7 สัญญาณที่บอกว่าคุณได้รับธาตุซิงก์ไม่เพียงพอ

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สัญญาณที่บอกว่าคุณได้รับธาตุซิงก์ไม่เพียงพอ

"ธาตุซิงก์" นับว่าเป็นหนึ่งในแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยมีหน้าที่สำคัญ เช่น กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ รักษาบาดแผล ป้องกันการแข็งตัวของเลือด เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไทรอยด์ ฯลฯ หากคุณได้รับธาตุซิงก์ไม่เพียงพอ มันก็จะส่งสัญญาณเตือนดังนี้

1.เติบโตช้าหรือหยุดเจริญเติบโต

การที่ร่างกายไม่เติบโตตามมาตรฐาน ซึ่งหมายความรวมถึงการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่องนั้นสามารถเป็นสัญญาณของการขาดธาตุซิงก์ ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งมีส่วนทำให้เราเข้าใจภาวะนี้มากขึ้น โดยทำการติดตามนักกีฬาวัยรุ่น และพบว่าสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือ การสูญเสียเหงื่อที่มากขึ้นที่เกิดขึ้นพร้อมกับการทานอาหารบางชนิดลดลงสามารถนำไปสู่การเกิดภาวะขาดธาตุซิงก์ สำหรับอาหารที่มีธาตุซิงก์สูง เช่น หอยนางรม ล็อปสเตอร์ ปู เนื้อวัว ไก่ หมู ถั่วอัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลูกไก่ ถั่วดำ ฯลฯ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.มีปัญหาทางอารมณ์

การไม่มีเรี่ยวแรง การเป็นโรคซึมเศร้า และการเป็นโรค ADD และ ADHD ซึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นนั้นมีความเชื่อมโยงกับการขาดธาตุซิงก์ อย่างไรก็ดี โดยเฉลี่ยแล้วผู้ชายและผู้หญิงไม่ควรทานธาตุซิงก์มากกว่าวันละ 40 มิลลิกรัม แต่ทั้งนี้ปริมาณก็ขึ้นอยู่กับอายุและสภาพร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ การให้นมลูก ฯลฯ อย่างไรก็ดี การทานอาหารให้สมดุลจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดธาตุซิงก์ได้ ซึ่งการทานอาหารที่สมดุลนั้นก็ประกอบไปด้วยการทานผัก ผลไม้สด โฮลเกรน โปรตีนชนิดลีน และไขมันชนิดดี

3.แผลหายช้า

ซิงก์เป็นแร่ธาตุที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย และการที่บาดแผลตามร่างกายหายช้านั้นก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณได้รับธาตุซิงก์ไม่เพียงพอ คุณควรหมั่นสังเกตบาดแผลที่เกิดขึ้นว่ามันหายช้ากว่าปกติหรือไม่

4.ผิวหยาบและแห้ง

การเผชิญปัญหาผิวต่างๆ โดยเฉพาะการเป็นผื่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะขาดธาตุซิงก์ หากคุณมีอาการดังกล่าวพร้อมกับมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย คุณก็ควรไปพบแพทย์ ตัวอย่างของอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง ผมร่วง เบื่ออาหาร แผลหายช้า ซึมเศร้า เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังหรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยเฉพาะการเกิดปัญหาผิวดังกล่าวบริเวณรอบๆ ปากหรือรูทวาร

5.ท้องเสีย

การมีอาการท้องเสียถือเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในคนที่ร่างกายขาดธาตุซิงก์ แต่ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นในแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน บางคนอาจท้องเสียบ่อยและต่อเนื่อง หรืออาจคลื่นไส้หรือท้องเสียแบบฉับพลัน

6.คลื่นไส้

แม้ว่าการอาเจียนอาจเป็นอาการของภาวะขาดธาตุซิงก์ แต่มันก็อาจเป็นสัญญาณของการได้รับธาตุดังกล่าวมากเกินไปเช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดจากการทานธาตุซิงก์แบบอาหารเสริม หากมีอาการรุนแรง มันก็สามารถส่งผลต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร และมีโอกาสเกิดโรคโลหิตจาง

7.เบื่ออาหาร

การขาดธาตุซิงก์สามารถทำให้เรามีอาการเบื่ออาหาร ซึ่งมักมาพร้อมกับประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นและการรับรสที่แย่ลง นอกจากนี้คุณสามารถมีอาการที่คล้ายกับคนที่เป็นโรคอะนอเร็กเซีย รวมถึงมีอาการที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองอย่างวิธีการเรียนรู้และวิธีการรับรู้ความสุข มีอาการประหม่า และไม่มีสมาธิ

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุซิงก์โดยทานอาหารบางชนิด เช่น หอยนางรม เนื้อวัว เนื้อแกะ ฟักทอง เมล็ดพันธุ์ ถั่วเปลือกแข็ง ผลิตภัณฑ์ที่มีโกโก้ ฯลฯ แต่หากคุณแพ้อาหารเหล่านี้หรือมีปัญหากับระบบย่อยอาหารอย่างรุนแรง การทานธาตุซิงก์ในรูปแบบของอาหารเสริมก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ แต่ทั้งนี้คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียง

ที่มา: https://www.rd.com/health/heal...


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zinc deficiency: Symptoms, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320393)
Why You Need Zinc and How to Get It. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-zinc-mineral)
Zinc Deficiency: Symptoms, Diagnosis, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/zinc-deficiency)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน

รู้หรือไม่ว่า มะตูมนอกจากจะเอามาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้แล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะตูมก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม