หากเอ่ยชื่อ แอปเปิ้ลไซเดอร์ (Cider) หรือชื่อเต็มว่า แอปเปิ้ลไซเดอร์วินีการ์ (Cider Vinegar) หรือชื่อไทยว่า น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล เชื่อว่า บรรดาผู้รักสุขภาพย่อมรู้จักกันดี แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนขึ้นจมูกเป็นเอกลักษณ์แต่แอปเปิ้ลไซเดอร์ก็อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ สารไฟโตเคมิคัล (Phytochemical) หรือพฤกษเคมี มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เชื้อไวรัส และแบคทีเรียได้ กลุ่มผู้รักสุขภาพจำนวนไม่น้อยจึงนิยมกินแอปเปิ้ลไซเดอร์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ประหนึ่งยาสามัญประจำบ้านก็ว่าได้
แอปเปิ้ลไซเดอร์รับประทานอย่างไร
เพียงแค่ใช้แอปเปิ้ลไซเดอร์ 1-2 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว ดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ราว 30 นาที จะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น กระตุ้นการขับถ่าย นอกจากนี้ยังสามารถดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำเปล่าก่อนนอนได้ด้วยเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่ควรดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์แบบเข้มข้นแต่ต้องผสมน้ำเปล่าด้วยทุกครั้ง เนื่องมาจากแอปเปิ้ลไซเดอร์มีความเป็นกรดสูงและอาจทำให้เคลือบฟันและหลอดอาหารเสียหายได้จึงต้องทำให้เจือจางก่อนดื่มนั่นเอง
7 คุณประโยชน์ของแอปเปิ้ลไซเดอร์
โรคเบาหวาน
แอปเปิ้ลไซเดอร์มีสารต้านไกลซีมิกจึงเป็นผลดีกับระดับน้ำตาลในเลือด กรดไกลซีมิกในแอปเปิ้ลไซเดอร์อาจมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากทำให้การย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นไปอย่างช้า ๆ บางทฤษฎีบอกว่า แอปเปิ้ลไซเดอร์จะไปขัดขวางเอนไซม์การย่อยบางชนิดทำให้คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนถูกย่อยไปเป็นน้ำตาลช้าลงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และยังเพิ่มความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) ซึ่งส่งผลให้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ การทดลองพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์วันละ 2 ช้อนโต๊ะโดยผสมน้ำสะอาดก่อนนอน พบว่า สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 4-6%
โรคหัวใจ
สารโพลิฟีนอลที่อยู่ในแอปเปิ้ลไซเดอร์จะช่วยป้องกันการรวมตัวของไขมันเลวกับออกซิเจนจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่พบว่า แอปเปิ้ลไซเดอร์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในหนูทดลองได้ และกรดอะซิติกในน้ำส้มสายชูยังทำให้ระดับความดันโลหิตหนูของลดลงได้
ลดความอ้วน
แอปเปิ้ลไซเดอร์มีผลดีต่อการลดความอ้วนเพราะมี "เพคติน" ซึ่งเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้จึงทำให้อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดด้วย ได้มีการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงร่วมกับการดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์พบว่า ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลงแต่อิ่มไปทั้งวันและสามารถลดน้ำหนักกลุ่มผู้ทดลองได้ถึง 0.6 กรัมในแต่ละเดือน
ใช้เป็นยาชูกำลัง
แอปเปิ้ลไซเดอร์มีโพแทสเซียมอยู่สูงและมีเอนไซม์ที่ช่วยขจัดความอ่อนเพลีย แถมยังมีกรดอะมิโนที่ช่วยป้องกันการต่อตัวของกรดแลคติกซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานจากการออกกำลังกายได้ ทั้งนี้หากร่างกายสะสมกรดแลคติกมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้
ดีท็อกซ์และขับของเสีย
ด้วยความที่อุดมด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ แอปเปิ้ลไซเดอร์จึงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิดจึงมีผู้ดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์เพื่อดีทอกซ์ ทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร และช่วยกระตุ้นการขับสารพิษของตับ
ช่วยย่อยอาหาร
แอปเปิ้ลไซเดอร์มีกรดมาลิกและกรดทาร์ทาริกช่วยให้กระบวนการย่อยโปรตีนและไขมันทำงานได้ดี แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยได้ แนะนำให้ดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ก่อนอาหารมื้อหนัก เช่น บุฟเฟ่ต์ หมูกระทะชุดใหญ่ หรือก่อนการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ย่อยยากๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ
นอกจากนี้น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ยังสามารถนำมาเช็ดหน้าเพื่อความสะอาดหมดจดได้ ทาหน้าเพื่อรักษาสิวและฝ้า ได้ เพียงแต่ต้องนำมาผสมกับน้ำในปริมาณเท่าๆ กัน วิธีใช้เพียงแค่นำสำลีมาชุบเช็ดทำความสะอาดผิวหน้าให้ทั่ว แต่หากต้องการรักษาสิวและฝ้าแนะนำให้ทาเฉพาะจุด หรือใช้สำลีชุบมาแปะไว้บนใบหน้าได้ บางคนยังนำแอปเปิ้ลไซเดอร์มาหมักผมเพื่อแก้ปัญหารังแคด้วย โดยการนำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1-2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำสะอาด 1 แก้ว แล้วไปหมักผมหลังสระผมเสร็จ
ข้อควรระวังการกินแอปเปิ้ลไซเดอร์
น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ลนั้น เต็มไปด้วยคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันโรคร้ายหลายโรคด้วยกัน หรือจะนำมาล้างผักผลไม้ให้สะอาดก็ทำได้เช่นกัน ที่สำคัญยังสามารถนำมาใช้สำหรับลดความอ้วนได้ อย่างไรก็ดี มีรายงานถึง "โทษจากการดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์" ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นกรดต้องเจือจางก่อนรับประทาน เพื่อป้องกันการระคายเคืองของเนื้อเยื่อต่างๆ เคลือบฟันเสียหาย อาการแสบร้อนในท้อง ปวดท้อง รับประทานในขนาดที่เหมาะสม และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป นอกจากนี้ผู้เป็นโรคไทรอยด์ ไม่ควรดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ทั้งก่อนและหลังกินยารักษาไทรอยด์