สุดถึงเรื่องปริมาณและความถี่ในการดื่มของตนเองเพื่อเลี่ยงการเข้ารับการทดสอบเพิ่มเติมที่อาจทำให้การรักษาตับของคุณล่าช้าออกไป

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดถูกดำเนินการเพื่อประเมินการทำงานของตับของคุณ อย่างไรก็ตามในหลาย ๆ กรณี ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับระยะต้น ๆ ก็อาจยังคงมีตับที่สามารถทำงานได้ตามปรกติอยู่

การตรวจเลือดสามารถตรวจจับได้ว่าคุณมีสารบางตัวที่น้อยกว่าปกติหรือไม่ เช่นโปรตีนที่เรียกว่า serum albumin ที่ตับผลิตออกมา เมื่อร่างกายมีระดับ serum albumin ต่ำจะบ่งชี้ว่าตับของคุณอาจทำงานผิดปรกติ

การตรวจเลือดยังสามารถมองหาสัญญาณลิ่มเลือดที่ผิดปรกติได้เช่นกัน ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความรุนแรงของความเสียหายที่ตับ

การทดสอบเพิ่มเติม

หากอาการหรือการทดสอบการทำงานตับของคุณบ่งชี้ว่าคุณเป็น ARLD ระยะลุกลาม ทั้งแบบโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์หรือภาวะตับแข็ง คุณอาจต้องเข้ารับการทดสอบเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย

การทดสอบถ่ายภาพ

การสแกนภาพของตับคุณอาจจะเป็นได้ทั้ง; การสแกนอัลตราซาวด์ (ultrasound scan) การสแกนคอมพิวเตอร์ (computerised tomography - CT) การสแกนภาพสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging - MRI)

เทคนิคบางอย่างอาจสามารถบอกได้ถึงความแข็งตัวของตับ ซึ่งจะยิ่งเป็นข้อมูลเรื่องความเสียหายของตับได้ดีมาก

การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ

ระหว่างกระบวนการเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) จะมีการแทงเข็มผ่านผิวหนังลงไป (มักเป็นตำแหน่งระหว่างกระดูกซี่โครง) เพื่อนำเซลล์ตัวอย่างของตับออกไปตรวจในห้องปฏิบัติการณ์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

การเจาะตรวจชิ้นเนื้อจะดำเนินการด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่กับคนไข้ และสามารถดำเนินการกับผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในก็ได้

แพทย์เฉพาะทางจะทำการตรวจสอบเนื้อเยื่อของตับเพื่อประเมินระดับความเสียหายและสาเหตุของความเสียหายต่าง ๆ

การส่องกล้องตรวจ

การส่องกล้องตรวจ (Endoscopy) เป็นการใช้ท่อเรียวยาวที่มีไฟฉายและกล้องวิดีโอติดอยู่ที่ปลายสอดเข้าผ่านลำคอไปยังกระเพาะอาหาร

ภาพจากกล้องจะถูกส่งไปยังหน้าจอภายนอกให้แพทย์ตรวจสอบหาเส้นเลือดที่บวมออก (varices) ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะตับแข็ง

การรักษา ARLD

โอกาสที่จะรักษาโรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcohol-related liver disease - ARLD) จนประสบความสำเร็จมักขึ้นอยู่กับความหนักแน่นของตัวผู้ป่วยเองว่าจะสามารถเลิกดื่มสุราและปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของตนเองได้หรือไม่

การเลิกดื่มเหล้า

การรักษา ARLD หลัก ๆ คือการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ หรือที่เรียกว่าการหักดิบ (abstinence) ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นเรื่องสำคัญมากและขึ้นอยู่กับว่าภาวะของคุณอยู่ในระยะใด

หากคุณเป็นโรคไขมันพอกตับ ความเสียหายที่ตับจะสามารถรักษาได้หากคุณงดดื่มสุราเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังจากช่วงเวลาดังกล่าวคุณก็สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้อีก แต่ต้องดื่มในปริมาณตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น

หากคุณเป็น ARLD ที่ร้ายแรงมากกว่าอย่างโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์หรือตับแข็ง แพทย์จะแนะนำให้คุณเลิกดื่มสุราไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันความเสียหายของตับที่อาจเพิ่มขึ้น

การหักดิบจากแอลกอฮอล์เป็นเรื่องยาก คาดกันว่ามีผู้ป่วย ARLD ประมาณ 70% ที่มีปัญหาติดสุรารุนแรง แต่ก็ยังมีรายงานที่ชัดเจนว่าหากคุณเป็นโรคตับแข็งหรือโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ และยังคงดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่อง จะไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันใดที่สามารถป้องกันภาวะตับวายได้เลย

อาการจากการหยุดดื่มสุรา

หากคุณกำลังงดดื่มสุรา คุณอาจต้องทุกข์ทรมานจากอาการขาดสุราได้ (Withdrawal symptoms) ซึ่งมักจะรุนแรงอย่างมากในช่วง 48 ชั่วโมงแรก แต่อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวกับการใช้ชีวิตโดยปราศจากแอลกอฮอล์ คุณอาจต้องใช้เวลาอดทนนาน 3 ถึง 7 วันนับตั้งแต่ที่คุณดื่มครั้งสุดท้าย

ผู้ป่วยส่วนมากจะเริ่มจากปัญหาการนอนหลับก่อน แต่ส่วนมากแล้วรูปแบบการนอนหลับของผู้ป่วยจะกลับไปสู่ปรกติภายในเวลาหนึ่งเดือน

ในบางกรณีคุณอาจต้องใช้วิธีค่อย ๆ ปรับปริมาณแอลกอฮอล์ลงอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันปัญหาจากอาการขาดสุรา แพทย์อาจจะจัดจ่ายยาที่เรียกว่า  benzodiazepine กับการบำบัดทางจิตอย่างการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioural therapy - CBT) เพื่อช่วยให้คุณผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากไปได้ง่ายขึ้น

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือตามคลินิกฟื้นฟูร่างกายระหว่างที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของอาการถอนสุราเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญคอยเฝ้าระวังอาการย่างใกล้ชิด

หากคุณอยู่ที่บ้าน คุณต้องคอยไปพบพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญสุขภาพท่านอื่นตามกำหนดเวลา

การป้องกันการกลับไปพึ่งสุรา

เมื่อคุณเลิกดื่มสุราไปแล้ว คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติมเพื่อช่วยไม่ให้คุณกลับไปดื่มแอลกอฮอล์อีกครั้ง

การรักษาแรกมักจะเป็นการบำบัดทางจิตเวช โดยคุณต้องเข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของคุณ และเพื่อเป็นการประเมินว่าการเลิกเหล้าส่งผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคุณ

หากการบำบัดทางจิตเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผล คุณอาจต้องใช้ยาที่ช่วยให้คุณเลิกเหล้าอย่างเช่น: acamprosate naltrexone disulfiram

กลุ่มช่วยเหลือ

ผู้ป่วยที่มีภาวะเสพย์ติดแอลกอฮอล์หลายรายรู้สึกว่าการเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตามสถานที่ต่าง ๆ ช่วยให้พวกเขาเลิกเหล้าได้จริง ๆ

อาหารและโภชนาการ

ผู้ป่วย ARLD หลายรายจะประสบกับภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นเรื่องปรกติ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุลจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ

พยายามเลี่ยงอาหารรสเค็ม และพยายามไม่เติมเกลือในอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะขา เท้า และท้องบวม ซึ่งเกิดจากการสะสมกันของของเหลวภายในร่างกาย

ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ตับทำให้ร่างกายไม่สามารถกักเก็บไกลโคเจน (glycogen) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานระยะสั้นได้ หากเป็นเช่นนี้ ร่างกายจะใช้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงตามมา ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องได้รับพลังงานและโปรตีนจากแหล่งอาหารที่ทานเข้าไปเพิ่มเติม

การทานของว่างที่ดีต่อสุขภาพระหว่างมื้อจะช่วยเติมแคลอรีกับโปรตีนให้ร่างกาย โดยคุณสามารถปรับเป็นการรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ 3 ถึง 4 มื้อต่อวันแทนการทานเป็นมื้อใหญ่ 1 หรือ 2 มื้อ

แพทย์สามารถให้คำแนะนำเรื่องอาหารที่ดีต่อร่างกายของคุณได้ หรือในบางกรณีแพทย์ก็สามารถส่งตัวคุณไปรับคำแนะนำจากนักโภชนาการก็ได้

สำหรับกรณีผู้ที่ป่วยเป็นภาวะทุพโภชนาการรุนแรง แพทย์อาจต้องใช้วิธีป้อนสารอาหารที่จำเป็นผ่านหลอดอาหารที่สอดผ่านเข้าจมูกสู่กระเพาะอาหารแทน

การใช้ยาสำหรับอาการ

การใช้ยาเพื่อรักษา ARLD โดยตรงนั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมองว่ายังมีหลักฐานเรื่องประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ค่อนข้างจำกัดอยู่มาก

สำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ชนิดรุนแรงจำต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยจะมีการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือ pentoxifylline เพื่อลดการอักเสบของตับลง

การช่วยเหลือด้านโภชนาการ (หัวข้อข้างบน) ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนรักษาที่สำคัญมากในกรณีเหล่านี้

การใช้ยาอื่น ๆ เพื่อการรักษาความเสียหายที่ตับมีดังนี้: Anabolic steroid (ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดแรง) ropylthiouracil (ยาที่ออกแบบมาเพื่อรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (overactive thyroid glands))

อย่างไรก็ตามก็ยังคงขาดหลักฐานว่ายาเหล่านี้สามารถใช้ได้ผลจริง จึงทำให้ไม่มีการใช้ยาเหล่านี้ในการรักษาผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ชนิดรุนแรงแล้ว

การปลูกถ่ายตับ

ในกรณีผู้ป่วย ARLD ชนิดร้ายแรงที่สุด ตับจะหยุดการทำงานตามปรกติไปจนทำให้เกิดภาวะตับวาย วิธีแก้ไขเพียงอย่างเดียวคือการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ

หัตถกรรมปลูกถ่ายตับจะนำมาพิจารณาก็ต่อเมื่อ: คุณเริ่มเข้าสู่ภาวะตับล้มเหลวแม้จะเลิกดื่มแอลกอฮอล์แล้วก็ตาม คุณมีร่างกายค่อนข้างแข็งแรงพอจะรับการผ่าตัดได้ คุณมีแนวโน้มที่จะไม่ดื่มแอลกอฮอล์อีกไปตลอดชีวิต


27 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol-Related Liver Disease: Symptoms, Treatment and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/alcoholism/liver-disease)
Alcoholic Liver Cirrhosis: Causes, Symptoms & Diagnosis. Healthline. (https://www.healthline.com/health/alcoholic-liver-cirrhosis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)