กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. คัคนานต์ เทียนชัย แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. คัคนานต์ เทียนชัย แพทย์ทั่วไป

ดีท็อกซ์ ทำเพื่ออะไร มีผลดีและผลเสียแค่ไหน?

ดีท็อกซ์ด้วยตัวเองทำอย่างไร อันตรายไหม เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และข้อควรระวังที่ควรรู้
เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ดีท็อกซ์ ทำเพื่ออะไร มีผลดีและผลเสียแค่ไหน?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การขจัดสารพิษด้วยการดีท็อกซ์ (Detoxification) เป็นแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิธี หรือสูตรที่หลากหลายกันไปในแต่ละพื้นที่
  • การดีท็อกซ์โดยการกิน คือการรับประทานอาหารคลีน สด สะอาด ไม่มีสารตกค้าง เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญและระบบการขับถ่าย เป็นวิธีดีท็อกซ์ที่ปลอดภัยที่สุด
  • การดีท็อกซ์โดยการสวนล้างลำไส้ เป็นวิธียอดนิยม เพราะเชื่อว่าเป็นการนำของเสียที่ตกค้างในลำไส้ออกมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ลำไส้สะอาด และช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้ อย่างไรก็ตาม อาจเกิดการติดเชื้อจากอุปกรณ์ที่ใช้ได้
  • การดีท็อกซ์โดยการอดอาหาร เป็นการเลียนแบบพฤติกรรมการจำศีลของสัตว์ วิธีนี้จะช่วยพักระบบการย่อยอาหาร ลดการสะสมของเสียในลำไส้ แต่เสี่ยงต่อการได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดแรง และหมดสติได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำดีท็อกซ์

ปกติร่างกายจะมีการขับถ่ายและกำจัดของเสียตามธรรมชาติ แต่ในบางครั้ง ร่างกายอาจได้รับสารพิษมากเกินไป หรือมีของเสียคั่งค้าง และกำจัดได้ไม่หมด จนกลายเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ ผู้คนในปัจจุบันหันมาสนใจดูแลสุขภาพ จึงเริ่มมีการใช้กรรมวิธีกำจัดสารพิษในร่างกายที่เรียกว่า “ดีท็อกซ์” มากขึ้น

มีหลายคนเชื่อว่า การดีท็อกซ์ จะทำให้สิ่งไม่พึงประสงค์ที่คั่งค้างอยู่ถูกชะล้างออกไป ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และขจัดโรคภัยต่างๆ ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดีท็อกซ์มีข้อควรระวังที่ต้องศึกษาก่อนทำด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
Detox วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 631 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การดีท็อกซ์ หรือ Detox มาจากคำว่า Detoxification ซึ่งแปลว่า การขจัดสารพิษ และสิ่งแปลกปลอมออกไปจากร่างกาย โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากสารที่รับเข้าไปหลายอย่าง อาจเกิดการสะสม และทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ภายในร่างกาย ทำให้เกิดผลเสียได้

ปัจจุบัน การขจัดสารพิษด้วยการดีท็อกซ์ถือเป็นแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิธีหรือสูตรที่หลากหลายกันไปในแต่ละพื้นที่

ประเภทของการดีท็อกซ์

1. การดีท็อกซ์โดยการกิน

ใช้การกินอาหารที่สดใหม่จากธรรมชาติ โดยปรุงจากวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีสารเคมี หรือสารพิษตกค้าง ไม่ผ่านกรรมวิธีการขัดสี หรือหมักดอง เช่น ผักผลไม้ออร์แกนิกสดใหม่ ข้าว และเมล็ดพืชไม่ขัดสี 

วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญและระบบขับถ่าย ให้เร่งนำสารตกค้างที่ไม่ดีออกมา และรับสารอาหารที่ดีเข้าไปทดแทน

2. การดีท็อกซ์โดยการสวนลำไส้

การดีท็อกซ์ด้วยวิธีนี้นิยมทำกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่าเป็นการนำของเสียที่ตกค้างในลำไส้ออกมาอย่างรวดเร็ว และทำให้ลำไส้สะอาด นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ป้องกันท้องผูกได้ 

วิธีนี้จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะสอดเข้าไปทางรูทวาร จากนั้นฉีดน้ำหรือสารบางอย่างเข้าไปเพื่อทำความสะอาดลำไส้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
Detox วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 631 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. การดีท็อกซ์โดยการอดอาหาร

การอดอาหารเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมการจำศีลของสัตว์ วิธีนี้จะช่วยพักระบบการย่อยอาหาร ลดการสะสมของเสียในลำไส้ 

การอดอาหารอาจใช้ระยะเวลา 1-2 วัน โดยจะดื่มน้ำเปล่าและน้ำผักผลไม้ทดแทน เพื่อกระตุ้นการขับถ่ายของเสียออกมา

ข้อดีของการดีท็อกซ์

  • ช่วยกำจัดของเสียและสารพิษที่คั่งค้างภายในลำไส้
  • ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ฟื้นฟูระบบต่างๆ
  • กระตุ้นการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • กระตุ้นระบบเผาผลาญ ลดการสะสมของไขมัน เชื่อว่าช่วยให้รูปร่างดีขึ้นด้วย
  • ช่วยให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่งขึ้น
  • ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า

ข้อเสียของการดีท็อกซ์

  • ทำให้ร่างกายเสียน้ำและแร่ธาตุอย่างมากในคราวเดียว โดยเฉพาะการดีท็อกซ์โดยการสวนลำไส้ อาจทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง จนถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้
  • การดีท็อกซ์โดยการสวนลำไส้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากอุปกรณ์ที่สอดเข้าไป อีกทั้งอาจเกิดบาดแผลในรูทวารได้อีกด้วย
  • การดีท็อกซ์ลำไส้ เป็นการทำลายแบคทีเรียประจำถิ่นที่มีประโยชน์ ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารบางประเภท สร้างสารที่จำเป็น และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • การดีท็อกซ์โดยการอดอาหาร เสี่ยงต่อการได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดแรง และหมดสติได้
  • ทำให้ระบบขับถ่ายแปรปรวน และไม่สามารถทำงานได้เองตามปกติ ต้องพึ่งพาการดีท็อกซ์อยู่เสมอ

การดีท็อกซ์ด้วยน้ำกาแฟ

การดีท็อกซ์ด้วยน้ำกาแฟ เป็นหนึ่งในวิธีการดีท็อกซ์โดยการสวนลำไส้ที่ได้รับการนิยม และสามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยข้อดีของน้ำกาแฟคือ จะมีคาเฟอีนที่เข้าไปช่วยเร่งการผลิตน้ำดี และทำให้ท่อน้ำดีขยายตัว ส่งผลให้สารพิษถูกกำจัดออกมาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

อุปกรณ์การดีท็อกซ์ด้วยน้ำกาแฟ

  • กาแฟสำหรับดีท็อกซ์โดยเฉพาะ
  • เจลว่านหางจระเข้
  • อุปกรณ์ดีท็อกซ์ ประกอบด้วยขวดสำหรับใส่น้ำกาแฟ และสายสวน

วิธีการดีท็อกซ์ด้วยน้ำกาแฟ

  • ต้มน้ำกาแฟประมาณ 1-2 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือทำเป็นหัวเชื้อแล้วไปผสมกับน้ำสะอาดก็ได้
  • เมื่อน้ำกาแฟที่เตรียมไว้เย็นแล้ว ให้ใส่ลงไปในขวดสำหรับดีท็อกซ์
  • ทาเจลว่านห่างจระเข้บริเวณสายสวน และรูทวาร
  • ไล่อากาศออกจากสายสวน ก่อนที่จะใส่เข้าไปในรูทวาร
  • ค่อยๆ ปล่อยน้ำไปเรื่อยๆ (สายสวนจะมีวาลว์ปิดเปิดอยู่) พอน้ำเข้าไปต่อไม่ได้ หรือมีอากาศดันออกมา ให้กลั้นไว้ประมาณ 5-12 นาที หลังจากนั้นก็ไปขับถ่ายให้เรียบ และหันกลับมาทำใหม่จนกว่าน้ำกาแฟจะหมด
  • ความถี่ในการทำที่แนะนำคือ 1 เดือนต่อครั้ง หรือมากที่สุดคือ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง

ข้อควรระวังในการดีท็อกซ์

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจทำ และไม่ควรทำบ่อยเกินไป ผู้ที่จะทำควรมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุหรือมีปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจทำได้ โดยมีการปรับการดีท็อกซ์ให้เหมาะสมโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ 

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้ไม่ควรทำดีท็อกซ์

  • เด็ก และสตรีมีครรภ์
  • เป็นลำไส้อักเสบ เป็นมะเร็งลำไส้ 
  • มีความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ
  • มีภาวะไตวาย หรือภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ 
  • มีภาวะเสี่ยงในช่องท้อง เช่น ไส้เลื่อน มีภาวะลำไส้อุดตัน มีเลือดออกทางทวารหนัก เพิ่งผ่าตัดช่องท้องไม่เกิน 6 สัปดาห์ เคยผ่าตัดลำไส้ใหญ่และเปิดลำไส้ออกทางหน้าท้อง
  • มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือด เช่น มีประวัติหัวใจล้มเหลว เป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีภาวะเส้นเลือดโป่งพอง มีภาวะเลือดจากรุนแรง

การทำดีท็อกซ์ แม้ว่าจะช่วยกำจัดของเสียและสารพิษที่คั่งค้างภายในลำไส้ และปรับสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกายได้ แต่ก็อาจทำลายแบคทีเรียประจำถิ่นที่มีประโยชน์ได้ด้วยเช่นกัน เพื่อความปลอดภัย ควรทำดีท็อกซ์ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำดีท็อกซ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Michael F. Picco, Is colon cleansing a good way to eliminate toxins from your body? (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/expert-answers/colon-cleansing/faq-20058435), 26 April 2018
รองศาสตราจารย์นายแพทย์สถาพร มานัสสถิตย์, การทำดีท็อกซ์ดีจริงหรือ (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=129), 6 ตุลาคม 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องดื่มล้างลำไส้ด้วยตัวเอง ภายใน 7 วัน
เครื่องดื่มล้างลำไส้ด้วยตัวเอง ภายใน 7 วัน

แนะนำ 4 เครื่องดื่มดีท็อกซ์ลำไส้ หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง

อ่านเพิ่ม
7 วิธีช่วยดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายที่ใครๆ ก็ทำได้
7 วิธีช่วยดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายที่ใครๆ ก็ทำได้

ในทุกๆ วัน เราได้รับสารพิษจากหลายช่องทาง จะดีกว่าไหม ถ้าสามารถดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายได้ด้วยตัวเองในทุกๆ วัน

อ่านเพิ่ม
ชวนทำ 5 สูตรกรีนสมูทตี้ (Green Smoothie) ช่วยดีท็อกซ์ และลดน้ำหนัก
ชวนทำ 5 สูตรกรีนสมูทตี้ (Green Smoothie) ช่วยดีท็อกซ์ และลดน้ำหนัก

กรีนสมูทตี้ หรือน้ำปั่นสีเขียว เครื่องดื่มดีท็อกซ์ที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร เหมาะสำหรับการดูแลสุขภาพ

อ่านเพิ่ม