8 สาเหตุเป็นไปได้ที่ทำให้คุณร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 สาเหตุเป็นไปได้ที่ทำให้คุณร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล

เราทุกคนล้วนแต่ผ่านเรื่องที่ดีและไม่ดีในชีวิต และในบางครั้งคุณก็อาจพบว่าตัวเองร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน แม้ว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้กับเราทุกคน แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าอารมณ์อ่อนไหวง่ายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และมันทำให้คุณรู้สึกท่วมท้น คุณก็ควรรู้ว่าอะไรคือต้นเหตุที่ทำให้คุณร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล

1.นอนไม่เพียงพอ

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่จำเป็นต้องนอนให้ได้ประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน การนอนไม่เพียงพอสามารถส่งผลต่อการจัดการกับอารมณ์ โดยเฉพาะการที่สมองสูญเสียความสามารถในการแยกระหว่างสิ่งที่สำคัญและไม่สำคัญ สิ่งที่จะตามมาคือ ทุกสิ่งจะดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่ การโดนกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้คุณตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่รุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.ความเครียดและความเหนื่อยล้า

การมีชีวิตที่เคร่งเครียดอาจเป็นตัวการที่ทำให้คุณอยากร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล นอกจากนี้การได้รับแรงกดดันมหาศาลสามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้าและว่างเปล่า รวมถึงยังทำให้มีอาการป่วยทางกายอย่างปวดศีรษะ มีปัญหากับท้อง และเจ็บหรือปวดตามร่างกาย ดังนั้นถ้าตอนนี้คุณกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ตึงเครียด อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดัน หรือมีความขัดแย้ง มันก็ถึงเวลาแล้วที่คุณควรหาเวลาผ่อนคลาย

3.อาการก่อนมีประจำเดือน

การเกิดความรู้สึกอยากร้องไห้ อารมณ์ไม่ดี หรือท้องอืดก่อนวันแดงเดือด ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือที่เรียกว่า Premenstrual Syndrome (PMS) นอกจากนี้มันยังทำให้คุณรู้สึกเศร้า เครียด วิตกกังวล และหงุดหงิด รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิ และระเบิดอารมณ์โกรธ ในขณะที่ิอาการทางกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย ปวดศีรษะ ท้องอืด หิว ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เจ็บและปวดตามร่างกาย ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับความผันผวนของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบเดือน

4.เข้าสู่ช่วงก่อนวัยทองหรือวัยทอง

การร้องไห้ง่ายกว่าปกติอาจเป็นสัญญาณของการมีฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้การมีอารมณ์แปรปรวน ช่องคลอดแห้ง ร้อนวูบวาบ และการนอนที่ผิดปกติ ก็ล้วนแต่เป็นสัญญาณของภาวะก่อนวัยทองหรือภาวะวัยทอง ซึ่งเกิดจากการที่รังไข่ทำงานน้อยลง และการมีฮอร์โมนที่ผันผวน

5.ภาวะอารมณ์ไม่ดีหลังมีเพศสัมพันธ์

คุณเคยรู้สึกเศร้าหรืออยากร้องไห้หลังมีเซ็กส์หรือไม่? การมีความรู้สึกดังกล่าวเรียกว่า ภาวะอารมณ์ไม่ดีหลังมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเศร้า กระสับกระส่าย หรือวิตกกังวลหลังมีเซ็กส์ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงกว่า 46% ประสบภาวะดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต

ซึ่งมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างจำกัดเกี่ยวกับภาวะอารมณ์ไม่ดีหลังมีเซ็กส์ แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการที่ร่างกายได้ปลดปล่อยก็พลอยทำให้อารมณ์ของเราถูกปลดปล่อยออกมาด้วย หรือมันอาจเกิดจากฮอร์โมนก็ได้ค่ะ

6.เกิดจาก Pseudobulbar Affect

Pseudobulbar Affect เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นในคนที่ระบบประสาทเสียหาย หรือการที่สมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ทำงานผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะร้องไห้หรือหัวเราะแบบฉับพลันหรือไม่สามารถควบคุมได้  โดยพบได้มากในคนที่สมองบาดเจ็บ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคสมองเสื่อม โรค Lou Gehrig’s หรือโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ดี การทานยาสามารถช่วยลดความถี่และการระเบิดอารมณ์ที่รุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7.ขาดวิตามิน บี12

วิตามิน บี12 มีบทบาทสำคัญในการรักษาเลือดและเซลล์ประสาทให้มีสุขภาพดี และมีส่วนช่วยสร้าง DNA หากร่างกายได้รับวิตามิน บี12 ไม่เพียงพอ มันก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ร้องไห้ การขาดความกระตือรือร้น และหงุดหงิด นอกจากนี้มันยังทำให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ท้องผูก ระบบประสาทมีปัญหา มีปัญหากับการทรงตัว ความจำแย่ลง สับสน รู้สึกเจ็บในลิ้นหรือปาก ฯลฯ การทานอาหารอย่างหอยตลับ ตับวัว ไข่ เนื้อ ปลา และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมจะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน บี12 มากขึ้น

8.มีน้ำตาลในเลือดต่ำ

การมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมักพบได้ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน และสามารถเกิดจากการทานอาหารช้า ทานคาร์บน้อยกว่าปกติ ออกกำลังกายอย่างหนัก ดื่มเหล้าเยอะ หรือทานยารักษาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ดี การมีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่เพียงแต่ทำให้เราอยากร้องไห้  หงุดหงิด หรืออารมณ์เสียเท่านั้น แต่มันยังทำให้เรามีอาการอื่นๆ เช่น หิว เหงื่อออก สั่น เหนื่อย เวียนศีรษะ และใจสั่น หากอาการแย่ลง คุณก็อาจตามัว สับสน พูดไม่ค่อยชัด และง่วงนอน ทั้งนี้การทานขนมหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานสามารถช่วยให้ระดับน้ำตาลกลับมาอยู่ในระดับปกติ

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้เราอยากร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด คุณไม่ควรปล่อยให้ความเศร้ามาครอบงำ เพราะมันสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย หากรู้สึกว่าอารมณ์ของตัวเองผิดปกติ การไปพบแพทย์ก็จะช่วยให้ปัญหาคลี่คลายค่ะ

ที่มา: https://www.curejoy.com/conten...


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to stop crying: 9 tips for instant control. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319778)
Differences Between Depression, Bipolarism, and PBA. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/depression-bipolar-or-pba-380497)
Understanding Depression Disguises. WebMD. (https://www.webmd.com/depression/depression-disguises#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
8 ปัญหาผิวที่เกิดจากการขาดวิตามิน
8 ปัญหาผิวที่เกิดจากการขาดวิตามิน

ขาดวิตามันตัวไหน ส่งผลให้ผิวเกิดปัญหาแบบใด หาคำตอบได้จากบทความนี้

อ่านเพิ่ม